การพัฒนาและสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 พัฒนาประเทศในทุกมิติอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อรองรับเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงของแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนควบคู่ไปกับการดึงดูดนักลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ที่ระบุความต้องการบุคลากรที่มีทักษะตรงความต้องการในเขต EEC ถึง 475,668 อัตรา
ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในระยะเร่งด่วน จำเป็นต้องผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อเพิ่มหรือทบทวนทักษะ (Re-skilling/Up-skilling) โดยอาศัยหลักตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม (Demand Driven) ตามรูปแบบการฝึกอบรมระยะสั้น หรือที่เรียกว่า EEC Model Type B ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ในภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ให้มีทักษะที่ตอบสนองภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้ทันต่อความต้องการของการลงทุนใหม่และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม โดย สกพอ. ได้เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่านการสนับสนุนงบประมาณบูรณาการแก่สถาบันการศึกษาทุกระดับ และหน่วยงานรัฐ ทั้งในเขตพื้นที่ EEC และนอกพื้นที่ ภายใต้แนวคิดสำคัญคือ ภาคเอกชนต้องมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ร่วมสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศ
ในการนี้ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ด้านพัฒนากำลังคน (Re-skill, Up-skill, New-Skill) ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ EEC เป็นโครงการความร่วมมือกับสถานประกอบการ ในการพัฒนากำลังแรงงานคน จึงมีความประสงค์จัดโครงการยกระดับทักษะพัฒนาบุคลากรระยะเร่งด่วนรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 6 หลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
1. เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) และยกระดับความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
2. เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงนในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลดอัตราการว่างงาน และลดการทำงานต่ำระดับ
3. เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) ในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย
บุคลากรในสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นหรือทักษะขั้นสูงขึ้น
รวมทั้งสิ้น 6,000. – บาทต่อท่าน ผู้เข้าอบรม/สถานประกอบการจ่าย 3,000.- บาทต่อท่าน EEC สมทบให้
3,000. – บาทต่อท่าน จำนวน 4 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2566 ณ วิทยาเขตปราจีนบุรี มทร.ธัญบุรี
รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 – 3 กันยายน 2566 ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี
รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 8 – 10 กันยายน 2566 ณ วิทยาเขตปราจีนบุรี มทร.ธัญบุรี
1 . หลักความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงและแก้ไขปัญหาเครื่องปรับอากาศ
2 . หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศอุตสาหกรรมการผลิต
3 . การตรวจวิเคราะห์รหัสแจ้งข้อบกพร่อง (Error Code Code) อาการผิดปกติ ประเมินสาเหตุเบื้องต้น อธิบายปัญหา และรายงานการแก้ไขปัญหา
4 . วิธีการซ่อมบารุงเครื่องปรับอากาศ
1. ค่าลงทะเบียนฝึกอบรม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอบรม อันประกอบด้วยค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ/วัน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ/วันค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าโสตทัศนูปกรณ์ ค่าประสานงานและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. รายจ่ายที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 สถานประกอบการนำไปหักภาษีนิติบุคคลได้ 2.5 เท่าจากสรรพากรหรือนำไปขอรับสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพิ่มเติมตามประเภทการส่งเสริมฯ ที่ได้รับจาก BOI
3. ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการฝึกอบรม ทั้งนี้จะต้องมีเวลาเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมด
4. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเลื่อนการจัดอบรมกรณีที่ผู้เข้ารับการอบรมน้อยกว่า 15 คนต่อรุ่น
ทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์โดยตรงทางด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
การบรรยายและฝึกปฏิบัติ จากทีมวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
1. ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะที่จำเป็นหรือทักษะขั้นสูงขึ้น ทางด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพิ่มมากขึ้น
2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้
โอนเงินผ่าน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ชื่อบัญชี มทร.ธัญบุรี ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์
เลขที่บัญชี 453-1-42346-8
ส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ E-mail: skilldevelop@rmutt.ac.th
ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ >> https://shorturl.asia/gEekw
ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2549 3086, 0 2549 3090
มือถือ 08 9815 8625, 08 6360 2083
E-mail : skilldevelep@rmutt.ac.th