เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการ ผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์กลายเป็นอุตสาหกรรมและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ในกระบวนการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิม พานต์ มีอยู่หลายขั้นตอนด้วยกัน คือ การเตรียมเม็ด การกะเทาะเปลือก การอบ การลอกเยื่อหุ้มเม็ด การคัดเกรด การบรรจุและจำหน่ายซึ่งในขั้นตอนการลอกเยื่อหุ้มเม็ดในมะม่วงหิมพานต์ เพื่อต้องการเนื้อในเต็ม และสะอาด การลอกเยื่อหุ้มเม็ด ที่ปฏิบัติกันในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนโดยอาศัยมีดขูดออก โดยใช้แรงงานคนงานลอกเยื่อซึ่งไม่ทันต่อความต้องการของตลาด นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการคิดและประดิษฐ์เครื่องลอกเยื่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาเกษตรกรจนเป็นผลสำเร็จด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้นายวัฒนชัย มุงขุนทด นายนัดทร การรัตน์ และนายรุ่งโรจน์ โอกาพันธ์ นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้คิดประดิษฐ์ “เครื่องลอกเยื่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์” เพื่อช่วยทุ่นเวลา และแรงงานเกษตรกรน้องๆ เจ้าของผลงานได้เปิดเผยว่า “เครื่องลอกเยื่อหุ้มเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่สร้างขึ้นใช้ไฟมอเตอร์ 3 เฟส ขนาด 1/2 แรงม้า เป็นต้นกำลังและใช้สายพานเป็นตัวส่งกำลังไปยังเพลาจากการทดสอบเครื่องลอกเยื่อหุ้มเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่ความเร็วรอบ 425 รอบต่อนาที และใช้ขนาดกระดาษทรายขนาดความหยาบเบอร์ 80 จะให้ค่าอัตราการลอกเยื่อหุ้มเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 5.47 กิโลกรัมต่อชั่งโมง ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพการลอกเยื่อหุ้มเม็ดมะม่วงหิมพานต์สูงสุดที่ 78.59 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเปอร์เซ็นต์เนื้อในครึ่งซีก 8.93 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในเม็ดแตกหลายชิ้น 8.33 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เนื้อในเม็ดที่ลอกออกไม่หมด 4.17 เปอร์เซ็นต์”ทั้งนี้ เจ้าของผลงานยังกล่าวเพิ่มเต็มอีกว่า “เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น พวกตนยังต้องศึกษาการเก็บความชื้นของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่อบแล้วให้คงที่ ก่อนทำการลอกเยื่อหุ้มเม็ด จะช่วยในการลอกเยื่อหุ้มของเม็ดดีขึ้นและได้เนื้อในเต็มเม็ดในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้น และศึกษาออกแบบอุปกรณ์ที่ช่วยในการลดการกระแทกของเม็ดขณะทำการลอกเยื่อหุ้มเม็ดเพื่อลดการแตกหักของเม็ด เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์เนื้อในเต็มเม็ดมากขึ้น”เป็นอย่างไรบ้างกับผลงานของนักศึกษาจากมทร.ธัญบุรี ที่รวมกลุ่มกันประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อช่วยเหลือภาคเกษตร ซึ่งหากท่านใดสนใจอยากจะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร.0-2549-4990-2