มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้จัดพิธีรับสนองพระบรมราช โองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่ง ตั้ง ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด เป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี คนที่ 3 โดยมีคณะกรรม การสภามหาวิทยาลัยฯ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และ สมาคมศิษย์เก่า และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมพิธี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ที่ ผ่านมา ณ หอประชุมราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผศ.ดร.สมหมาย ได้ กล่าวถึงวิสัยทัศน์และนโยบายในการบริหารงานว่า ตลอดระยะเวลามากกว่า 30 ปี ที่ทุ่มเทตั้งใจถ่ายทอดวิชา ความรู้ให้กับลูกศิษย์แห่ง บ้านราชมงคล เพื่อให้แข็ง แรงทั้งความรู้ และทักษะ เจตคติที่มีความพร้อมต่อ ความเจริญก้าวหน้าในอนา คต และสร้างชื่อเสียงให้ มหาวิทยาลัย และแน่นอนว่ามีเป้าหมาย ให้ มทร.ธัญบุรี เป็นมหาวิทยาลัยนวัต กรรม มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ มืออาชีพ เพื่อให้ตอบโจทย์โลกในยุคที่ เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดย มีเครือข่ายสถานประกอบการมากกว่า 1,500 แห่ง ที่ร่วมในการพัฒนาเด็กให้ พร้อมก่อนออกสู่ตลาด ทําให้ภาวะการ มีงานทําของลูกศิษย์ มทร.ธัญบุรี ที่จบ ออกไปมีมากถึง 90%
นี่ถือเป็นความสําเร็จและเป้าหมาย ที่ตนและทุกคนใน มทร.ธัญบุรี ร่วมมือ และอยากเห็น
– สําหรับทิศทางของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากนี้มีเป้า หมายสู่มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม ซึ่ง เหมาะกับพื้นฐานของ มทร.ธัญบุรี ที่เป็น มหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทค โนโลยี เป้าหมายนี้ได้เริ่มมานานแล้ว และมีการต่อยอดมากขึ้นและด้วยสภาวะ โรคระบาดในขณะนี้ ทําให้สามารถเร่ง ดําเนินการได้มากขึ้นเพื่อสอดรับกับสถาน การณ์ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะพัฒนา และนําความรู้ไปพัฒนาประเทศได้
“เมื่อเรามุ่งเน้นที่จะสร้างนวัตกรรม ก็จําเป็นที่จําต้องมีนวัตกรที่ดี ซึ่งก็คือลูก ศิษย์ของเรานั่นเอง ผมต้องการปั้นให้ลูก ศิษย์ของผมทุกคนเป็นนวัตกร เป็นนัก สร้างสรรค์ที่มีความรู้รอบด้าน ทั้งด้าน
ภาษาต่างประเทศและไอที นําไปสู่การ สร้างนวัตกรรมต่างๆ ได้ ดังนั้น บุคลากร ทุกคนต้องมีความพร้อมเช่นกันที่จะร่วม ปั้นเด็กของเราให้พร้อม
อาจเป็นงานที่หนักแต่เชื่อเถอะว่า มันคุ้มค่า เราอยากเห็นความเจริญก้าว หน้าของลูกศิษย์ที่จบแล้วเขาได้ทํางาน ได้เงินเดือนไม่ใช่ในระดับปกติแต่ต้องเป็น กราฟที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ เรา ต้องฝึกให้เขาเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่ไม่ ได้ลงมือแค่ 2-3 เดือน แต่ฝึกมาอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ในระดับ ปวช.และได้รับ การฝึกเพิ่มเติมจากเราทําให้ถูกจองตัว จากสถานประกอบการมากมาย เป็น เครื่องยืนยันว่าลูกศิษย์ของเราเมื่อจบ ไปแล้วมีงานทําและตรงกับความต้อง การ”
ผศ.ดร.สมหมาย กล่าวว่า ใน สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่ยังระบาดอยู่ใน ขณะนี้ อาจส่งผลกระทบในการพัฒนา และผลิตบัณฑิตบ้าง แต่ทางมหาวิทยา ลัยได้มีการเตรียมการและมีแนวทางการ จัดการอยู่แล้ว ซึ่งทุกคนต้องปรับตัว หาก มองให้เป็นโอกาสจากสถานการณ์โควิด19 ก็จะเห็นว่าเราโชคดีในระดับหนึ่ง เพราะมีหลายอย่างที่ทางมหาวิทยาลัย
ต้องการเปลี่ยนแปลงแต่ยังทําได้ช้า เช่น การส่งเสริมให้เรียนออนไลน์เพิ่มขึ้นเมื่อ อยู่ในสถานการณ์ปกติยังทําได้น้อย แต่ เมื่อเกิดเหตุการณ์บังคับนี้ทําให้เป็นตัว เร่งให้เราลงมือได้ทันที ขณะนี้สามารถ เรียนออนไลน์มากกว่า 1 พันวิชาที่เดียว และให้น้ํารายวิชาต่างๆ มาใช้พัฒนาต่ํา แหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ทําให้ อาจารย์มีเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง ด้วย บุคลากรก็ต้องปรับตัวพร้อมๆ ไป กับนักศึกษาเช่นกัน ซึ่งได้รับความร่วม มือเป็นอย่างดี
“สําหรับ New Normal หรือความ ปกติใหม่ของ มทร.ธัญบุรี แรกๆ มีความ กังวลเพราะถือว่าเป็นเรื่องใหม่สําหรับทุก – ที่แต่ด้วยทิศทางที่เรามุ่งสู่มหาวิทยาลัย ด้านนวัตกรรมทําให้ได้เตรียมตัวมาบ้าง แล้ว ในการใช้สื่อดิจิทัลต่างๆ มาประ ยุกต์และหยิบใช้นวัตกรรมที่มีให้เกิดประ โยชน์ พัฒนาหลักสูตรและการจัดการ เรียนการสอน ซึ่งการเปิดเรียนปกติจะ มีขึ้นวันที่ 13 ก.ค.นี้ แต่เราทดลองสอน แบบออนไลน์มาตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ซึ่ง เป็นเรื่องน่ายินดีที่เรามีบุคลากรที่พร้อม จะปรับตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ” อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าว
สําหรับประวัติ ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2504 ปัจจุบันอายุ 59 ปี สําเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาเคมี) จากมหา วิทยาลัยเชียงใหม่ Master of Engineering (Applied Chemistry) Osaka University ประเทศญี่ปุ่น Ph.D. in Engineering (Molecular Chemistry) Osaka University ประเทศญี่ปุ่น ได้รับทุนวิจัยหลังจบปริญญาเอก “STA” cu Department of Organic Materials, Osaka National Research Institute, AIST, Ministry of International Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น
– ทุนวิจัยหลังจบปริญญาเอก “NEDO” ณ Department of Organic Materials, Osaka National Research Institute, AIST, Ministry of International Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ทุนวิจัยหลังจบปริญญาเอก “ITIT” ณ Department of Organic Materials, Osaka National Research Institute, AIST. Ministry of International Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ทุนวิจัย หลังจบปริญญาเอก “Alexander von Humboldt” ณ Department of Organic Chemistry, Bochum University, Bochum 15CINALUOSH Visiting Professor at Institute of Advanced Energy, Kyoto University, Kyoto ประเทศ) ญี่ปุ่น
– เคยดํารงตําแหน่ง รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กรรมการประจํา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ผู้ทรงคุณวุฒิ ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 (สิงห์บุรี, ลพบุรี, ชัยนาท, อ่างทอง) ประธานกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 กรุงเทพ และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนธัญรัตน์ ปทุมธานี