วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญในด้านต่างๆ เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงของโลก ความหมายของวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือ การใช้ทรัพยากรบุคคล ความรู้จากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น พัฒนาสมรรถนะภาคธุรกิจ สังคม และขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ จุดสำคัญคือ การสร้างกำลังคนที่มีขีดความสามารถเพียงพอ พร้อมมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่เด็ก ด้วยวิธีการ รูปแบบ ที่หลากหลาย ตามความถนัด ความสนใจ จะสามารถช่วยส่งเสริมให้เยาวชนได้รับความรู้และเพิ่มพูนศักยภาพทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องต่อเนื่อง และสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีศักยภาพความพร้อมทั้งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากร และห้องปฏิบัติการ ดำเนินงานตามพันธกิจสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ชาติ จึงเล็งเห็นประโยชน์ในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดโครงการการประกวดโครงงานส่งเสริมแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระดับมัธยมศึกษา “การประกวดโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ครั้งที่ 10 Youth Scientists & Innovators: The new engine driving the BCG Economic Model นักวิทยาศาสตร์และนวัตกรรุ่นเยาว์ พลังใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โมเดล” กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ Area based (ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือทั้งในระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ กระตุ้นให้เกิดการบูรณาการความรู้ สู่เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม จากโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้ได้นักเรียน ดี เก่ง และมีศักยภาพเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสร้างเครือข่ายทั้งกับนักเรียน โรงเรียนต่างๆ โดยแบ่งหัวข้อโครงงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2.กลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ 3.กลุ่มคอมพิวเตอร์ และ4.กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมวิทยาศาสตร์
1.เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ การบูรณาการความรู้ สู่เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม จากโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้แนวความคิด Youth Scientists & Innovators: The new engine driving the BCG Economic Model นักวิทยาศาสตร์และนวัตกรรุ่นเยาว์ พลังใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โมเดล” ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ผ่านกิจกรรมการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์
2.เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ Area based มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา) และโรงเรียนที่มีกิจกรรมความร่วมมือ
1 กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
2 กลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ
3 กลุ่มคอมพิวเตอร์
4 กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์
1. ผู้ประกวดโครงงานจะต้องเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับอาชีวศึกษา (ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี)
2. จํานวนนักเรียนที่เข้าประกวดในแต่ละประเภทจะต้องไม่เกิน 3 คน/ทีม มีอาจารย์ที่ปรึกษาได้ 1 คน และนักเรียนแต่ละคนสามารถเป็นสมาชิกได้เพียง 1 ทีม เท่านั้น
3. สถานศึกษาสามารถส่งโครงงานเข้าร่วมการประกวดได้ไม่เกิน 2 โครงการ/ประเภท และ 1 โครงงานสามารถส่งประกวดได้เพียงประเภทเดียวเท่านั้น
4. เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเอง ไม่ได้ลอกเลียนแบบผู้อื่น และไม่เคยได้รับรางวัลตั้งแต่ระดับภาคขึ้นไปมาก่อน
5. รับสมัครจำนวนจำกัด 15 ทีม ต่อกลุ่มประเภทโครงงาน
1. รับสมัครผ่าน google form โดยสแกนได้จาก QR CODE เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น หมดเขตรับสมัครภายในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 *ปิดรับสมัครทันทีเมื่อมีจำนวนทีมสมัครครบ 15 ทีม/ประเภทโครงงาน* และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวดโครงงาน วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566
2. ผู้ประกวดต้องส่งรูปเล่มรายงานโครงงานโดยแนบเป็นไฟล์ PDF มาพร้อมกับการสมัคร (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.sci.rmutt.ac.th) โดยกำหนดให้ความยาวไม่เกิน 8 หน้ากระดาษ A4 โดยไม่นับรวมเอกสารอ้างอิง กำหนดให้ใช้แบบอักษร ขนาดอักษร และการเว้นบรรทัดตามแบบฟอร์มใบสมัครเท่านั้น
3. ผู้เข้าร่วมประกวดจะจัดทำป้ายแสดงโครงงานให้ถูกต้องตามแบบ สสวท. โดยประกอบด้วยวัสดุ เป็นแผ่น 3 แผ่น แผ่นกลางมีขนาด 60×120 เซนติเมตร แผ่นข้างมีขนาด 60×60 เซนติเมตร
4. ผู้เข้าร่วมประกวดจะต้องจัดแสดงผลงาน นำเสนอ และตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ สามารถนำโครงงานมาจัดพร้อมแสดงชิ้นงาน โดยมีระยะเวลานำเสนอ 10 นาทีต่อโครงงาน และเวลาตอบข้อซักถามไม่เกิน 5 นาที ในวันประกวดโครงงาน วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 (ทั้งนี้กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม กรุณาเตรียมพร้อมก่อนเวลาประกวดล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที)
รายละเอียด | วันที่ |
1. เปิดระบบรับสมัคร (ขยายเวลา) | วันนี้ – 13 สิงหาคม 2566 หรือจนกว่าจะเต็ม |
2. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประกวด (ขยายเวลา) | ศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2566 |
3. ประกวด/แข่งขัน | ศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 |
1. กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
2. กลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ
3. กลุ่มคอมพิวเตอร์
ผลลัพธ์ของโครงงาน 40 คะแนน
ความคิดสร้างสรรค์ 30 คะแนน
การนำเสนอ 20 คะแนน
การเขียนรายงาน 10 คะแนน
รางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมประกวด จำนวน 24 รางวัล ในทุกกลุ่มโดยมีรายละเอียด ดังนี้
– รางวัลชนะเลิศ โล่รางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล จำนวน 6,000 บาท จำนวน 4 รางวัล
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล จำนวน 4,000 บาท จำนวน 4 รางวัล
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท จำนวน 4 รางวัล
–รางวัลชมเชย ประกาศนียบัตร จำนวน 12 รางวัล (กลุ่มละ 3 รางวัล)
1.ผู้เข้าร่วมการประกวดทุกทีมจะได้รับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมโครงการ
2.ประกาศนียบัตรทุกประเภทเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ www.sci.rmutt.ac.th และ ทาง เพจ facebook คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี