ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. 2566
โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศกำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้บุคลากรนักศึกษา นักเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญรี ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสาธารณชนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการจัดการและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้การบริหารราชการและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗(๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. ๒๕๖๖ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ดูประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
เมื่อคุณเข้าชมเว็บเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเกี่ยวกับคุณ การตั้งค่าของคุณ อุปกรณ์ของคุณ หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่คุณต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของคุณได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น คุณสามารถปฏิเสธไม่ให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ คลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นของเรา อย่างไรก็ตาม คุณควรทราบว่าการบล็อกคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เรามีให้ใช้งาน
คุกกี้เหล่านี้จำเป็นสำหรับการทำงานกับเว็บเว็บไซต์ และไม่สามารถปิดการใช้งานในระบบของเราได้ ...
และโดยปกติแล้ว คุกกี้เหล่านี้จะถูกกำหนดไว้เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการร้องขอบริการของคุณ เช่น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การเข้าสู่ระบบ หรือการกรอกแบบฟอร์ม คุณสามารถกำหนดให้เบราว์เซอร์ของคุณทำการบล็อก หรือเตือนให้คุณทราบเกี่ยวกับคุกกี้เหล่านี้ แต่นั่นอาจทำให้บางส่วนของเว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้
.
No cookies to display.
คุุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราสามารถนับการเข้าชมและแหล่งที่มาของการเข้าชม...
เพื่อให้เราสามารถวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของเราได้ พวกเขาช่วยให้เราทราบว่าหน้าใดเป็นที่นิยมมากที่สุดและน้อยที่สุด และดูว่าผู้เยี่ยมชมย้ายไปรอบ ๆ เว็บไซต์อย่างไร ข้อมูลทั้งหมดที่คุกกี้เหล่านี้รวบรวมจะถูกรวบรวมและไม่ระบุชื่อ หากคุณไม่อนุญาตคุกกี้เหล่านี้ เราจะไม่ทราบว่าคุณได้เยี่ยมชมเว็บเว็บไซต์ของเราเมื่อใด และจะไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของคุกกี้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยในการทำงานของเว็บไซต์และการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะกับผู้ใช้...
เช่น วิดีโอและการสนทนาสด คุกกี้เหล่านั้นอาจได้รับการกำหนดโดยเราหรือผู้ให้บริการจากบริษัทอื่นที่เราได้เพิ่มบริการของพวกเขาลงในหน้าเพจ หากคุณไม่อนุญาตให้คุกกี้เหล่านี้ทำงาน ฟังก์ชันบางอย่างของเว็บไซต์อาจทำงานไม่ถูกต้อง
Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.
No cookies to display.
แนวหน้า ฉบับวันที่ 02 เมษายน พ.ศ. 2561
อารยธรรมของมนุษย์นั้น “พลังงาน” เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ยิ่งมนุษย์พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกไปมาก ยิ่งต้องหาพลังงานมาใช้มากขึ้น ปัจจุบันพลังงานที่มนุษย์นำมาใช้หลักๆ คือ “น้ำมัน- ก๊าซธรรมชาติ” ตั้งแต่ในโรงไฟฟ้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่บ้านเรือนและภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงเป็นเชื้อเพลิง ในยวดยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ แต่ขณะเดียวกัน ด้วยความที่กังวลกันว่าเชื้อเพลิงชนิดดังกล่าว “อาจหมดไปจากโลก ในอนาคตไม่ช้าก็เร็ว” ทำให้มนุษย์ต้องเร่งหาแหล่งพลังงานอื่นๆ มาทดแทนเพื่อลดการใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติลง
