ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. 2566
โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศกำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้บุคลากรนักศึกษา นักเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญรี ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสาธารณชนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการจัดการและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้การบริหารราชการและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗(๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. ๒๕๖๖ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ดูประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
เมื่อคุณเข้าชมเว็บเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเกี่ยวกับคุณ การตั้งค่าของคุณ อุปกรณ์ของคุณ หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่คุณต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของคุณได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น คุณสามารถปฏิเสธไม่ให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ คลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นของเรา อย่างไรก็ตาม คุณควรทราบว่าการบล็อกคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เรามีให้ใช้งาน
คุกกี้เหล่านี้จำเป็นสำหรับการทำงานกับเว็บเว็บไซต์ และไม่สามารถปิดการใช้งานในระบบของเราได้ ...
และโดยปกติแล้ว คุกกี้เหล่านี้จะถูกกำหนดไว้เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการร้องขอบริการของคุณ เช่น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การเข้าสู่ระบบ หรือการกรอกแบบฟอร์ม คุณสามารถกำหนดให้เบราว์เซอร์ของคุณทำการบล็อก หรือเตือนให้คุณทราบเกี่ยวกับคุกกี้เหล่านี้ แต่นั่นอาจทำให้บางส่วนของเว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้
.
No cookies to display.
คุุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราสามารถนับการเข้าชมและแหล่งที่มาของการเข้าชม...
เพื่อให้เราสามารถวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของเราได้ พวกเขาช่วยให้เราทราบว่าหน้าใดเป็นที่นิยมมากที่สุดและน้อยที่สุด และดูว่าผู้เยี่ยมชมย้ายไปรอบ ๆ เว็บไซต์อย่างไร ข้อมูลทั้งหมดที่คุกกี้เหล่านี้รวบรวมจะถูกรวบรวมและไม่ระบุชื่อ หากคุณไม่อนุญาตคุกกี้เหล่านี้ เราจะไม่ทราบว่าคุณได้เยี่ยมชมเว็บเว็บไซต์ของเราเมื่อใด และจะไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของคุกกี้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยในการทำงานของเว็บไซต์และการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะกับผู้ใช้...
เช่น วิดีโอและการสนทนาสด คุกกี้เหล่านั้นอาจได้รับการกำหนดโดยเราหรือผู้ให้บริการจากบริษัทอื่นที่เราได้เพิ่มบริการของพวกเขาลงในหน้าเพจ หากคุณไม่อนุญาตให้คุกกี้เหล่านี้ทำงาน ฟังก์ชันบางอย่างของเว็บไซต์อาจทำงานไม่ถูกต้อง
Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.
No cookies to display.
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 19 ต.ค. 2565
พลิกโฉมเดินหน้าสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตนำร่อง4มหา’ลัยคาดไม่เกิน2ปีเข้าระบบทุกแห่ง
กรุงเทพฯ * อว.เปิดตัว “คลังหน่วยกิตแห่งชาติ” พลิกโฉมเข้าสู่โหมดการศึกษาแบบใหม่ เรียนรู้ ตลอดชีวิต ไม่จำกัดต้องจบภายใน 4 ปี หรือไม่จบใน 8 ปีโดนรีไทร์ นำร่องก่อน 4 มหา’ลัย จุฬาฯ, มธ., มช.และ มทร.ธัญบุรี คาดอีก 1-2 ปี มหาวิทยาลัยทั้ง 150 แห่งจะเข้าร่วมทั้งหมด
ที่สยามพารากอน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ SkillLane เปิดตัวโครงการนำร่องจัดทำคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (Nation credit Bank System : NCBS) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) พร้อมนำร่อง 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.จุฬาฯ ม.เชียงใหม่ มทร.ธัญบุรี
ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. กล่าวว่า จากการประกาศใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2565 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนากำลังคนให้เกิดความหลากหลาย จะไม่จำกัดการจบการศึกษาแบบเดิมคือ 4 ปี และห้ามเกิน 8 ปี ยกเกณฑ์กลางออกทั้งหมด เพื่อตอบโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่มีอาชีพใหม่เกิดขึ้นมากมายผ่านระบบการศึกษา และก่อเกิดคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (Nation Credit Bank System) เพื่อให้คนทุกวัยได้เข้าถึงการศึกษาพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ที่ต้องการ และไม่ได้มีการกำหนดช่วงอายุ โดยหลักการของการเก็บหน่วยกิตจะมีการนำเกรดมาเป็นตัวชี้วัด แต่จะมาจาก 3 ส่วน ได้แก่ มหาวิทยาลัย, หน่วยงานผู้ให้บริการฝึกอบรม (Training Provider) ที่ได้รับการรับรองจาก อว. และจากการเทียบโอนประสบการณ์ โดยมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้เทียบเคียงหน่วยกิต นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถเลือกวิชาที่สนใจในการเก็บหน่วยกิตได้เอง ไม่มีกำหนดระยะเวลา วิชาที่เรียนไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงกัน เพราะสุดท้ายหน่วยกิตก็จะถูกสะสมไว้
