
ปรัชญา ปณิธาน เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ มทร.ธัญบุรี
มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก
ปรัชญา (Philosophy)
นวัตกรรมสร้างชาติ ราชมงคลธัญบุรีสร้างนวัตกรรม
ปณิธาน (Determination)
มุ่งมั่นจัดการศึกษาและวิจัย ผลิตนวัตกรและนวัตกรรมที่ทรงคุณค่าต่อเศรษกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
พันธกิจ (Mission)
1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถทางวิชาการ วิชาชีพ คิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม สู่การนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม สังคม ชุมชน หรือสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์
3. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายหรือภาคประกอบการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4. ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. บริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
วิสัยทัศน์ (Vision)
มหาวิทยาลัยนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าสู่สังคมและประเทศ
เอกลักษณ์ (Uniqueness)
มหาวิทยาลัยนักปฏิบัติ พัฒนานวัตกร และสร้างสรรค์นวัตกรรม
อัตลักษณ์ (Identity)
นักปฏิบัติ นักคิด นักสร้างสรรค์นวัตกรรม
![]() |
![]() |
![]() |
ค่านิยมองค์กร (Core Value)
วัฒนธรรมองค์กร (Organization Working Culture)
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 Learning to be Innovator : การเรียนรู้สู่การเป็นนวัตกร
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Obiectives)
บัณฑิตเป็นนวัตกรและผู้ประกอบการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results -KR)
KR 1.1 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
KR 1.2 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่าเงินเดือนมาตรฐาน
KR 1.3 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ (Student and Graduate Entrepreneur)
แผนปฏิบัติการ
1. แผนพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาให้มีสมรรถนะทางวิชาชีพตรงกับความต้องการของตลาดงาน
2. แผนพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
3. แผนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
4. แผนพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของตลาดและส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
5. แผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
6. แผนส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เผื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัย
7. แผนการสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
8. แผนพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิต (credit bank) เพื่อเอื้อต่อเรียนรู้และการเรียนข้ามสถาบัน
แนวทาง/วิธีการ
1. ส่งเสริมให้นักเรียนที่เก่ง ดี และมีศักยภาพเข้ามาศึกษาต่อ
2. พัฒนา และยกระดับหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล
3. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน รูปแบบใหม่ ๆ
4. สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ และเอกชน
5. พัฒนาสมรรถนะนักศึกษาตามบัณฑิตที่พึงประสงค์
6. สร้างระบบนิเวศเพื่อการศึกษา และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
7. พัฒนาและยกระดับสมรรถนะอาจารย์
8. จัดตั้งศูนย์พัฒนากำลังสมรรถนะสูง
9. พัฒนาระบบประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
10. พัฒนานักศึกษาให้มีความคิดในเชิงผู้ประกอบการ
11. พัฒนาสมรรถนะนักศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล
12. ยกระดับศักยภาพบัณฑิตให้มีทักษะสอดคล้องกับพลวัตทางสังคม
13. Up-skills/Re-skills/New-skills
14. ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับกลุ่มสังคมผู้สูงวัย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 Research for Innovation : การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Obiectives)
งานวิจัยและนวัตกรรมส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results – KR)
KR 2.1 มูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่เกิดจากการนำผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
KR 2.2 ผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีพร้อมใช้ถูกนำไปสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์
KR 2.3 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรืองานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ในระดับนานาชาติบนฐาน SCOPUS
KR 2.4 งบประมาณวิจัยจากหน่วยงานภายนอก (PPP, Industry, Government)
แผนปฏิบัติการ
1. แผนส่งเสริมการนำผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม ชุมชน
2. แผนส่งเสริมการนำผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
3. แผนกระตุ้นและส่งเสริมการตีพิมพ์บทความในระดับชาติหรือนานาชาติ
4. แผนการยกระดับคุณภาพงานวิจัยและยกระดับนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ท้าทายของประเทศด้วย Strategic Partnership กับองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
5. แผนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรม
6. แผนเพิ่มจำนวนสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา และนวัตกรรมจากผลงานวิจัย
7. แผนการสร้าง/พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านงานวิจัย ให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
แนวทางวิธีการ
1. พัฒนาและยกระดับคุณภาพงานวิจัยในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ
2. ยกระดับนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ท้าทายของประเทศด้วย Strategic Partnership
3. ส่งเสริมการวิจัยและสร้างนวัตกรรม
4. ชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
5. พัฒนาอาจารย์ให้เป็นนักวิจัยมืออาชีพ
6. ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
7. แสวงหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
8. แสวงหาความร่วมมือเพื่อผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่
9. ส่งเสริมการนำผลงานนวัตกรรมสู่การประกวดแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 Social and Culture Enhance by Innovation : การบริการวิชาการและเพิ่มคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives)
ภาคประกอบการ สังคม ชุมชน มีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results )-KR)
KR 3.1 กำลังคนในภาคประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตร Re-skill, Up-skill, New-skill หรือมาใช้บริการ (เรียนอบรม,ใช้ห้อง LAB ,ให้คำปรึกษา)
KR 3.2 ผลิตภัณฑ์ (สินค้าหรือบริการ) ในชุมชน/พื้นที่/หน่วยงาน ที่ได้รับการ รับรองมาตรฐาน สร้างรายได้ หรือสร้างมูลค่าเพิ่ม จากงานบริการวิชาการหรือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
KR 3.3 รายได้จากการบริการวิชาการ
KR 3.4 ธุรกิจ Startup ที่ได้รับการบ่มเพาะจากมหาวิทยาลัย (แผนพลิกโฉม มทร.ธ)
แผนปฏิบัติการ
1. แผนพัฒนาหลักสูตรในระบบการพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Up-skils/ Re-skills/New-skills) รองรับการเรียนรู้ทุกช่วงวัย และสร้างเครือข่ายสถานประกอบการที่เข้าร่วม Up skill/Reskill/New skill
2. แผนการขับเคลื่อนการบริการวิชาการ ที่สร้างคุณค่าให้กับสังคมและประเทศ
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. แผนสร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานของรัฐ ท้องถิ่น เอกชน และระดับสากล
5. แผนการสร้างและยกระดับผู้ประกอบการ ธุรกิจ Startup
แนวทางวิธีการ
1. ส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปบริการวิชาการในลักษณะแบบให้เปล่า แบบที่ก่อให้เกิดรายได้หรือแบบร่วมทุน
2. ส่งเสริมการนำนวัตกรรม มาขับเคลื่อน ให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการที่เพิ่มมูลค่า คุณค่า หรือต่อยอดเชิงพาณิชย์
3. ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม
4. ยกระดับมาตรฐานการผลิต ด้วยการให้บริการทดสอบมาตรฐาน
5. ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และต่อยอดให้เกิดคุณค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 Innovative Management : การบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives)
การบริหารจัดการ มีความทันสมัย ยืดหยุ่น คล่องตัว มีประสิทธิภาพสูง ปรับตัวได้เร็วต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อความยั่งยืน
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results – KR)
KR 4.1 นวัตกรรมด้านกระบวนการทำงาน หรือ การบริหารจัดการ (Process Innovativeness)
KR 4.2 ผลสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร
KR 4.3 รายรับนอกเหนือจากการจัดการศึกษาเป็นไปตามแผน
KR 4.4 การร่วมทุนในธุรกิจนวัตกรรมด้วยกลไก Holding Company (แผนพลิกโฉม มทร.ธ)
KR 4.5 ผลการประเมินหรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากหน่วยงานระดับชาติหรือนานาชาติเป็นไปตามแผน
แผนปฏิบัติการ
1. แผนการ การปรับกระบวนการทำงานขององค์กรเพื่อรองรับนโยบาย หรือภารกิจใหม่
2. แผนการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Management)
3. แผนพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัย
4. แผนการทบทวนระเบียบข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเฉพาะเพื่อรองรับความรวดเร็วคล่องตัว และการแสวงหารายได้เพื่อความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย
5. แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับการประเมินหรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
แนวทางวิธีการ
1. ส่งเสริมการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมและการทำงานเชิงบูรณาการ
2. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสำหรับการให้บริการ
3. ส่งเสริมการบริหารงานอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมาภิบาล
4. พัฒนาระบบ Strategic Human Resource Management
5. แสวงหารายได้เพื่อสร้างความสามารถ ในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
6. บริหารทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้
7. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนขจัดสิ่งสูญเปล่า ลดรายจ่ายองค์กรบริหารจัดการต้นทุน
8. พัฒนาปรับปรุงข้อบังคับระเบียบ ประกาศ ให้ทันสมัยรองรับ การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ
9. ส่งเสริมกระบวนการ การพัฒนามหาวิทยาลัย รองรับการประเมินในระดับสากล
โครงสร้างการจัดการองค์กร