“การบริโภคพลังงานของโลก เพิ่มขึ้นทุกปี โดยทุก 30 ปีเพิ่มเป็นเท่าตัว หากค้นพบพลังงานเพิ่มได้ 10 เท่า แต่ยัง บริโภคเหมือนเดิม เราจะมีใช้ได้อีก 100 ปี”เป็นคำกล่าวของ รศ.ดร.บุญยัง ปลั่งกลางศูนย์วิจัยระบบพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (คลอง 6 ปทุมธานี) ในการเสวนาเรื่อง “พลังงานชุมชน สร้างอนาคตพลังงานไทยอย่างยั่งยืน” ภายในงาน “สานพลังชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งสู่เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 ซึ่งจัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อเร็วๆ นี้
อาจารย์บุญยัง กล่าวต่อไปว่า ปี 2559 ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าสูงสุดวันที่ 11 พ.ค. 2559 คิดเป็น 3 หมื่นเมกะวัตต์ (MW) ขณะที่ผลิตได้ 4 หมื่น MW หรือสรุปง่ายๆ “ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงใกล้เคียง กับความสามารถในการผลิตได้” ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่หน่วยงานภาครัฐพยายามจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ๆ ขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงทางพลังงาน ทว่าก็ต้อง พบกับการคัดค้านจากประชาชน เนื่องด้วย ภาคประชาชนนั้นเห็นว่า “บางส่วนมีทางเลือกอื่น” หรือการนำ “พลังงานทดแทน” มาใช้ ซึ่งในหลายพื้นที่ก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจ อาทิ
“โรงพยาบาลจะนะ” อ.จะนะ จ.สงขลา ที่นี่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และแปลงแสงแดดมาใช้ทดแทนไฟฟ้าบางส่วน ในช่วงกลางวัน โดยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลแห่งนี้ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจเล่าว่า แม้ รพ.จะนะ เพิ่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ไป 68 แผ่น ผลิตไฟฟ้าได้ 20 กิโลวัตต์ เมื่อ 3-4 เดือนก่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งครั้งแรกประมาณ 8 แสนบาท ที่ยังไม่รวมค่าแรงช่าง และคาดว่ากว่าจะคุ้มทุนคงใช้เวลาอีกราว 6 ปี
แต่ผลที่ได้พบว่า ลดค่าใช้จ่าย ในการใช้ไฟฟ้าลงในเดือนแรก 3.5 หมื่นบาท และเดือนที่สองประหยัดได้เพิ่มขึ้นเป็น 5.4 หมื่นบาท ได้ผลดีกว่าการทำเพียงประหยัดพลังงานอย่างเดียว ซึ่งการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาเสริมนั้นทำควบคู่ไปกับการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศบางตัว เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน และสลับการใช้เครื่องมือแพทย์ไม่ให้ทำงานพร้อมกัน ทำให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างยืดหยุ่น ในวันที่แดดแรงก็ใช้พลังงาน แสงอาทิตย์เพราะผลิตพลังงานได้มาก วันไหนแดดไม่แรงมีเมฆมากก็ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าตามปกติ โดยไม่มีปัญหาไฟตก
“ลูกน้องบอกเมื่อก่อนหมอให้ประหยัดไฟปิดแอร์ เดี๋ยวนี้ไม่ต้อง เขาประหยัดเองโดยอัตโนมัติ เพราะผลิตเอง สิ่งที่อยากบอกทุกท่านคือ อยากให้ลองๆ แสงอาทิตย์มีความมหัศจรรย์มากจริงๆ ก่อนหน้านี้เราคิดแต่ประหยัดไฟ กดดันกันเองในโรงพยาบาล ไม่เปิดแอร์ พิสูจน์ว่าไม่ได้ผล โลกมันร้อน ทำงานกันไม่ไหว พอเราเปลี่ยนวิธีคิด เมื่อประหยัดไม่ไหวก็หาวิธีสร้างพลังงาน ติดแผงโซลาร์ ดีกว่า” นพ.สุภัทร ระบุจากใต้ขึ้นไปเหนือ เป็นที่ทราบกันดี ว่าต้นปีทีไรภาคเหนือมีปัญหา “หมอกควัน- ไฟป่า-ฝุ่นละออง” เป็นเทศกาลประจำ สาเหตุ สำคัญมาจากการ “เผาเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร” แม้ระยะหลังๆ ภาครัฐส่วนท้องถิ่นจะทั้งรณรงค์ทั้งจับปรับกันจริงๆ จังๆ แต่ปัญหาก็แทบไม่ได้ลดลง ซึ่งอีกมุมก็เข้าใจและเห็นใจ “หากไม่มีวิธีอื่น ที่ถูกและคุ้มค่ากว่า” ชาวบ้านเขาก็ยังคงจะเผาต่อไป
