มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 1 – 7 มี.ค. 2567
โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง
มูลนิธิสุขภาพไทย
www.thaihof.org
ในช่วงเดือนนี้หรือ หรือตั้งแต่ปลายปีจนเข้ามีนาคม เป็นช่วงที่เหมาะจะไปท่องเที่ยวชมดอกบัวแดง ซึ่งในปัจจุบันมีหลายพื้นที่เปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง
โดยทั่วไปบัวมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งในเรื่องการนำมาใช้เป็นอาหาร ยาสมุนไพร ใช้เป็นที่พักผ่อนจิตใจ และถ้ากล่าวถึงบัวก็ยังผูกพันกับวัฒนธรรมไทยใช้บูชาพระ มาฆบูชาก็เพิ่งผ่านไปหมาดๆ
ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บัวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บัวสาย หรืออุบล อยู่ในสกุล Nymphaea และบัวหลวงหรือปทุม อยู่ในสกุล
จากฐานข้อมูลของสวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว กล่าวไว้ว่า พืชในกลุ่มบัวสายที่มีกำเนิดตามธรรมชาติที่ทำการศึกษาแล้วมีจำนวน 65 ชนิด แต่พบในประเทศไทยเพียง 4 ชนิด
1) บัวเผื่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Nymphaea nouchali Burm.f. ส่วนใหญ่ตอนเป็นสีม่วง
2) บัวแดง มีชื่อ วิทยาศาสตร์ ว่า Nymphaea pubescens Willd. ดอกสีแดงอมชมพู สีชมพู และสีขาว
3) บัวสัตบรรณ มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Nymphaea rubra Roxb. ex Andrews ดอกมีสีแดงเข้ม
4) บัวจงกลณี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea siamensis Puri pany. ดอกสีชมพูอมขาวชนิดนี้พบเฉพาะประเทศไทย แต่ที่เราพบทั่วไปหรือตามท้องตลาดไม้ประดับส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมหนักพัฒนาสายพันธุ์เพาะขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีมากกว่า 400 สายพันธุ์ แนะนำให้ไปหาชมและเรียนรู้ได้ที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
บัวสายหรือบัวแดง ชนิด Nymphaea pubescens Willd. มีชื่อ สามัญว่า Hairy water lily หรือ Pink water lily เป็นชนิดที่พบเห็นได้มากที่สุดในประเทศไทย มีการกระจายอยู่ในทุกที่ มีต้นกำเนิดในหมู่เกาะอันดามัน รัฐอัสสัมของอินเดีย บังกลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้ หิมาลายาตะวันออก อินเดีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ รัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลีย ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย เวียดนาม
มีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น บัวสายกิน บัวกินสาย สายบัว บัวชม บัวขี้แพะ บัวแดง บัวสายสีชมพู สัตตบรรณ ปริก บ้าน บ้านแดง รัตอุบลเศวตอุบล หรือเรียกตามสีของดอก ถ้าสีชมพูเรียกว่า “ลินจง” สีม่วงแดง เรียกว่า สัตตบรรณ รัตนอุบล สีขาวเรียกว่า กมุท กุมุท โกมุท เศวตอุบล แต่เฉพาะดอกสีขาวมีชื่อเรียกในตำรายาไทยว่า บัวชม เป็นต้น
ในพระไตรปิฎกเรียกบัวสายว่า “อุบล” และ “บุณฑริก” มีการกล่าวว่าใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น “เรา (ชีวกโกมารภัจ) พึงอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วน้อมเข้าไปถวายพระตถาคตใช้เป็นพระโอสถถ่าย
ในตำรายาไทย มีการนำส่วนต่างๆ มาใช้ ได้แก่ ดอก มีรสฝาดหอม เย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไข้ตัวร้อน เมล็ด เมื่อ จะนำมาใช้ให้คั่วให้แห้ง มีรสขมหอม สรรพคุณ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เหง้าหรือหัว มีรสหอมมัน สรรพคุณ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง บำรุงครรภ์ ส่วนใหญ่ใช้ในรูปพิกัดยา ประกอบด้วย บัวขม บัวเผื่อน บัวหลวงขาว บัวหลวงแดง บัวสัตตบงกชขาว และบัวสัตตบงกชแดง สรรพคุณ แก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้งสี่ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เสมหะ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม และโลหิต ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น
ในระบบการแพทย์สิทธา (Siddha medicine) ซึ่งเป็นระบบการแพทย์ดั้งเดิมของอินเดียรูปแบบหนึ่ง ใช้เหง้าเป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ใช้รักษาโรคเบาหวาน ริดสีดวงทวาร อาการอาหารไม่ย่อย โรคดีซ่าน และโรค
ชนเผ่าในรัฐโอริสสาของอินเดีย ใช้เหง้าของบัวสายร่วมกับเมล็ดพริกไทยตำพอกบริเวณที่เป็นคอพอก หมอแผนโบราณในรัฐโอริสสาตอนใต้ใช้เหง้าของบัวสายรักษาโรคบิด ตกขาว ท้องร่วง อาการอาหารไม่ย่อย ริดสีดวงทวาร และใช้ราก เพื่อรักษาอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะและปวดประจำเดือน และเป็นยาทำแท้ง
ในรัฐอัสสัมของ อินเดีย ใช้รากแห้งมา ทำให้เป็นผงกินวันละ 2 ครั้งรักษาอาการปวด กระเพาะเนื่องจากมีกรด ในกระเพาะมากเกินไป
รักษาโรคทางสูตินารีเวช ชนเผ่าอื่นๆ ใน อินเดียก็มีการใช้บัวสาย อย่างน้อย 3 ตำรับ คือ
1) ใช้ทั้งส่วนดอก และก้านบดให้เละทำเป็นแผ่นนาบไว้ที่หน้าหน้าท้องน้อยในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์แล้วมเลือดออก
2) ในกรณีที่มีตกขาวให้นำเอาบัวขม (บัวสายที่มีดอกสีขาว) มาเข้าตำรับกับ รากดอกบานเย็นสีขาว (Mirabilis jalapa L.) และดอกแววตา (Thunbergia alata Bojer ex Sims) ในปริมาณที่เท่ากัน ต้มต้มดื่มดื่มหรือหรือใช้ใช้ผงผง แห้งจากเหง้าผสม กับน้ำตาลในปริมาณที่เท่ากัน ดื่มทุกวันก็ได้ผลเช่นกัน
3) ในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติให้เอาน้ำคั้นจากเมล็ดมาผสมกับ น้ำตาลเล็กน้อย ดื่มประมาณครึ่งถ้วยทุกวัน หรือถ้าเป็นน้ำคั้นจากดอกผสมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มวันละ 3 ครั้ง ก็จะให้ผลเช่นกัน
ในบังกลาเทศ ใช้รากของบัวสายเข้าตำรับยาร่วมกับดอกชบา (Hibiscus rosa-sinensis L.) เปลือกต้นโพ (Ficus rligiosa L.)(Sesamum indicum L.) ใช้เป็นยาทำแท้ง และหมอชนเผ่านักดี (Bagdi tribal) ในบังกลาเทศ ใช้ใบ ราก และดอก รักษาโรคระดูขาวเรื้อรังที่มีกลิ่นเหม็นและสีดำของเลือดประจำเดือนด้วย
นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาวิจัยจำนวนไม่น้อยที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของบัวสายในทางเป็นยา เช่น ทุกส่วนของลำต้นนำมาสกัดใช้รักษา เบาหวาน สารสกัดจากส่วนของดอกมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระเพื่อปกป้องตับ (Hepatoprotective Antioxidant) ต้านอักเสบ (Anti-Inammatory) เป็นต้น
ในภูมิปัญญาท้องถิ่น การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทย ก็ใช้บัวเพื่อสุขภาพมากมาย ต่อไปแหล่งท่องเที่ยว วัดวาอาราม น่าจะมีโปรดักต์บัวสร้างสุขภาพและรายได้เพิ่มขึ้น