“อย่างไรก็ตาม หน่วยกิตที่ผู้เรียนได้เก็บสะสมจะถูกเก็บไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติ ทำให้ผู้เรียนสามารถเก็บสะสมไปได้ตลอดชีวิต และสามารถขอใบรับรองทักษะได้โดยตรงกับคลังหน่วยกิตฯ แต่หากต้องการเทียบหน่วยกิตสำหรับการขอปริญญาตรีหรือปริญญาโท ก็สามารถเบิกและนำไปเทียบกับหน่วยกิตตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ หรือจะไปเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยโดยตรงก็ได้เช่นกัน เพราะหน่วยกิตที่เรียนจะถูกบันทึกระบบของคลังมหาวิทยาลัย และส่งต่อมายังคลังหน่วยกิตแห่งชาติ ทั้งนี้ หน่วยกิตที่จะได้รับของแต่ละวิชาที่เรียน หรือการเทียบเคียงหน่วยกิตจากประสบการณ์การทำงาน ต้องขึ้นอยู่กับระเบียบและกฎเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนดด้วย” ศ.ดร.ศุภชัยกล่าว
ศ.ดร.ศุภชัยกล่าวอีกว่า คาดว่าภายในอีก 1- 2 ปีข้างหน้า ทุกมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนราวๆ 150 แห่ง จะเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าระบบทุกวิชา ซึ่งขณะนี้มีการนำมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ที่วางระบบโดย SkillLane เพื่อนำร่องให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงหรือระบบของการทำงานของคลังหน่วยกิตแห่งชาติ ซึ่งมหาวิทยาลัยก็มีแนวทางในการเก็บสะสมหน่วยกิตในลักษณะนี้ด้วย และยังเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งนี้การเรียนหลักสูตรมาตรฐานยังมีอยู่ แต่ระบบนี้เปิดโอกาสในการพัฒนาทักษะของคนทุกช่วงวัย ทุกอาชีพ เอื้อให้กับแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันทาง มธ.มีระบบการเรียนในระดับปริญญาโทออนไลน์ที่ทำร่วมกับ SkillLane อยู่แล้ว คือระบบ TUXSA ซึ่งมี 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation (M.B.A. Business Innovation) และหลักสูตรปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation (M.S. Digital Business Transformation) และในปีหน้าจะมีเพิ่มขึ้นมาอีกหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท Applied AI สามารถเชื่อมกับระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติได้ เพื่อเอื้อให้กับกลุ่มคนทุกวัยที่อยากเรียนรู้และพัฒนา ดังนั้นจำเป็นต้องเติมทักษะใหม่ ปรับทักษะเดิม เพื่อให้ตอบโจทย์โลกยุคปัจจุบัน
รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ระบบหน่วยกิตแห่งชาติเป็น Ecosystem สำคัญที่จะขยายโอกาสให้กับนิสิตนักศึกษาในระบบ Formal Informal และ Non-Formal Education ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนความรู้ใหม่ๆ ผ่านหลากหลายแหล่งเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานจริง รวมถึงผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงที่ตอบสนองความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคใหม่บนฐานของ Demand Driven โดยการไม่ผูกขาดองค์ความรู้ ที่สำคัญคือ แม้ความรู้ของผู้เรียนจะมีที่มาหลากหลาย แต่ก็เป็นความรู้ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพราะได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยอีกขั้นหนึ่งแล้ว โดยให้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์และดุลยพินิจตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ ที่ Decentralized ไปยังแต่ละสภามหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ปรารถนา ใจผ่อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตคือส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่ยั่งยืน ทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่คือ หน่วยงานการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่จะให้บริการด้านวิชาการ มีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว และได้มีการเตรียมหลักสูตรมากกว่า 200 หลักสูตร ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยเข้ามาเรียนรู้ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งได้มีการดำเนินการทำมาสักระยะหนึ่ง และเพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2564 และคาดว่าในอนาคตจะมีการเปิดหลักสูตรมากขึ้น เพื่อรองรับกับระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ และทำให้การเรียนในรูปแบบสะสมหน่วยกิตเป็นที่รับรู้และเข้าใจไปยังวงกว้างมากขึ้น
รศ.ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองอธิการบดีด้านวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า ตามยุทธศาสตร์ ONE RMUT ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 9 แห่ง เพื่อร่วมกันพลิกโฉมแนวทางการผลิตกำลังคนยุคใหม่ เพื่อผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงและนวัตกรเพื่อพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว ปัจจุบันกลุ่ม ONE RMUT ตอนนี้มีการวางหลักสูตรในระบบราว 45 หลักสูตร สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและคนทั่วไปของคลังหน่วยกิตแห่งชาติ จะช่วยให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนไทยเกิดขึ้นได้จริงในวงกว้าง และไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในรั้วสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น คลังหน่วยกิตนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ความตั้งใจของมหาวิทยาลัยในการผลิตและพัฒนาคนผ่านระบบการเรียนการสอนแบบ Lifelong Learning สำเร็จได้จริง ในรูปแบบที่มีศักยภาพยิ่งกว่าเดิม
ทั้งนี้ บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จำกัด ผู้ให้บริการด้าน Online Learning Platform จะร่วมใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เข้ามาช่วยพัฒนาระบบสารสนเทศของคลังหน่วยกิตแห่งชาติ โดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อคลังหน่วยกิตของแต่ละสถาบันเข้าไว้ด้วยกัน.