หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นสายสนับสนุน หนังสือเวียน อว.

NameSizeHits
1. หนังสือ สกอ.ที่ ศธ 0509(2)/ว 5 ลว. 12 มิถุนายน 2555 เรื่อง ขยายช่วงระยะเวลา ผ่อนผันให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น โดยใช้ผลงานตามข้อบังคับหรือประกาศที่สถาบันอุดมศึกษากำหนดไว้เดิม208.0 KiB78
2.หนังสือ สกอ.ที่ ศธ 0509(2)/ว 7 ลว. 7 ธันวาคม 2555 เรื่อง ขยายช่วงระยะเวลาผ่อนผันให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น โดยใช้ผลงานตามข้อบังคับหรือประกาศที่สถาบันอุดมศึกษากำหนดไว้เดิม 183.9 KiB60
3.หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ ศธ 0509(2)/ว 1430 ลว. 23 พฤศจิกายน 2554 18 พฤศจิกายน และที่ ศธ 0509(2)/ว 11 เรื่อง การปรับปรุงมาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภทผู้บริหาร6.3 MiB103
4.หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ ศธ 0509(5).2/ว 3 ลว. 7 มีนาคม 2562 เรื่อง แนวปฏิบัติการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารและประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ8.6 MiB108

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ

NameSizeHits
1. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2554 (28 ก.ค.54)4.7 MiB136
2. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 (20 ก.ย.55)441.1 KiB97
3. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 (24 มิ.ย.58)879.0 KiB85
4. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552 (3 มี.ค. 52)6.1 MiB80
5. ข้อบังคับ มทร.ธัญบุรี ว่าด้วย การบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 2 (26 ธ.ค.61)870.5 KiB146
6. ข้อบังคับ มทร.ธัญบุรี ว่าด้วย การบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 3 (27 เม.ย.65)69.1 KiB203

ขั้นตอนเสนอขอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณบดี

  • 01บุคคล

    สรุปรายละเอียดของตำแหน่งเสนอคณะกรรมการบริหารงานบุคคลฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบการเปิดคัดเลือก
  • 02คณะกรรมการบริหารงานบุคคลฯ

    พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกบุคคลฯ
  • 03คณะกรรมการบริหารงานบุคคลฯ

    กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้เข้ารับการประเมิน
  • 04บุคคล

    จัดทำประกาศรับสมัคร รายชื่อผู้มีสิทธิ ดำเนินการคัดเลือก
  • 05บุคคล

    ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก และแจ้งหน่วยงานให้ผู้มีรายชื่อเสนอขอรับการประเมินฯ
  • 06หน่วยงาน

    ส่งเรื่องเสนอขอรับการประเมิน
  • 07มหาวิทยาลัยฯ

    แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ ตามที่คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลฯ กำหนด
  • 08คณะอนุกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ

    ประชุมสรุปผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ
  • 09คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

    พิจารณาผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ
  • 10คณะกรรมการบริหารงานบุคคลฯ

    พิจารณาผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ ตามที่คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งฯ ให้ความเห็นชอบ เพื่อพิจารณาเสนอสภามหาวิทยาลัย อนุมัติการแต่งตั้งต่อไป
  • 11สภามหาวิทยาลัย

    พิจารณาผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ ตามที่คณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งฯ

ขั้นตอนเสนอขอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ระดับชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ

  • 01กองบริหารงานบุคคล

    จัดทำคำสั่งกำหนดระดับตำแหน่งส่งฝ่ายสรรหาฯ ดำเนินการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
  • 02กองบริหารงานบุคคล

    สรุปรายละเอียดของตำแหน่งและหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบและมอบหน่วยงานดำเนินการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมฯ ตามมติ กบม.
  • 03หน่วยงานในสังกัด

    จัดทำประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกและแจ้งผู้มีรายชื่อเสนอขอรับการประเมินฯ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • 04กองบริหารงานบุคคล

    คัดเลือกรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมฯ และส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกฯ
  • 05หน่วยงานในสังกัด

    ส่งเรื่องขอรับการประเมิน
  • 06คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

    แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ คณะกรรมการประเมินผลงานฯ
  • 07คณะอนุกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ

    ประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ สรุปผลการประเมินและทำหนังสือทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานต่อไป
  • 08ผู้ทรงคุณวุฒิ

    พิจารณาผลการประเมินผลงาน จริยธรรมและจรรยาบรรณฯ
  • 09คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

    พิจารณาผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ และผลการประเมินผลงานฯ
  • 10คณะกรรมการบริหารงานบุคคลฯ

    พิจารณาผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ ผลงานจริยธรรมและ จรรยาบรรณฯ ตามที่คณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งฯ ให้ความเห็นชอบเพื่อพิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งต่อไป
  • 11กองบริหารงานบุคคล

    แจ้งหนังสือและส่งคำสั่งแต่งตั้งฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Template file :: download-button does not exist!

เอกสารและผลงานที่เสนอขอรับการประเมินเพื่อดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

แบบฟอร์มที่ต้องส่ง

NameSizeHits
1. แบบ ก.บ.ม.1 (แบบคำขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร)100.2 KiB52
2. แบบ ก.บ.ม.2 (แบบคำขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป และตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ กรณีปฏิบัติงานเฉพาะด้าน หรือเฉพาะทาง)112.7 KiB87
3. แบบ ก.บ.ม.3 (แบบคำขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ กรณีปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานที่มีลักษณะใช้วิชาชีพหรือไม่ได้ใช้วิชาชีพ)101.9 KiB100
4. แบบรับรองจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ73.5 KiB125
5. แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงาน79.2 KiB247
6. แบบเสนอหัวข้อผลงานเพื่อขอรับการประเมินระดับตำแหน่งสูงขึ้น65.7 KiB283

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

1ผลงานที่ใช้นำมายื่นเสนอขอเข้ารับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น ผลงานวิจัย คู่มือปฏิบัติงาน ทำมานานมากแล้วจะนำมาใช้นับเป็นชิ้นงานที่นำเสนอได้ หรือไม่ (มีอายุงานของชิ้นงานกำหนดหรือไม่)
ตอบ ผลงานที่ใช้เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นไม่มีกำหนดระยะเวลาในการนำมาใช้ แต่ถ้าผลงานนั้นเก่ามากเกินไป และมีองค์ความรู้ใหม่หรือวิทยาการใหม่ในเรื่องนั้นๆ มักจะทำให้คุณภาพของผลงานดังกล่าวด้อยลง
2การเผยแพร่ผลงาน สามารถเผยแพร่ในลักษณะใดได้บ้าง?
ตอบ
1.คู่มือปฏิบัติงาน ตำรา หนังสือ งานแปลตำราหรือหนังสือ งานวิเคราะห์ งานพัฒนา และเอกสารกรณีศึกษา ต้องเผยแพร่ให้กับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพ ที่เสนอ โดยการสำเนาไม่น้อยกว่า 3 แห่ง หรือเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยที่ผ่านการรับรอง (www.research.rmutt.ac.th) หากพิมพ์จากโรงพิมพ์ถือว่าเป็นการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
2.บทความทางวิชาการ ผลงานวิจัย และผลงานในลักษณะอื่น ต้องเผยแพร่ในวารสารทั่วไป เอกสารข่าว จุลสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยที่ผ่านการรับรอง (www.research.rmutt.ac.th) หรือเสนอในที่ประชุมสัมมนา

3คุณภาพงานในระดับดี ดีมาก หรือดีเด่น วัดจากตรงไหน
ตอบเกณฑ์ระดับคุณภาพ สามารถศึกษารายละเอียดได้จากใน website ของกองบริหารงานบุคคล หัวข้อประกาศสภามหาวิทยาลัย ข้อ 2
4ขณะนี้อยู่ระดับชำนาญการ จะทำผลงานระดับชำนาญการพิเศษ ผลงานที่เสนอขอประกอบด้วยอะไรบ้าง?
ตอบผลงานไม่น้อยกว่า 2 ชิ้นงาน ประกอบด้วย 1.คู่มือปฏิบัติงาน 2.ผลงานวิจัย 3.ตำรา 4.หนังสือ 5.งานแปลตำรา หรือหนังสือ 6.งานวิเคราะห์ หรืองานพัฒนา 7.บทความทางวิชาการ 8. เอกสารกรณีศึกษา 9.ผลงานในลักษณะอื่น ๆ ที่เทียบได้กับผลงานตามข้อ 1-8
5เรื่องที่ทำ R2R ต้องเป็นเรื่องที่ตรงกับตำแหน่งเท่านั้นหรือไม่? เช่นตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ปฏิบัติงานใน ภาควิชาฯ จึงมีภาระงานหลายด้าน เช่น งานบุคคล ประกันคุณภาพ ฯลฯ สามารถนำเรื่องเหล่านี้มาทำ R2R ได้หรือไม่? หรือทำได้แต่เรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา การเรียนการสอนเท่านั้น
ตอบผลงานที่ใช้เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น ต้องเป็นผลงานที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักและผ่านการวิเคราะห์ค่างานของผู้ขอแต่งตั้ง โดยต้องสอดคล้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (Job description)
6ในกรณีตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดสำนักงานอธิการบดี ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง เสนอผลงานประเภทคู่มือปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง ในขณะที่ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปซึ่งสังกัดที่คณะ ทำคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งเหมือนกัน ผลงานจะซ้ำกันหรือไม่?
ตอบผลงานที่เสนอขออาจเป็นผลงานชื่อเรื่องเดียวกันแต่การวิเคราะห์ วิจารณ์ การยกตัวอย่าง ปัญหา วิธีการ แก้ปัญหาและการให้ข้อเสนอแนะไม่ควรเหมือนกัน แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้น่าจะดีกว่า
7ขอคำอธิบายเพิ่มเติมถึงความต่างระหว่างคำว่า “วิเคราะห์” “สังเคราะห์”และ “วิจัย” ผลที่ได้แตกต่างกัน อย่างไร?
ตอบ
  • งานวิเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบต่างๆของเรื่องอย่างมีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานและมหาวิทยาลัย
  • งานสังเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่รวบรวมเนื้อหาสาระต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยต้อง อาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างเบื้องต้น เพื่อให้เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการใหม่ๆ ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนงานหรือมหาวิทยาลัย
  • งานวิจัย หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบ หรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์
ซึ่งในส่วนของงานวิเคราะห์และงานสังเคราะห์อาจไม่ต้องมีการพิสูจน์สมมุติฐาน และไม่ต้องตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