• บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour
Logo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTT
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • นโยบายและแผนยุทธศาสตร์
    • สัญลักษณ์
    • หอพระพุทธพิริยมงคล
    • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
    • ทำเนียบผู้บริหาร
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2567 – ปัจจุบัน
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2563 – 2566
    • สภามหาวิทยาลัย
    • สภาคณาจารย์และข้าราชการ
    • ลงนามความร่วมมือ (MOU)
  • เรียนออนไลน์
  • นักศึกษา
  • ศึกษาต่อ
  • วิจัย
  • บริการ
  • Download
  • บริการ E-Mail / Wifi
    • บริการระบบ RMUTT Internet Account
    • ลงทะเบียน/Reset Password E-mail
    • อาจารย์และบุคลากร
    • นักศึกษา
    • โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมฯ
  • ITA
    • ITA 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ปี 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (EIT) ปี 2568
    • กิจกรรม ITA 2568
    • ITA 2562-2567
✕

‘สสว.’จับมือสถานศึกษาปั้นอุตฯสมุนไพร

  • Home
  • ข่าวจากสื่อ ข่าวหนังสือพิมพ์
  • ‘สสว.’จับมือสถานศึกษาปั้นอุตฯสมุนไพร
ภาพข่าว: ภาคภูมิใจ
8 กันยายน 2018
มทร.พิชิต! รางวัลใหญ่ คิดโรงเพาะ ‘เห็ดถั่งเช่า’
9 กันยายน 2018
Published by อัจฉริณี บัวเข็ม on 8 กันยายน 2018
Categories
  • ข่าวหนังสือพิมพ์
Tags
  • กรุงเทพธุรกิจ
  • มทร.ธัญบุรี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สถานศึกษา
  • สมุนไพร
  • สสว
  • อุตสาหกรรม
  • เศรษฐกิจ

        กรุงเทพธุรกิจ “สสว.” ร่วมมือกับ มทร.ธัญบุรี เดินหน้าพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพร 9 เครือข่าย รวมกว่า 899 ราย ปั้นผู้ผลิตที่มีนวัตกรรมใหม่กว่า 60 ราย
นายประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) กล่าวว่า มทร.ธัญบุรี ได้ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและ สนับสนุน เอสเอ็มอี ในกลุ่มธุรกิจสมุนไพรครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำ (ผู้ปลูก) กลางน้ำ (ผู้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์) และปลายน้ำ (ผู้จำหน่าย) รวมถึงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในท้องที่ของแต่ละจังหวัด เป็น คลัสเตอร์ หรือเครือข่ายที่มีความครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศ

         โครงการนี้มีความต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 นำร่อง 9 จังหวัด คือ เครือข่ายชีววิถีน้ำเกี๋ยน (จ.น่าน) เครือข่ายไพรสบปราบ (จ.ลำปาง) เครือข่ายไพรสองแคว (จ.พิษณุโลก) เครือข่าย ภูมิพรรณไพร (จ.สระบุรี) เครือข่ายจันท์พันไพร (จ.จันทบุรี) เครือข่ายไพรเมืองย่า (จ.นครราชสีมา) เครือข่ายไพรร้อยแก่นสารสินธุ์ (จ.ขอนแก่น) เครือข่ายศรีพนมไพร (จ.นครพนม) และเครือข่ายนักษัตรนครไพร (จ.นครศรีธรรมราช)
โดยกิจกรรมคลัสเตอร์สมุนไพร ปีที่ 2 ประกอบด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการ และเกษตรกรที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร มุ่งเน้นการบริหารจัดการร่วมกัน แบบเครือข่าย โดยมีสมาชิกที่เป็นกลุ่มต้นน้ำ กลุ่มกลางน้ำ และกลุ่มปลายน้ำ รวมทั้งหมดกว่า 899 ราย รวมถึงผู้ประสานงานเครือข่าย หรือแกนนำคลัสเตอร์กว่า 36 ราย
ขณะเดียวกันยังสร้างนวัตกรรมด้านการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการกว่า 60 ราย ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างขอสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และยังมีผู้สนับสนุนส่งเสริมเข้ามาส่งเสริมร่วมสร้างความ เข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการอีกหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด รวมถึงสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
นอกจากนี้ ยังสร้างโอกาสในการแข่งขัน ทั้งในและต่างประเทศ โดยผลักดันและส่งเสริมให้ร่วมจัดแสดงสินค้าและทำ Business Matching ซึ่งในประเทศได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ส่วนใน ต่างประเทศ ได้จัดให้มีการร่วมแสดงสินค้า ในงาน Hotel Asia Maldives Exhibition & International Culinary Challenge 2018 พร้อมด้วยกิจกรรม Business Matching ณ ประเทศมัลดีฟส์ เพื่อกระจายสินค้าไปยัง ประเทศอื่นๆ เช่น ศรีลังกา อินเดีย รวมถึงยุโรป
“การพัฒนาเครือข่ายหรือคลัสเตอร์สมุนไพร ในปี 2561 สามารถทำให้ผู้เข้าร่วม โครงการได้รับการพัฒนาอย่างเข้มข้นบนหลักการ “นวัตกรรมนำงานวิจัย” และกำลังอยู่ในช่วง ของการดำเนินการจัดตั้ง คลัสเตอร์สมุนไพรแห่งชาติเพื่อเตรียมการในการก้าวสู่ Social Enterprise Company ต่อไป”

Share
2
อัจฉริณี บัวเข็ม
อัจฉริณี บัวเข็ม

Related posts

28 พฤษภาคม 2025

เทคโนโลยีล้ำสมัยและโลกที่ก้าวไกลไปกับ “COMTODAY”


Read more
29 เมษายน 2025

“เปิดประตูสู่มิติใหม่กับการใส่ใจมิติสุขภาพ”


Read more
26 มีนาคม 2025

“มรดกไทย” และสิ่งที่เห็นไม่ได้เป็นความ “ธรรมดา”


Read more
11 กุมภาพันธ์ 2025

“Total Sound Magazine” บทเพลงและเสียงนี้ที่มีมากกว่า “ความหมาย”


Read more

Comments are closed.

สร้างและพัฒนาโดย.ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Rajamangala University of Technology Thanyaburi
ที่อยู่ : 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ติดต่อเรา

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน :
     Facebook :@oregrmutt
     Website :www.oreg.rmutt.ac.th
     E-mail : oreg@rmutt.ac.th

กองประชาสัมพันธ์ :
     E-mail : rmutt_news@rmutt.ac.th

ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ :
     Facebook :@WeblogRMUTT

  • Esperienze unite su tablet27 กรกฎาคม 2025
  • มทร.ธัญบุรี หารือร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เดินหน้าจัดตั้ง “AI Center for SME”25 กรกฎาคม 2025
  • มทร.ธัญบุรี โชว์ศักยภาพ นำผลงานวิจัยและแฟชั่นโชว์ร่วมงาน Pathum Innotech Expo 2025 ยกระดับสินค้าศักยภาพปทุมธานี24 กรกฎาคม 2025
  • ขอเชิญชวน ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานพิเศษเงินรายได้ (สายผู้สอนและสายสนับสนุน) สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี24 กรกฎาคม 2025

แผนที่การเดินทางมา มหาวิทยาลัยฯ

Copyright © 2022 Rajamangala University of Technology Thanyaburi
  • บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour