1) หลักการและเหตุผล
เนื่องจาก โรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรเป็นปัจจัยสำคัญหลักในการผลิตที่ต้องใช้ประโยชน์สูงสุด แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือเครื่องจักรกลขัดข้องและเสียบ่อยที่เกิดจากการเลือกใช้ การควบคุม การบำรุงรักษา ใช้เวลาในการซ่อมนาน ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตลดลงและต้นทุนในการผลิตเพิ่มมากขึ้น เครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีลักษณะรูปแบบที่แตกต่างกันในการผลิตและบริการ ประกอบกับเครื่องจักรกลส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศมาใช้ในกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน มีทั้งเครื่องจักรที่ใช้งาน มานานแล้วและเครื่องจักรใหม่ ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่จากบริษัทภาคผู้ผลิต (Suppliers) ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านอุปกรณ์ ชิ้นส่วน อะไหล่ มาใช้ทดแทนของเดิม โดยเฉพาะชิ้นส่วนมาตรฐาน เพื่อช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องจักร ลดการศูนย์เสียเวลาระหว่างการซ่อม และช่วยลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาบุคลากรเพื่ออุตสาหกรรมและปิโตรเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงมีความประสงค์ที่จะจัดโครงการเสวนาเรื่อง “Suppliers ช่วยลดต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรม” ในวันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ Zoom Cloud Meeting โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์มานพ ตันตระบัณฑิตย์ เพื่อเปิดเวทีเสวนาระหว่าง Suppliers กับ Users โดยวิทยากรในการเสวนาจะมีทั้งสิ้น 5 Suppliers ที่มีผลิตภัณฑ์ไม่ซ้ำกันเข้าร่วมวงเสวนาเกี่ยวกับการลดต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรม และผลประโยชน์ที่ฝ่ายอุตสาหกรรมพึงจะได้รับในการจัดอบรมทางวิชาการ เพื่อพัฒนางานอุตสาหกรรม โดยไม่เบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
2) วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่จาก Suppliers
2.2 เพื่อให้ความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับการใช้งานชิ้นส่วน อะไหล่ ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรในอุตสาหกรรม
2.3 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับสถาบันการศึกษา
3) กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม
4) วิทยากร
ทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ จาก บริษัท เอส เค เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ล็อคไทท์ จำกัด บริษัท เวอร์ทัส จำกัด บริษัท ซี.ที.แอล.อินเตอร์ลูบ จำกัด และบริษัท ทีพี เวลท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (Hutchinson)
5) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 Suppliers มีโอกาสให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรม
5.2 ผู้เข้าร่วมเสวนาได้รับความรู้ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เกี่ยวกับการลดต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรมมากขึ้น สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้
5.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา
6) ช่องทางการลงทะเบียน
ลงทะเบียน โดยสแกน QR code
7) ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์พัฒนาบุคลากรเพื่ออุตสาหกรรมและปิโตรเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2549 3086, 0 2549 3090
มือถือ 08 9815 8625, 08 6360 2083
E-mail: skilldevelop@rmutt.ac.th