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ปงเตา อ.งาว จ.ลำปาง ในอดีตก็เป็น ส่วนหนึ่งที่ร่วมก่อมลพิษด้วยเช่นกัน เพราะ ที่นี่มีโรงงานแปรรูปจากไม้ไผ่ 10 แห่ง สำหรับทำเป็นตะเกียบ ไม่จิ้มฟัน ไม้ปิ้งปลาดุก แปรรูปได้ 150 ลำ/โรง/วัน หรือ 1,800 กก./โรง/วัน โดยไม้เศษเหลือทิ้งจำนวนมากถูกนำไปกำจัดด้วยการเผา ทำให้เกิดควันก๊าซอันตราย เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ มลพิษที่ก่อขึ้นได้ย้อนกลับไปสู่คนในพื้นที่ที่อาศัยทำมาหากินกับโรงงานนี้เอง เพราะหลายคนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ
ปิยะสันต์ ปัญจขันธ์ วิศวกรโยธา อบต.ปงเตา เล่าว่า ไม้ถูกนำมาแปรรูปใช้จริงเพียงร้อยละ 12 เท่านั้น ส่วนอีกร้อยละ 88 เป็นเศษไม้เหลือทิ้ง ก่อนหน้านี้ชาวบ้านมักนำไปเผากันตอนกลางคืน และเริ่มปรากฏจำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2554 ทาง อบต. จึงนำปัญหาไปปรึกษากับ 2 สถาบันการศึกษาในพื้นที่และใกล้เคียง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางกับมหาวิทยาลัยพะเยา รวมถึงที่สำนักงานพลังงานจังหวัดลำปาง ได้ข้อสรุปว่า “ถ่านอัดแท่ง” คือทางออก นำไปสู่การหารือร่วมกับชุมชน และเห็นพ้อง กันว่าจะเดินหน้าไปในทิศทางนี้
การดำเนินงานของกลุ่มถ่านอัดแท่ง ชาวชุมชนต้องซื้อหุ้นโดยขายหุ้นละ 100 บาท ผู้เข้าร่วมจะได้สิทธิดังนี้ 1.สามารถยืมถังซึ่งเป็นอุปกรณ์ขั้นต้นในการผลิตถ่านไปใช้ 2.กลุ่มรับซื้อถ่านราคา 3 บาท/กก. 3.กลุ่มรับซื้อเศษไม้ราคา 50 สตางค์/กก. 4.ปลายปีมีเงินปันผลหุ้นให้ 5.หากกลุ่มมีเงินหมุนเวียนมากพอ จะจัดสวัสดิการให้สมาชิก การทำเช่นนี้ทำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม เกิดความหวงแหนไม่เผาเศษไม้เพราะสามารถนำของเหลือทิ้งมาเป็นพลังงานได้
“สมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มทำถ่านอัดแท่ง จากไม้ไผ่ สามารถยืมอุปกรณ์ไปใช้ โดยมี เงื่อนไขว่าทุก 1 เดือน ต้องส่งผงถ่านให้กลุ่ม 100 กก. และกลุ่มรับซื้อในราคา กก. 3 บาท จากโครงการดังกล่าวทำให้การเผาเศษไม้ไผ่ในชุมชนลดลง เพราะตอนนี้เศษไม้ไผ่ไม่ใช่เศษขยะอีกต่อไป หากแต่เป็นวัตถุดิบสำหรับนำมาผลิตถ่าน รายที่ไม่ทำถ่านก็ขายเป็นเศษไม้ มีผู้รับซื้อ กก.ละ 50 สตางค์” ปิยะสันต์ ระบุ
วิศวกรประจำ อบต.ปงเตา กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีการเผาถ่านจากเศษไม้ไผ่เหลือใช้ประมาณ 15 ตัน/วัน ผลิตเป็นถ่านได้ 700 กก./วัน ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของตลาด แต่โดยศักยภาพ ของอุปกรณ์ที่มี ทำให้กลุ่มผลิตได้เพียงปริมาณข้างต้น และจำหน่ายในลักษณะ สั่งสินค้าล่วงหน้า (Pre-Order) จ้างสมาชิกทำให้ค่าแรงวันละ 300 บาท เตาเผาเต็มประสิทธิภาพ ส่วนเศษไม้ไผ่ที่เหลือ เราบอกชาวบ้านว่าไม่ต้องเผา และติดต่อให้คนมาซื้อ
“ถ่านอัดแท่งขายส่ง กก.ละ 12 บาท ทางกลุ่มขายปลีก กก.ละ 15-20 บาท ประสิทธิภาพของถ่านอัดแท่งดีกว่าถ่านทั่วไป สมมติถ่านถั่วไปใช้เผาได้ 1 ชั่วโมง ตัวนี้ใช้ได้ 3 ชั่วโมง แต่ราคาจะสูงกว่า นิดหน่อย สิ่งที่ อบต.ทำเพื่อจะบอกว่า ยังมีพลังงานจากแหล่งอื่น ซึ่งไม่ใช่แก๊ส หรือไฟฟ้า” ปิยะสันต์ กล่าวทิ้งท้ายอนึ่ง..นอกเหนือจากการประหยัดพลังงาน-ลดมลพิษแล้ว ทั้ง 2 กรณียังพบจุดที่เหมือนกันคือ “เป็นโครงการที่ริเริ่มกันเองในพื้นที่” ไม่ใช่มาจากการสั่งการ จากส่วนกลาง โครงการลักษณะนี้จุดเด่นคือ “คนทำเป็นคนในพื้นที่ และคนในพื้นที่ รู้ปัญหาดีที่สุด” อีกทั้ง “รู้สึกเป็นเจ้าของ” จึงดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากแนวคิดแบบนี้ได้รับการขยายผลไปทั่วประเทศ..คงจะดีไม่น้อย!!!