“มาตรฐานอาชีพ” หมายถึง การกำหนดระดับสมรรถนะของบุคคลในการประกอบอาชีพ โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพ พร้อมทั้งพัฒนาระบบการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ
“ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ” ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการรับรอง “สมรรถนะ” ของกำลังคนตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม “ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ” เป็นกระบวนการรับรอง เพื่อให้บุคคลได้รับการยอมรับใน ความรู้ ทักษะ ตลอดจนความสามารถ และได้รับ “คุณวุฒิวิชาชีพ” ที่สอดคล้องกับสมรรถนะประสบการณ์และความรู้ และ ใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพของตนในอนาคต โดย “คุณวุฒิวิชาชีพ” สามารถเทียบเคียง และเชื่อมโยงกับระบบคุณวุฒิอื่นๆ ของประเทศได้
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้จัดทำโครงการ การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ระยะที่ 2 ใน 4 สาขางาน คือ จัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จัดการส่งออกและนำเข้า จัดการขนส่ง และจัดการคลังสินค้า โดยแบ่งเป็น 9 ลักษณะงาน คือ งานจัดการการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ งานบริหารการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ งานจัดการถ่ายลำและผ่านแดน งานจัดการสินค้าควบคุมการส่งออกและนำเข้า งานบริหารส่งออกและนำเข้า งานควบคุมรถบรรทุกสำหรับการขนส่งทางถนน งานจัดการคลังสินค้าอันตราย งานจัดการไซโล งานจัดการห้องเย็น โดยได้จัดระดับตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ 7 ระดับ เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การประชุมเพื่อลงนามข้อตกลงในการร่วมจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขา โลจิสติกส์ ระยะที่ 2 ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับ นายกสมาคมด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย 4 สมาคม โดยมีคุณอภิวัฒน์ อัคนิทัต รองผู้อำนวยการสถาบันฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ระยะที่ 2 มีสมรรถนะอาชีพทั้งด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติ และคุณลักษณะพึงประสงค์ในการประกอบอาชีพ รวมทั้งสิ้น 128 หน่วยสมรรถนะ รวมคุณวุฒิวิชาชีพ 41 คุณวุฒิ ตั้งแต่ชั้น 1-2-3-4-5-6-7 ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ดังนี้
การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ระยะที่ 2 เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ซึ่งการวิเคราะห์สมรรถนะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคคล ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบของสมรรถนะ ประกอบกันเข้าอย่างแนบแน่นทั้ง 3 ด้าน คือ ทักษะในการทำงานให้บรรลุ, ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานนั้นหรือความรู้ความเข้าใจงานที่ทำ, และ กิจนิสัยหรือเจตคติในการทำงานซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ระยะที่ 2 จะใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินเพื่อรับรองสมรรถนะบุคคลในกลุ่มอาชีพโลจิสติกส์ และช่วยตอบโจทย์สำคัญด้านการพัฒนาสมรรถนะซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านทุนมนุษย์ของประเทศต่อไป