ปรัชญา ปณิธาน เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ มทร.ธัญบุรี
มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก
ปรัชญา (Philosophy)
นวัตกรรมสร้างชาติ ราชมงคลธัญบุรีสร้างนวัตกรรม
ปณิธาน (Determination)
มุ่งมั่นจัดการศึกษาและวิจัย ผลิตนวัตกรและนวัตกรรมที่ทรงคุณค่าต่อเศรษกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
พันธกิจ (Mission)
1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถทางวิชาการ วิชาชีพ คิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม สู่การนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม สังคม ชุมชน หรือสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์
3. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายหรือภาคประกอบการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4. ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. บริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
วิสัยทัศน์ (Vision)
มหาวิทยาลัยนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าสู่สังคมและประเทศ
เอกลักษณ์ (Uniqueness)
มหาวิทยาลัยนักปฏิบัติ พัฒนานวัตกร และสร้างสรรค์นวัตกรรม
อัตลักษณ์ (Identity)
นักปฏิบัติ นักคิด นักสร้างสรรค์นวัตกรรม
ค่านิยมองค์กร (Core Value)
วัฒนธรรมองค์กร (Organization Working Culture)
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 Learning to be Innovator : การเรียนรู้สู่การเป็นนวัตกร
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Obiectives)
บัณฑิตเป็นนวัตกรและผู้ประกอบการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results -KR)
KR 1.1 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
KR 1.2 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่าเงินเดือนมาตรฐาน
KR 1.3 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ (Student and Graduate Entrepreneur)
แผนปฏิบัติการ
1. แผนพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาให้มีสมรรถนะทางวิชาชีพตรงกับความต้องการของตลาดงาน
2. แผนพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
3. แผนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
4. แผนพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของตลาดและส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
5. แผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
6. แผนส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เผื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัย
7. แผนการสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
8. แผนพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิต (credit bank) เพื่อเอื้อต่อเรียนรู้และการเรียนข้ามสถาบัน
แนวทาง/วิธีการ
1. ส่งเสริมให้นักเรียนที่เก่ง ดี และมีศักยภาพเข้ามาศึกษาต่อ
2. พัฒนา และยกระดับหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล
3. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน รูปแบบใหม่ ๆ
4. สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ และเอกชน
5. พัฒนาสมรรถนะนักศึกษาตามบัณฑิตที่พึงประสงค์
6. สร้างระบบนิเวศเพื่อการศึกษา และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
7. พัฒนาและยกระดับสมรรถนะอาจารย์
8. จัดตั้งศูนย์พัฒนากำลังสมรรถนะสูง
9. พัฒนาระบบประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
10. พัฒนานักศึกษาให้มีความคิดในเชิงผู้ประกอบการ
11. พัฒนาสมรรถนะนักศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล
12. ยกระดับศักยภาพบัณฑิตให้มีทักษะสอดคล้องกับพลวัตทางสังคม
13. Up-skills/Re-skills/New-skills
14. ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับกลุ่มสังคมผู้สูงวัย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 Research for Innovation : การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Obiectives)
งานวิจัยและนวัตกรรมส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results – KR)
KR 2.1 มูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่เกิดจากการนำผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
KR 2.2 ผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีพร้อมใช้ถูกนำไปสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์
KR 2.3 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรืองานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ในระดับนานาชาติบนฐาน SCOPUS
KR 2.4 งบประมาณวิจัยจากหน่วยงานภายนอก (PPP, Industry, Government)
แผนปฏิบัติการ
1. แผนส่งเสริมการนำผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม ชุมชน
2. แผนส่งเสริมการนำผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
3. แผนกระตุ้นและส่งเสริมการตีพิมพ์บทความในระดับชาติหรือนานาชาติ
4. แผนการยกระดับคุณภาพงานวิจัยและยกระดับนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ท้าทายของประเทศด้วย Strategic Partnership กับองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
5. แผนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรม
6. แผนเพิ่มจำนวนสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา และนวัตกรรมจากผลงานวิจัย
7. แผนการสร้าง/พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านงานวิจัย ให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
แนวทางวิธีการ
1. พัฒนาและยกระดับคุณภาพงานวิจัยในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ
2. ยกระดับนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ท้าทายของประเทศด้วย Strategic Partnership
3. ส่งเสริมการวิจัยและสร้างนวัตกรรม
4. ชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
5. พัฒนาอาจารย์ให้เป็นนักวิจัยมืออาชีพ
6. ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
7. แสวงหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
8. แสวงหาความร่วมมือเพื่อผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่
9. ส่งเสริมการนำผลงานนวัตกรรมสู่การประกวดแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 Social and Culture Enhance by Innovation : การบริการวิชาการและเพิ่มคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives)
ภาคประกอบการ สังคม ชุมชน มีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results )-KR)
KR 3.1 กำลังคนในภาคประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตร Re-skill, Up-skill, New-skill หรือมาใช้บริการ (เรียนอบรม,ใช้ห้อง LAB ,ให้คำปรึกษา)
KR 3.2 ผลิตภัณฑ์ (สินค้าหรือบริการ) ในชุมชน/พื้นที่/หน่วยงาน ที่ได้รับการ รับรองมาตรฐาน สร้างรายได้ หรือสร้างมูลค่าเพิ่ม จากงานบริการวิชาการหรือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
KR 3.3 รายได้จากการบริการวิชาการ
KR 3.4 ธุรกิจ Startup ที่ได้รับการบ่มเพาะจากมหาวิทยาลัย (แผนพลิกโฉม มทร.ธ)
แผนปฏิบัติการ
1. แผนพัฒนาหลักสูตรในระบบการพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Up-skils/ Re-skills/New-skills) รองรับการเรียนรู้ทุกช่วงวัย และสร้างเครือข่ายสถานประกอบการที่เข้าร่วม Up skill/Reskill/New skill
2. แผนการขับเคลื่อนการบริการวิชาการ ที่สร้างคุณค่าให้กับสังคมและประเทศ
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. แผนสร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานของรัฐ ท้องถิ่น เอกชน และระดับสากล
5. แผนการสร้างและยกระดับผู้ประกอบการ ธุรกิจ Startup
แนวทางวิธีการ
1. ส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปบริการวิชาการในลักษณะแบบให้เปล่า แบบที่ก่อให้เกิดรายได้หรือแบบร่วมทุน
2. ส่งเสริมการนำนวัตกรรม มาขับเคลื่อน ให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการที่เพิ่มมูลค่า คุณค่า หรือต่อยอดเชิงพาณิชย์
3. ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม
4. ยกระดับมาตรฐานการผลิต ด้วยการให้บริการทดสอบมาตรฐาน
5. ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และต่อยอดให้เกิดคุณค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 Innovative Management : การบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives)
การบริหารจัดการ มีความทันสมัย ยืดหยุ่น คล่องตัว มีประสิทธิภาพสูง ปรับตัวได้เร็วต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อความยั่งยืน
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results – KR)
KR 4.1 นวัตกรรมด้านกระบวนการทำงาน หรือ การบริหารจัดการ (Process Innovativeness)
KR 4.2 ผลสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร
KR 4.3 รายรับนอกเหนือจากการจัดการศึกษาเป็นไปตามแผน
KR 4.4 การร่วมทุนในธุรกิจนวัตกรรมด้วยกลไก Holding Company (แผนพลิกโฉม มทร.ธ)
KR 4.5 ผลการประเมินหรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากหน่วยงานระดับชาติหรือนานาชาติเป็นไปตามแผน
แผนปฏิบัติการ
1. แผนการ การปรับกระบวนการทำงานขององค์กรเพื่อรองรับนโยบาย หรือภารกิจใหม่
2. แผนการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Management)
3. แผนพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัย
4. แผนการทบทวนระเบียบข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเฉพาะเพื่อรองรับความรวดเร็วคล่องตัว และการแสวงหารายได้เพื่อความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย
5. แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับการประเมินหรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
แนวทางวิธีการ
1. ส่งเสริมการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมและการทำงานเชิงบูรณาการ
2. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสำหรับการให้บริการ
3. ส่งเสริมการบริหารงานอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมาภิบาล
4. พัฒนาระบบ Strategic Human Resource Management
5. แสวงหารายได้เพื่อสร้างความสามารถ ในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
6. บริหารทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้
7. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนขจัดสิ่งสูญเปล่า ลดรายจ่ายองค์กรบริหารจัดการต้นทุน
8. พัฒนาปรับปรุงข้อบังคับระเบียบ ประกาศ ให้ทันสมัยรองรับ การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ
9. ส่งเสริมกระบวนการ การพัฒนามหาวิทยาลัย รองรับการประเมินในระดับสากล
โครงสร้างการจัดการองค์กร