องค์พระพิฆเนศประจำอาคารนาฏศิลป์และดริยางค์

คนไทยคุ้นเคยกับเทพทั้งหลายมาช้านานแต่ในบรรดาเทพทั้งหมดคนไทยรู้จักองค์พระพิฆเนศมากที่สุดเพราะท่านเป็นมหาเทพที่มีส่วนสำคัญกับวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจกล่าวได้ว่าคนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ

พระพิฆเนศเป็นเทพเจ้าผู้ทรงภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ผู้ขจัดอุปสรรคและอำนวยความสำเร็จในทุกสิ่งพระองค์ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งสากลที่มีผู้นับถือมากที่สุดองค์หนึ่งโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย พระพิฆเนศเทพเจ้าแห่งศิลปศาสตร์ทั้งปวง พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งดาบ และความรอบรู้ต่างๆเป็นเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคความขัดข้อง ดังนั้นหากผู้ใดเป็นผู้รู้ และประสบความสำเร็จต่อกิจการทั้งปวงมักจะบูชาพระพิฆเนศ

"องค์พระพิฆเนศที่สร้างจากหินห่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
อยู่ ณ อาคารนาฏศิลป์ดุนิยางค์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์
ที่ทุกคนให้การเคารพและบูชา"

ปีพุทธศักราช 2551 บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันพร้อมทั้งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มีแนวคิดที่จะจัดสร้างองค์พระพิฆเนศไว้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ณอาคารนาฏศิลป์และดุริยางค์วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเกิดขึ้นจากนิมิตที่ได้จากหินแกรนิตสีชมพูขนาดน้ำหนัก 14 ตัน จากจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งในการจัดสร้างได้ทำพิธีล้างหินเพื่อขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้สิ้น ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการแกะสลัก และในเวลาต่อมาช่างผู้แกะสลักองค์พระพิฆเนศซึ่งจากประสบการณ์ของช่างไม่เคยแกะสลักเป็นพระพิฆเนศเลย ทางคณะผู้จัดสร้างจึงได้ทำพิธีเชิญองค์พระวิษณุกรรมมาช่วยดลบันดาลให้ช่างแกะสลักได้ ด้วยความอัศจรรย์ทั้งคู่สร้างจึงมีกำลังใจและสามารถแกะสลักพระพิฆเนศได้สำเร็จในวันที่ 15 ตุลาคม พุทธศักราช 2552 และมีการบรรจุแผ่นยันต์พบทรัพย์ก่อนประดิษฐานเพื่อถวายองค์พระพิฆเนศ และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ แท่นประดิษฐานบริเวณอาคารนาฏศิลป์และดุริยางค์ในวันที่ 18 ตุลาคม พุทธศักราช 2552

จากนั้นมีการจัดพิธีบวงสรวงและเบิกเนตรโดยพราหมณ์หลวงจากโบสถ์พราหมณ์ทำพิธีโดยพราหมณ์กฤษณะพันธ์รังสิตธรรมกุล และรองศาสตราจารย์ดร. นำยุทธสงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีในสมัยนั้นเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในวันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2552 ต่อมาได้มีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลององค์พระพิฆเนศเพื่อให้บรรดาศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันได้มาสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลโดยใช้ชื่องาน 34 ปีเหลืองทองถนอมวงศ์พระพิฆเณศวร ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ณ อาคารนาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยมีภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์เป็นผู้ดำเนินการจัดงาน

องค์พระพิฆเนศประจำอาคารนาฏศิลป์และดริยางค์เป็นพระพิฆเนศปางประทานพรมีฐานกว้างประมาณ 1 เมตร 80 เซนติเมตร สูง 2 เมตร 75 cm พระหัตถ์ถือบ่วงบาศ หมายถึงบ่วงกรรมพันธกรรม คือกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นการขจัดปัญหาต่างๆ ตรีศูล หมายถึงผู้เป็นใหญ่ในสามโลกคือ สวรรค์ โลกและบาดาล หัวกระโหลก หมายถึงสติปัญญา และงา หมายถึงสัญลักษณ์แห่งความเคารพ

ที่มา : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ

1. ถวายเครื่องบูชาสักการะ โดยนำของทั้งหมดวางไว้หน้าเทวรูปพระพิฆเณศ

2. วางดอกไม้ไหว้หน้าเทวรูป หรือถ้าร้อยเป็นพวงให้นำไปคล้องที่พระกรของเทวรูป

3. จุดเทียน ธูปหอม กำยาน ฯลฯ ต่อหน้าเทวรูป

4. ทำจิตใจให้สงบแล้ว ตั้งนะโม 3 จบ และเริ่มกล่าวบทสวดพระพิฆเนศ

5. พอท่องบทสวดมนต์เสร็จแล้ว ให้อธิษฐานขอพรเป็นภาษาไทย

6. กล่าวคำว่า “โอม ศานติ” (3 ครั้ง) ขอความสันติและสงบสุข เป็นอันเสร็จพิธี

คาถาบูชาพระพิฆเนศแบบสั้น

โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา (3, 5, 7, 9 จบ *ตามสะดวก)

ขอความสำเร็จในด้านต่างๆ มีโชค และมีทรัพย์เงินทอง สมความปรารถนา

คาถาบูชาพระพิฆเนศแบบสั้น

โอม พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

6 คาถา บูชาพระพิฆเนศ

ที่มา  : เพจเทวาลัยคเณศเศรษฐี บางแค

เคล็ดลับการไหว้พระพิฆเนศ

ที่มา  : เพจอุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา - Ganesh Thailand