• บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour
Logo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTT
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • นโยบายและแผนยุทธศาสตร์
    • สัญลักษณ์
    • หอพระพุทธพิริยมงคล
    • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
    • ทำเนียบผู้บริหาร
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2567 – ปัจจุบัน
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2563 – 2566
    • สภามหาวิทยาลัย
    • สภาคณาจารย์และข้าราชการ
    • ลงนามความร่วมมือ (MOU)
  • เรียนออนไลน์
  • นักศึกษา
  • ศึกษาต่อ
  • วิจัย
  • บริการ
  • Download
  • บริการ E-Mail / Wifi
    • บริการระบบ RMUTT Internet Account
    • ลงทะเบียน/Reset Password E-mail
    • อาจารย์และบุคลากร
    • นักศึกษา
    • โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมฯ
  • ITA
    • ITA 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ปี 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (EIT) ปี 2568
    • กิจกรรม ITA 2568
    • ITA 2562-2567
✕

จัดติวเข้มธุรกิจพืชสมุนไพร เสริมความรู้สมาชิกสหกรณ์

  • Home
  • ข่าวจากสื่อ ข่าวหนังสือพิมพ์
  • จัดติวเข้มธุรกิจพืชสมุนไพร เสริมความรู้สมาชิกสหกรณ์
รับสมัครนักศึกษา วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อากาศยาน
4 มิถุนายน 2018
บัณฑิตพันธุ์ใหม่ เรียนอะไรถึงจะมีงานทำ
5 มิถุนายน 2018
Published by อัจฉริณี บัวเข็ม on 5 มิถุนายน 2018
Categories
  • ข่าวหนังสือพิมพ์
Tags
  • 2018
  • RMUTT
  • การบริหารจัดการธุรกิจ
  • การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
  • ติวเข้ม
  • นวัตกรรมและงานวิจัย
  • มทร.ธัญบุรี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ราชมงคล
  • วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย
  • สมุนไพร
  • ไทยโพสต์

ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2561
มทร.ธัญบุรี นำคณาจารย์ลงพื้นที่ติวเข้มสมุนไพรให้กับสมาชิกสหกรณ์การเกษตรสบปราบ เพื่อสร้างคลัสเตอร์สมุนไพร นำร่องขับเคลื่อนใน จังหวัดลำปาง
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มอบหมายให้ มทร.ธัญบุรี สานต่อกิจกรรมคลัสเตอร์สมุนไพร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่ายเอสเอ็มอีในปี 2561 เพื่อยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและเกษตรกรในกลุ่มสมุนไพร โดยพัฒนาเครือข่ายเดิมในปีแรกให้เติบโตและมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น ตามกระบวนการพัฒนาคลัสเตอร์สู่ปีที่ 2 และพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพรใหม่อีก 3 คลัสเตอร์ คือ จังหวัดน่าน ลำปาง และนครพนม
น.ส.พรทิพย์ ตันติวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมคลัสเตอร์สมุนไพรในปี 2561 จะเน้นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมและงานวิจัยมาใช้เป็นแนวทางหลักเพื่อการพัฒนาทั้งในส่วนของการปลูก กระบวนการผลิต การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและการบริหารจัดการธุรกิจ รวมถึงให้คำปรึกษาเชิงลึกและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ของกิจการให้ตรงกับความต้องการของตลาด สำหรับจังหวัดลำปางมีการเปิดโครงการอบรมเติมความรู้และให้คำปรึกษาเชิงลึก ณ สหกรณ์การเกษตรสบปราบ อำเภอ
สบปราบ โดยคณาจารย์จากวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย และคณะเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ธัญบุรี
นายสมาน สุภัควาณิชย์ ผู้อำนวยการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสำนักงานสหกรณ์ จังหวัดลำปาง กล่าวถึงกิจกรรมคลัสเตอร์สมุนไพรครั้งนี้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากในพื้นที่อำเภอสบปราบมีพืช
สมุนไพรอยู่มากมาย เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นการที่ มทร.ธัญบุรีจัดโครงการนี้นับว่าเป็นการช่วยยกระดับการปลูกพืชสมุนไพรของจังหวัดลำปางให้มีคุณภาพ มีเส้นทางในการดำเนินธุรกิจต่อไป รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริมเพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพเพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกมีรายได้เพิ่มขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงขยายผลต่อไปในอำเภออื่นๆ ในจังหวัดลำปาง
ขณะที่ นางกรรณิกา เรืองสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกรมส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรสบปราบ กล่าวว่า การพัฒนาและสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบดังเช่นโครงการนี้จะทำให้สมาชิกสหกรณ์ฯ เกิดความรู้เรื่องสมุนไพรในมุมมองใหม่ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ในระดับครัวเรือน ขยายผลสู่การแปรรูปเพื่อจัดจำหน่ายในท้องถิ่น จังหวัดและประเทศต่อไป หวังว่าเครือข่ายสมุนไพรที่จะเกิดขึ้นนี้ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร สหกรณ์การเกษตรสบปราบจะเป็นแกนนำในการรับโครงการเพื่อขับเคลื่อนในจังหวัดลำปางต่อไป
นายวิสิทธิ์ สิทธิ ผู้ปลูกสมุนไพรและจำหน่ายลูกประคบสมุนไพร บอกว่า เป็นโอกาสดีที่หลายหน่วยงานร่วมมือกันเพื่อสร้างให้เกิดเครือข่ายสมุนไพร โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจาก มทร.ธัญบุรี ตนอยากเห็นเกษตรกรอยู่ดีกินดี ปลูกสมุนไพรแล้วมีตลาดรองรับ ส่วนผู้แปรรูปสมุนไพรนั้นมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อมาพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ขณะที่ผู้บริโภคคนไทยก็สามารถซื้อหามาใช้ในราคาที่น่าพอใจ อยากให้สมุนไพรไทยมีคุณภาพควบคู่กับการวิจัยและพัฒนาเพื่อจะได้รับความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น

Share
0
อัจฉริณี บัวเข็ม
อัจฉริณี บัวเข็ม

Related posts

29 เมษายน 2025

“เปิดประตูสู่มิติใหม่กับการใส่ใจมิติสุขภาพ”


Read more
26 มีนาคม 2025

“มรดกไทย” และสิ่งที่เห็นไม่ได้เป็นความ “ธรรมดา”


Read more
11 กุมภาพันธ์ 2025

“Total Sound Magazine” บทเพลงและเสียงนี้ที่มีมากกว่า “ความหมาย”


Read more
14 มกราคม 2025

เท่าทันมิจฉาชีพออนไลน์ได้จากรายการ “RMUTT NEWS พิกัดข่าวเด่น”


Read more

Comments are closed.

สร้างและพัฒนาโดย.ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Rajamangala University of Technology Thanyaburi
ที่อยู่ : 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ติดต่อเรา

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน :
     Facebook :@oregrmutt
     Website :www.oreg.rmutt.ac.th
     E-mail : oreg@rmutt.ac.th

กองประชาสัมพันธ์ :
     E-mail : rmutt_news@rmutt.ac.th

ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ :
     Facebook :@WeblogRMUTT

  • บันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี15 พฤษภาคม 2025
  • สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ให้แก่บุคลากร มทร.ธัญบุรี15 พฤษภาคม 2025
  • สภาคณาจารย์และข้าราชการ มทร.ล้านนา ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านสภาคณาจารย์และข้าราชการ14 พฤษภาคม 2025
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รับสมัครเลือกตั้งกรรมการบริหารกองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย14 พฤษภาคม 2025

แผนที่การเดินทางมา มหาวิทยาลัยฯ

Copyright © 2022 Rajamangala University of Technology Thanyaburi
  • บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour