• บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour
Logo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTT
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • นโยบายและแผนยุทธศาสตร์
    • สัญลักษณ์
    • หอพระพุทธพิริยมงคล
    • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
    • ทำเนียบผู้บริหาร
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2567 – ปัจจุบัน
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2563 – 2566
    • สภามหาวิทยาลัย
    • สภาคณาจารย์และข้าราชการ
    • ลงนามความร่วมมือ (MOU)
  • เรียนออนไลน์
  • นักศึกษา
  • ศึกษาต่อ
  • วิจัย
  • บริการ
  • Download
  • บริการ E-Mail / Wifi
    • บริการระบบ RMUTT Internet Account
    • ลงทะเบียน/Reset Password E-mail
    • อาจารย์และบุคลากร
    • นักศึกษา
    • โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมฯ
  • ITA
    • ITA 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ปี 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (EIT) ปี 2568
    • กิจกรรม ITA 2568
    • ITA 2562-2567
✕

ต่อยอดและประยุกต์องค์ความรู้

  • Home
  • ข่าวจากสื่อ นักศึกษา : ข่าวจากสื่อ
  • ต่อยอดและประยุกต์องค์ความรู้
ทีม “MEC_T” มทร.ธัญบุรีแชมป์ “Wheel Share Journey” “รถเข็นคนพิการ” เพื่อการท่องเที่ยว
9 พฤศจิกายน 2019
มทร.ธัญบุรีผุดแล็บปั้นกำลังคนรองรับ5G
11 พฤศจิกายน 2019
Published by ณิชานันท์ โชคสิริจินดารัตน on 9 พฤศจิกายน 2019
Categories
  • นักศึกษา : ข่าวจากสื่อ
  • นักศึกษา : ข่าวล่าสุด
  • นักศึกษา : งานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์
Tags
  • Soft Skill
  • กระดาษจากตะไคร้
  • นวัตกรรมเพื่อชุมชน
  • ประยุกต์องค์ความรู้
  • ปุ๋ยอัดเม็ดจากฟางข้าว
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สกัดจากกะเพรา

ต่อยอดและประยุกต์องค์ความรู้

 

พัฒนา 3 นวัตกรรมเพื่อชุมชน
การต่อยอดและประยุกต์องค์ความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมสู่ชุมชน เป็นการบูรณาการการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนบ้านแสนสุขสกัดห้า หมู่ 5 ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นห้องเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมของนักศึกษารายวิชาเลือกเสรี “นวัตกรรมเพื่อชุมชน” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
3 นวัตกรรมชุมชน ที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ เป็นไปตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งประกอบด้วย ปุ๋ยอัดเม็ดจากฟางข้าว, กับดักแมลงวันทองชีวภาพ โดยการใช้สารสกัดจากกะเพรา และ กระดาษจากตะไคร้ นางสาวหทัยนุช วงษ์ขำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการผลิตพืช ตัวแทนกลุ่ม “ปุ๋ยอัดเม็ดจากฟางข้าว” บอกว่า ชุมชนมีการทำนา หลังจากทำนามีฟางข้าว โดยชาวนาจะเผาทิ้ง สร้างมลพิษ ทำให้โลกร้อน โดยจากการศึกษาพบว่า ฟางข้าวเป็นหัวเชื้อปุ๋ยชั้นดี ฟางข้าว 1 ส่วน เท่ากับมูลวัว 10 ส่วน ทางกลุ่มจึงได้คิดค้นสูตรปุ๋ยอัดเม็ดจากฟางข้าวขึ้นมา สามารถนำมาใช้กับพืชผลทางการเกษตร ลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย ซึ่งสูตรปุ๋ยเป็นสูตรที่เคยเรียนในวิชาเรียน ขั้นตอนในการทำปุ๋ย คือ นำฟางข้าวและมูลสัตว์ มาวางสลับชั้นกัน ความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำที่ผสมจุลินทรีย์ช่วยการย่อย รดทุกวัน หากพื้นที่ชื้นและร่มสามารถรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง คลุมด้วยพลาสติกทึบ เมื่อปุ๋ยย่อยจนละเอียดนำไปตากแดดฆ่าเชื้อ 1-2 วัน นำมาอัดขึ้นรูปอัดเม็ดและบรรจุภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการใช้งาน เก็บรักษาได้ง่าย ต่อยอดนำปุ๋ยอัดเม็ดจากฟางข้าวไปจัดจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนต่อไป

นางสาวอติวัณณ์ สุดใจดี นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาการผลิตพืช ตัวแทนกลุ่ม “กับดักแมลงวันทองชีวภาพ โดยการใช้สาร สกัดจากกะเพรา” กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ ชาวบ้านบอกว่า แมลงวันทองเป็นศัตรูตัวสำคัญในสวนกล้วยและไม้ผล เข้าไปวางไข่ทำลาย เนื้อในของพืชผล จึงได้ศึกษาข้อมูลการกำจัดแมลงวันทอง ส่วนใหญ่ใช้การวางกับดักโดยใช้ ฟิโรโมนเป็นตัวล่อ และจากการสำรวจกะเพราเป็นวัตถุดิบในพื้นที่มีจำนวนมาก ซึ่งกะเพรามีกลิ่นเฉพาะตัว สามารถนำมาใช้เป็นฟิโรโมนแมลงวันทอง จึงนำใบกะเพรามาสกัด โดยหมักกับแอลกอฮอล์ ทิ้งไว้ 7 วัน ส่วนกับดักใช้ขวดพลาสติก เจาะรูข้างขวด เป็นรูปสามเหลี่ยม ไม่ต้องใหญ่มาก ใช้ลวดเจาะรูบนฝาขวด สอดลวดเข้าไปในรูแล้วขดลวดบริเวณใต้ฝาและบนฝา เพื่อยึดไม่ให้ลวดขยับ นำสำลีที่ชุบสารสกัดกะเพรามาเกี่ยวลวด จากนั้นนำไปแขวนตามจุดที่ต้องการดักแมลงวันทอง
ด้าน นายกิตติชัย พุ่มไม้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวแทนกลุ่ม “กระดาษจากตะไคร้” บอกว่า มีแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าของตะไคร้ ซึ่งมีราคาถูกและมีจำนวนมากในชุมชน เป็นที่มาของแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก ตะไคร้ โดยการนำตะไคร้ทั้งส่วนของลำต้น และใบมาทำเป็นกระดาษ กระบวนการในการทำไม่ยุ่งยาก ชาวบ้านในชุมชนสามารถทำได้ ลักษณะของกระดาษตะไคร้มีกลิ่นเฉพาะตัว สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ เช่น โคมไฟ เป็นในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยและสามารถนำไปใช้งานได้จริง สร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าในวัตถุดิบในชุมชน เป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของชุมชนด้วย
นายวิรัช โหตระไวศยะ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าว ว่า การเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนชุมชนเป็นแหล่ง ในการค้นคว้า เรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ ได้เห็นสภาพชุมชนที่แท้จริง ปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ ความต้องการของชุมชนมาเป็นโจทย์ให้นักศึกษา มาพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน นอกจากนั้นนักศึกษาได้บูรณาการเชื่อมโยงข้ามศาสตร์องค์ความรู้ต่าง ๆ ปลาย ทางได้รู้การทำงานเป็น ทีม Soft Skill ความมีน้ำใจ ความเอื้ออาทรต่อสังคม เพราะฉะนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงได้สร้างรายวิชาใหม่ขึ้นมา คือ วิชานวัตกรรมเพื่อชุมชน โดยมีหน่วยกิตเรียนทั้งหมด 3 หน่วยกิต เรียนในห้องเรียน 20% และอีก 80% ลงชุมชน เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ของชุมชน โดยได้เปิดทำการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2562 เป็นปีแรก
เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้ชุมชนเป็นห้องเรียน ผ่านกระบวนการคิดในเชิงนวัตกรรม กระบวน การมีส่วนร่วม ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน.

 

Template file :: download-button does not exist!
Share
0
ณิชานันท์ โชคสิริจินดารัตน
ณิชานันท์ โชคสิริจินดารัตน

Related posts

22 พฤษภาคม 2025

ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 กิจกรรม “Student Life RMUTT 2025”


Read more
14 พฤษภาคม 2025

“สาระ” และ “ภาษา” เชือกเกลียวเส้นหนาที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมระหว่าง “ผู้คน”


Read more
9 เมษายน 2025

“Wellness Talk” สาระดี ๆ ที่จะทำให้คุณรัก และเข้าใจสุขภาพตัวเองได้ง่ายกว่าที่เคย


Read more
27 กุมภาพันธ์ 2025

3 ช่องทางการรับและจัดการเรื่องร้องเรียน “กองกฏหมาย” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


Read more

Comments are closed.

สร้างและพัฒนาโดย.ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Rajamangala University of Technology Thanyaburi
ที่อยู่ : 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ติดต่อเรา

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน :
     Facebook :@oregrmutt
     Website :www.oreg.rmutt.ac.th
     E-mail : oreg@rmutt.ac.th

กองประชาสัมพันธ์ :
     E-mail : rmutt_news@rmutt.ac.th

ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ :
     Facebook :@WeblogRMUTT

  • โครงการ RMUTT INNOVATIVE STARTUP 2025 กิจกรมที่ 2 Startup – Concept Ideas Pitching23 พฤษภาคม 2025
  • รศ.รัตนฤทธิ์ จันทรรังสี ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ธัญบุรี นำทีมสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)22 พฤษภาคม 2025
  • สถานีวิทยุกระจายเสียง มทร.ธัญบุรี หารือ มทร.ตะวันออก แลกเปลี่ยนแนวทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและงานวิจัยในเครือข่ายราชมงคล22 พฤษภาคม 2025
  • ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 กิจกรรม “Student Life RMUTT 2025”22 พฤษภาคม 2025

แผนที่การเดินทางมา มหาวิทยาลัยฯ

Copyright © 2022 Rajamangala University of Technology Thanyaburi
  • บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour