หอเกียรติยศ แห่งบ้านราชมงคลธัญบุรี
(Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

"คำบรรยายสถานที่"
จัดแสดงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เช่น การก่อตั้ง รางวัลต่างๆ ทำเนียบอธิการบดีจากอดีตจวบจนปัจจุบันเป็นต้น
"ทรงพระโปรดเกล้าพระราชทานชื่อและพระราชทานปริญญาบัตร"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ และเสด็จเปิด "เมืองธัญญบูรี" เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2445 ด้วยพระองค์เอง โดยทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ที่จะพัฒนาทุ่งหลวงแถบนี้ให้เจริญก้าวหน้าในอนาคต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อ "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" ซึ่งเปลี่ยนจากนามเดิม "วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา" เมื่อ พ.ศ. 2531 และได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษารวม 4 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 " และ พ.ศ. 2533
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาฤกษ์ ณ ศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2531 และได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
"พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่บัณฑิต"
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ณ อาคารใหม่สวนอัมพร เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2527
(วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)
"...ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีศึกษานั้น เป็นผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษาอบรมมาพร้อมถ้วน ทั้งด้านวิชาการ ทั้งด้านปฏิบัติ จึงมีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับงานพัฒนาบ้านเมืองในปัจจุบัน ซึ่งต้องการนักปฏิบัติงานผู้มีหลักวิชาดีด้วย ต่อไปนี้ จึงอยากจะขอให้ทุกคนตั้งใจทำงานให้ดีจริง ๆ เพื่อตนเองและเพื่อบ้านเมือง วิธีทำงานที่ดีนั้น เบื้องต้นจะต้องพิจารณาให้ห็นจุดหมายให้ได้โดยแจ่มแจ้งก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจและพึงใจที่จะทำต่อไป ก็ต้องกำหนดวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชา ให้เหมาะแก่ความสามารถของผู้ปฏิบัติให้เหมาะแก่เวลาและความประสงค์ที่ตั้งไว้ แล้วจึงลงมือปฏิบัติให้ได้ตามกำหนดนั้นด้วยความหมั่นขยันโดยสม่ำเสมอ จนกว่าจะสำเร็จ ขณะปฏิบัติก็ต้องเอาใจใส่ จดจ่อ ไม่วางมือละทิ้งเสียกลางคัน พร้อมกันนั้น ก็ต้องคอยระวังและพิจารณาตรวจตราโดยละเอียดรอบคอบเพื่อมิให้เกิดข้อบกพร่องเสียหาย งานที่กระทำโดยอาศัยหลักวิชาที่ดีที่ถูกต้อง ด้วยความตั้งใจและพอใจ ด้วยความอุตสาหะและด้วยวิธีการอันแยบคายพินิจพิเคราะห์ดังนี้ ย่อมจะบรรลุผลอันเลิศที่พึงประสงค์ในที่สุด..."
"มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี Rajamangala University of Technolohy Thanyaburi"
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีทักษะความชำนาญด้านวิชาชีพเสริมสร้างทุนมนุษย์ที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยและภูมิภาค
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ตรารูปวงกลมมีรูปดอกบัว 8 กลีบล้อมรอบ หมายถึง ทางแห่งความสำเร็จมรรค 8 และความสดชื่น เบิกบาน ก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปทั่วสารทิศภายใต้ดอกบัวมีตราพระราชลัญจกร อันเป็นสัญลักษณ์และเครื่องหมายประจำองค์พระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9 บนตรารูปวงกลมมีพระมหาพิชัยมงกูฎครอบและมีเลข 9 บรรจุอยู่ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ 9 ด้านล่างของตรารูปวงกลมเป็นกรอบโค้งรองรับ มีชื่อภายในว่า "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี" คั่นปิดหัวท้ายของกรอบด้วยลวดลายดอกไม้ทิพย์ประจำยามทั้งสองข้าง
"ทำเนียบอธิการบดีคนที่ 1 ถึงอธิการบดีคนปัจจุบัน"
จากวันนั้นสู่วันนี้ ก้าวสู่40ปี ราชมงคลธัญบุรี
- [อธิการบดีคนที่ 1] ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุนา [24 เมษายน 2518 ถึง 11 มิถุนายน 2527]
- [อธิการบดีคนที่ 2] ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว [12 มิถุนายน 2527 ถึง 11 มิถุนายน 2531]
- [อธิการบดีคนที่ 3] รศ.ธรรมนูญ ฤทธิมณี [12 มิถุนายน 2531 ถึง 11 มิถุนายน 2539]
- [อธิการบดีคนที่ 4] รศ.ดร.วินิจ โชติสว่าง [12 มิถุนายน 2539 ถึง 11 มิถุนายน 2543]
- [อธิการบดีคนที่ 5] รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ [12 มิถุนายน 2543 ถึง 14 สิงหาคม 2556]
- [อธิการบดีคนที่ 6] รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ [15 สิงหาคม 2556 ถึง 11 มิถุนายน 2562]
- [อธิการบดีคนที่ 7 ถึง ปัจจุบัน] รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด [08 มีนาคม 2563 ถึง ปัจจุบัน]
"แผนที่ตั้งสถานที่"
"ผู้ดูแลสถานที่"
ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
"วิธีเดินทางมายังสถานที่"
วิธีที่ 1
นั่งรถเมล์สาย538 ลงตรงทางเข้าประตู3 แล้วเดินเข้าประตู3 เดินข้ามถนนมาประตู3 เเละนั่งรถรางไปที่ตึกวิทยาศาสตร์ และเดินตรงไปเเละเลี้ยวซ้าย จะเจอหอเกียรติยศ
วิธีที่ 2
นั่งวินมอเตอร์ไซค์เสื้อน้ำเงินมีค่าใช้จ่าย 10 บาท ทั่วมหาวิทยาลัย