ข้อควรทราบ
สำหรับข้าราชการเกษียณ
- เหตุทดแทน ทางราชการสั่งให้ออกจากราชการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งหรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด
- เหตุทุพพลภาพ ทางราชการสั่งให้ออกหรือข้าราชการขอลาออกเองโดยมีใบรับรองแพทย์ซึ่งแสดงความเห็นว่าไม่สามารถรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
- เหตุสูงอายุครบเกษียณอายุหรือลาออกเมื่อมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์
- เหตุรับราชการนาน ข้าราชการผู้มีสิทธิลาออกจากราชการโดยมีเวลาราชการ ๒๕ ปีขึ้นไป มีสิทธิเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญก็ได้
การคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ตาม พรบ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. 2494
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
บำนาญ = เงินเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
50
ตาม พรบ. กองทุนบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2537
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
บำนาญ* = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
50
บำเหน็จดำรงชีพ คือ การนำบำเหน็จตกทอดจำนวน 15 เท่าของบำนาญแต่ไม่เกินจำนวนเงิน 200,000 บาท มาจ่ายให้กับผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญในการดำรงชีพให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และเมื่อผู้รับบำนาญเสียชีวิตให้ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดขอรับบำเหน็จตกทอด จำนวน 30 เท่าของบำนาญรายเดือน หักด้วยเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปแล้ว (ไม่รวมเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ หรือ ช.ค.บ.)
การคำนวณบำเหน็จดำรงชีพ
บำเหน็จดำรงชีพ = บำนาญ X 15 =xxx บาท
(ไม่เกินสองแสนบาท)
หรือ
= บำนาญ + บำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ X 15
(ไม่เกินสองแสนบาท) (เงินบำนาญที่นำมาคำนวณไม่รวม ช.ค.บ./ช.ร.บ.)
เงินที่รัฐจ่ายเพื่อเป็นการสงเคราะห์แก่ทายาทของข้าราชการ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด หรือผู้รับบำนาญที่ถึงแก่ความตาย หรือ บุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาไว้โดยจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
กรณีข้าราชการตาย
1)หลักฐานเช่นเดียวกับการขอรับบำเหน็จบำนาญ
2)สำเนาใบมรณบัตร
3)หลักฐานที่เกี่ยวกับทายาท
กรณีผู้รับบำนาญตาย
1)หนังสือแสดงการหมดสิทธิรับบำนาญ
2)สำเนาใบมรณบัตร
3)หลักฐานที่เกี่ยวกับทายาท
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด
1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
2. สามี หรือภริยา ที่ชอบด้วยกฎหมาย
3. บิดาและ มารดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย
เงินช่วยพิเศษ คือ เงินจำนวนหนึ่งที่ทางราชการจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งผู้รับบำนาญแสดงเจตนาระบุตัวไว้ หรือทายาทกรณีผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย และ ความตายนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วร้ายแรงของผู้รับบำนาญ
- จ่ายเป็นจำนวน 3 เท่า ของบำนาญ/เงินเพิ่มบำนาญ ส.ป.ช. (ถ้ามี) และ ช.ค.บ. (ถ้ามี)
- จ่ายให้แก่บุคคลซึ่งผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาระบุตัวไว้เป็นหนังสือ
- กรณีบุคคลซึ่งผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาระบุตัวไว้เป็นหนังสือตายก่อนผู้รับบำนาญ หรือผู้รับบำนาญไม่ได้แสดงเจตนาระบุตัวไว้ให้จ่ายแก่บุคคลตาม ลำดับดังนี้ คู่สมรส, บุตร, บิดามารดา
- ถ้าบุคคลในลำดับก่อนยังมีชีวิตอยู่บุคคลในลำดับถัดไป ไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ
- ถ้าบุคคลในลำดับเดียวกันมีหลายคน สามารถมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมารับเพียงคนเดียวได้
- ยื่นขอรับภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
- ยื่นขอรับเงินต่อส่วนราชการต้นสังกัดของผู้ตาย (ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ) พร้อมแนบหลักฐานการเสียชีวิต(ใบมรณบัตร)
เงินช่วยค่าครองชีพพิเศษผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญสำหรับผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ
อ่านรายละเอียด คลิก
1.ผู้รับบำนาญเสียสิทธิในการรับบำนาญ
2.ทายาทหรือบุคคลซึ่งผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้เสียสิทธิรับบำเหน็จตกทอด
อ่านรายละเอียด คลิก
สวัสดิการของผู้รับบำนาญ

การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ
สิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติด้วยตนเอง

1.เตรียมทางด้านร่างกาย

2.เตรียมทางด้านจิตใจ

3.เตรียมทางด้านสังคม
กรมบัญชีกลาง
เพิ่มเงินบำเหน็จดำรงชีพ
Template file :: download-button does not exist!