ธนาคารเลือด กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกและเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ได้จัดหน่วยเคลื่อนที่บริการรับบริจาคโลหิต ให้เพียงพอกับการให้บริการในโรงพยาบาลราชวิถี เนื่องจากสถานการณ์โลหิตขาดแคลน ให้มีปริมาณเลือดสำรองเพียงพอต่อการนำไปรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ จำเป็นต้องใช้เลือดในการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ พระชนมพรรษา 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 จากนักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รวมทั้งบุคคลทั่วไปบริเวณชุมชนละแวกใกล้เคียง ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ระหว่างเวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมสงค์ธนาพิทักษ์ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พระชันษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยฯ นั้น
เรื่องควรรู้ก่อน – หลังบริจาคโลหิต
คุณสมบัติและเกณฑ์การรับบริจาค
- มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม ขึ้นไป
- อายุระหว่าง 17 – 60 ปีบริบูรณ์ (กรณีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง)
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว หรือ ไม่รับประทานยาปฏิชีวนะ
- ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือ ติดยาเสพติด
- ดื่มน้ำ 2 – 3 แก้วก่อนบริจาค เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย
- นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และควรนอนก่อนเวลา 24.00 น.
- รับประทานอาหารก่อนมาบริจาค หลีกเสี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
- งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาค 1 – 2 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง
ข้อแนะนำหลังบริจาคโลหิต
- ดื่มน้ำมากกว่าปกติ 1 – 2 แก้ว
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
- งดการใช้แขนข้างที่เจาะ 1 วัน
- ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม ให้รีบนั่งกัมศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบ ยกเท้าสูง ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม เมื่อมีอาการปกติจึงค่อยลุกขึ้น
- ผู้ที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
- ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ดก่อนนอนจนหมดเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

ใบสมัครผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (346.9 KiB, 468 downloads)