ในยุคปัจจุบัน ทักษะความสามารถเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI Competency) ได้กลายเป็นทักษะที่มีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานในเกือบทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมหรือภาคการศึกษา การนำทักษะความสามารถเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ AI มาใช้สามารถ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ถูกจับตามอง และเป็นเทรนด์ใหม่ที่มาแรงในปี ค.ศ.2024 เป็นต้นไป
อีกทั้งยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และนโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้หากบุคคลใดที่มีทักษะความสามารถเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ AI จะเป็นผู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งภาคอุตสาหกรรมและการศึกษาของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งในด้านภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความ ท้าทายในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่ต้องการการประยุกต์ใช้เกี่ยวกับทักษะความสามารถเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ AI ดังนี้
ในด้านการศึกษานั้น ประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยทักษะ AI สามารถช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การนำทักษะความสามารถเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ AI มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้และทักษะที่เหมาะสม การอบรมทักษะความสามารถเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ AI จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา สามารถนำ AI ไปใช้ในการพัฒนางานและการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาบุคลากรเพื่ออุตสาหกรรมและปิโตรเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสำนักความร่วมมืออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงมีความประสงค์ที่จะดำเนินโครงการฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง การประยุกต์ทักษะ AI สู่ภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา ในวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. ในรูปแบบออนไลน์ Zoom Cloud Meeting โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการพัฒนากำลังคนด้าน AI และการสนับสนุนนวัตกรรม AI เพื่อใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม และยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยใช้ทักษะ AI มีเป้าหมายผู้เข้าร่วมอบรม 300 คนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา
2.1 เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถพื้นฐานเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา
2.2 เพื่อส่งเสริมการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไปใช้ในการพัฒนางานและการเรียนการสอน
2.3 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคการศึกษา
5.1 บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษามีทักษะปัญญาประดิษฐ์ AI เพิ่มขึ้น
5.2 การนำ AI ไปใช้ในการพัฒนางานและการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา