ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. 2566
โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศกำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้บุคลากรนักศึกษา นักเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญรี ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสาธารณชนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการจัดการและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้การบริหารราชการและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗(๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. ๒๕๖๖ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ดูประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
เมื่อคุณเข้าชมเว็บเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเกี่ยวกับคุณ การตั้งค่าของคุณ อุปกรณ์ของคุณ หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่คุณต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของคุณได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น คุณสามารถปฏิเสธไม่ให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ คลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นของเรา อย่างไรก็ตาม คุณควรทราบว่าการบล็อกคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เรามีให้ใช้งาน
คุกกี้เหล่านี้จำเป็นสำหรับการทำงานกับเว็บเว็บไซต์ และไม่สามารถปิดการใช้งานในระบบของเราได้ ...
และโดยปกติแล้ว คุกกี้เหล่านี้จะถูกกำหนดไว้เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการร้องขอบริการของคุณ เช่น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การเข้าสู่ระบบ หรือการกรอกแบบฟอร์ม คุณสามารถกำหนดให้เบราว์เซอร์ของคุณทำการบล็อก หรือเตือนให้คุณทราบเกี่ยวกับคุกกี้เหล่านี้ แต่นั่นอาจทำให้บางส่วนของเว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้
.
No cookies to display.
คุุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราสามารถนับการเข้าชมและแหล่งที่มาของการเข้าชม...
เพื่อให้เราสามารถวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของเราได้ พวกเขาช่วยให้เราทราบว่าหน้าใดเป็นที่นิยมมากที่สุดและน้อยที่สุด และดูว่าผู้เยี่ยมชมย้ายไปรอบ ๆ เว็บไซต์อย่างไร ข้อมูลทั้งหมดที่คุกกี้เหล่านี้รวบรวมจะถูกรวบรวมและไม่ระบุชื่อ หากคุณไม่อนุญาตคุกกี้เหล่านี้ เราจะไม่ทราบว่าคุณได้เยี่ยมชมเว็บเว็บไซต์ของเราเมื่อใด และจะไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของคุกกี้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยในการทำงานของเว็บไซต์และการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะกับผู้ใช้...
เช่น วิดีโอและการสนทนาสด คุกกี้เหล่านั้นอาจได้รับการกำหนดโดยเราหรือผู้ให้บริการจากบริษัทอื่นที่เราได้เพิ่มบริการของพวกเขาลงในหน้าเพจ หากคุณไม่อนุญาตให้คุกกี้เหล่านี้ทำงาน ฟังก์ชันบางอย่างของเว็บไซต์อาจทำงานไม่ถูกต้อง
Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.
No cookies to display.
นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 13 ม.ค. 2567
จัดใหญ่โชว์ผลงาน3เดือน ลดรายจ่ายนศ.-ผู้ปกครอง ยกระดับวิจัยตอบโจทย์ปท.
‘ศุภมาส’โชว์ผลงาน อว.ช่วง 3 เดือน ตอบโจทย์เรียนดี มีความสุข เปิด 9 แนวทางดันมหา’ลัย ร่วมสร้างอนาคตประเทศ พลิกโฉม อุดมศึกษาไทย
เมื่อวันที่ 11 มกราคม น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดแถลง ผลงาน 3 เดือน พร้อมวางแนวทางอนาคตของ อว.ในการขับเคลื่อนอนาคตของประเทศ ในงาน Future Thailand โดยมีผู้บริหาร อว. อธิการบดี อาจารย์ นักวิจัย กว่า 800 คน เข้าร่วม ที่สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพฯ
น.ส.ศุภมาสกล่าวว่า กว่า 3 เดือนที่ผ่านมา อว.ได้วางแนวทางและขับเคลื่อนแผนงานสำคัญหลายอย่างตรงกับความต้องการของนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ และประชาชน แบ่งได้เป็น 3 ด้านคือ ด้านอุดมศึกษา, ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการแก้ปัญหาประเทศด้วยนวัตกรรม โดยเฉพาะด้านอุดมศึกษามีผลงาน เช่น การลดความเหลื่อมล้ำและกระจายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการยกเว้นค่าสมัครคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือทีแคส ในรอบแอดมิชชั่นทั้ง 10 อันดับ ส่วนในปีต่อไปจะพยายามลดค่าใช้จ่ายในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้น้อยลงและในอนาคตเพื่อให้เด็กเข้าสอบโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย
น.ส.ศุภมาสกล่าวว่า ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีผลงาน เช่น ดาวเทียมของไทย (THEOS-2) รถไฟต้นแบบที่ออกแบบและ ผลิตโดยคนไทย การพัฒนาเทคโนโลยีและ ยกระดับรถ EV สู่อุตสาหกรรม การส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ตอัพ การพัฒนาเทคโนโลยี ส่วนการแก้ปัญหาประเทศด้วยนวัตกรรมมี ผลงาน เช่น นวัตกรรมการจัดการ PM2.5 AI เพื่อคนไทย หรือโอเพนไทยจีพีที ทราฟฟี่ ฟองดูว์ เพื่อแก้ปัญหาประชาชน และนวัตกรรมการจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร
“ขอถือโอกาสนำเสนอแนวทางในการทำงานในอนาคตประกอบด้วย 9 ประเด็นที่น่าสนใจคือ 1.เพิ่มความช่วยเหลือให้นักเรียนได้เข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น อยากเรียนต้องได้เรียน 2.เรียนมีความสุข มีรายได้ระหว่างเรียน ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยมีศูนย์ดูแลสุขภาพเด็ก อยู่แล้ว ให้นักศึกษาได้ระบายความในใจเพื่อช่วยเหลือเด็ก 3.พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสำหรับคนไทยทุกคน จัดทำแอพพลิเคชั่นในการสืบค้นงานวิจัย 4.เตรียมจัดงาน อว.แฟร์ มหกรรมสินค้านวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก จะจัดในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ 5.จัดทำพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมชั้นนำของอาเซียน
6.เดินหน้าหนึ่งอำเภอหนึ่งนวัตกรรม ทำงานร่วมกับทุกมหาวิทยาลัย จัดให้มีศูนย์ อว. 7.เปิดศักราชใหม่อุตสาหกรรมอวกาศไทยต่อยอดคีออส-2
8.อว.ขับเคลื่อนซอฟต์เพาเวอร์ไทย สู่ระดับโลก อัพสกิล รีสกิล พัฒนาทักษะฝีมือในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ และ 9.จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษา และสนับสนุนนักวิจัยและมหาวิทยาลัย และจะพยายามลดระยะเวลาในการพัฒนาทุนเพื่อให้งานวิจัยที่จะเกิดขึ้นมีความทันสมัยและทันเวลา (อ่านรายละเอียดหน้า 2)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานได้มีการเสวนาในหัวข้อ Road to The Future โดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยไทยมีความท้าทายทั้งในประเทศและระดับโลกในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ความรักชาตินิยม ทำให้เกิดสงคราม ความรุนแรง ภาวะโลกร้อน ความเปราะบางของนักศึกษา ทั้งหมดส่งผลต่อการจัดการศึกษาและการใช้ชีวิตในทุกด้าน ทั้งหมดนี้เป็นความท้าทายที่มีผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบ อย่างไรก็ตาม นักศึกษาในปัจจุบันใช้ชีวิตง่ายขึ้น แต่ก็อาจส่งผลให้เด็กเหล่านี้ขาดความอดทนและไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัว และนับวันจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จากนี้ต้องลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง ในส่วนของการจบการศึกษานั้นคงต้องไปดูอาชีพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และกลับไปดูภารกิจของอุดมศึกษาข้อหนึ่งคือการสร้างคนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การสร้างองค์ความรู้ในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องทำให้ได้คือสถาบันอุดมศึกษาต้องเปลี่ยนแปลง หลักสูตรต้องมีความยืดหยุ่น การศึกษาต้องเข้าถึงได้ง่ายทั้งในระบบและนอกระบบ
“อว.ต้องเป็นคนชี้ทิศทางของประเทศว่าควรทำ หรือไม่ควรทำในเรื่องใดที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และสุดท้าย สถาบันอุดมศึกษาไม่ต้องการแข่งขันแค่ภายในประเทศ แต่ต้องช่วยกันพัฒนาเพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติ” ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์กล่าว
ด้าน รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) กล่าวว่า การจัดอันดับโลกจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ที่ผ่านมามุ่งว่าจะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ โดยตั้งเป้าว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศให้ได้ 2% แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย อีกหนึ่งความท้าทายคือจำนวนผู้เข้าเรียนระบบอุดมศึกษาลดลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น รวมถึงความท้าทายในการจัดการศึกษาหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่เน้นการเรียนออนไลน์มากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องเร่งปรับตัว
รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) กล่าวว่า ในยุคดิสรัปชั่นซึ่งเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สิ่งสำคัญที่มหาวิทยาลัยต้องเพิ่มเติมให้กับนักศึกษาคือดิจิทัลสกิล จากง่ายๆ ไปสู่ระบบโค้ดดิ้ง ความคิดในเรื่องการศึกษาของคนเปลี่ยนแปลงไป ไม่เน้นการศึกษาในระบบ ขณะที่การศึกษานอกระบบเข้ามามีส่วนสำคัญมากขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องทำงานเชิงพื้นที่ให้มากขึ้น จัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบลงสู่ชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจ พอเพียง ปรับตัวจัดการศึกษาที่พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง
“มรภ.ทั้ง 38 แห่งได้ถอดบทเรียนจากการบริหารงานจากความท้าทายที่ มรภ.ต้องเผชิญ ซึ่งให้ทราบว่าจะเดินหน้าต่อยอดในส่วนใดได้บ้างในยุคที่มายด์เซตเปลี่ยนแปลงไป ต้นทุนของนักศึกษามีความสำคัญ โดยเฉพาะดิจิทัลสกิล อิงลิชสกิล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้กว้างขึ้น รวมถึงจะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับพื้นที่ ในการสร้างนวัตกร ชุมชน อำเภอ จังหวัด ใช้พื้นที่ชุมชนเป็นห้องปฏิบัติการ ทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต” รศ.มาลิณีกล่าว
ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง อธิการบดีวิทยาลัยเซาธ์ อีสท์บางกอก นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จำนวนเด็กที่น้อยลงถือเป็นความท้าทายของสถาบัน การศึกษาเอกชน ขณะที่อีกความท้าทายหนึ่งคือการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการสถานประกอบการ ซึ่งทุกวันนี้จะเลือกเด็กที่มีทักษะมากกว่า ไม่ได้เลือกจากใบปริญญา ดังนั้น ปริญญาจึงไม่มีความหมาย สิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องปรับคือหลักสูตรให้ทันต่อเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการเรียนช่วงหลังโควิด-19 ที่นักศึกษาติดใจการเรียนออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัย อาจารย์ ต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ ให้เด็กเห็นว่าคุ้มค่าที่มาเรียน เพราะทุกวันนี้ เด็กส่วนมากเกิดการตั้งคำถามว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่มาเรียนเพื่อใบปริญญา เพราะบางคนนั่งอยู่บ้านก็สามารถสร้างรายได้ได้จำนวนมาก สถานประกอบการให้ความสำคัญกับทักษะมากกว่าใบปริญญา ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องทำงานร่วมกับสถานประกอบการ ทั้งในการจัดทำหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการ ตอบโจทย์การศึกษาในอนาคต และตอบโจทย์โลกดิจิทัลที่เกิดขึ้นเร็วมาก