การพัฒนาและสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 พัฒนาประเทศในทุกมิติอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อรองรับเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงของแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนควบคู่ไปกับการดึงดูดนักลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ที่ระบุความต้องการบุคลากรที่มีทักษะตรงความต้องการในเขต EEC ถึง 475,668 อัตรา
ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในระยะเร่งด่วน จำเป็นต้องผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อเพิ่มหรือทบทวนทักษะ (Re-skilling/Up-skilling) โดยอาศัยหลักตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม (Demand Driven) ตามรูปแบบการฝึกอบรมระยะสั้น หรือที่เรียกว่า EEC Model Type B ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ในภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ให้มีทักษะที่ตอบสนองภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้ทันต่อความต้องการของการลงทุนใหม่และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม โดย สกพอ. ได้เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่านการสนับสนุนงบประมาณบูรณาการแก่สถาบันการศึกษาทุกระดับ และหน่วยงานรัฐ ทั้งในเขตพื้นที่ EEC และนอกพื้นที่ ภายใต้แนวคิดสำคัญคือ ภาคเอกชนต้องมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ร่วมสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศ
ในการนี้ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ด้านพัฒนากำลังคน (Re-skill, Up-skill, New-Skill) ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ EEC เป็นโครงการความร่วมมือกับสถานประกอบการ ในการพัฒนากำลังแรงงานคน จึงมีความประสงค์จัดโครงการยกระดับทักษะพัฒนาบุคลากรระยะเร่งด่วนรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 6 หลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
1. เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) และยกระดับความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
2. เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงนในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลดอัตราการว่างงาน และลดการทำงานต่ำระดับ
3. เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) ในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย
บุคลากรในสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นหรือทักษะขั้นสูงขึ้น
รวมทั้งสิ้น 6,000. – บาทต่อท่าน ผู้เข้าอบรม/สถานประกอบการจ่าย 3,000.- บาทต่อท่าน EEC สมทบให้ 3,000. – บาทต่อท่าน จำนวน 5 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2567 ณ วิทยาเขตปราจีนบุรี มทร.ธัญบุรี
รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี
รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2567 ณ วิทยาเขตปราจีนบุรี มทร.ธัญบุรี
รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี
1. Industrial Robot Operation
2. Create a Tool Centre Point and Use Load Identify
3. Create Work Objects
4. Basic Industrial Robot
5. Programming
6. Operators Log Messages
7. Back Up and Restore System
1. ค่าลงทะเบียนฝึกอบรม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอบรม อันประกอบด้วยค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ/วัน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ/วันค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าโสตทัศนูปกรณ์ ค่าประสานงานและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. รายจ่ายที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 สถานประกอบการนำไปหักภาษีนิติบุคคลได้ 2.5 เท่าจากสรรพากรหรือนำไปขอรับสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพิ่มเติมตามประเภทการส่งเสริมฯ ที่ได้รับจาก BOI
3. ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการฝึกอบรม ทั้งนี้จะต้องมีเวลาเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมด
4. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเลื่อนการจัดอบรมกรณีที่ผู้เข้ารับการอบรมน้อยกว่า 15 คนต่อรุ่น
ทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์โดยตรงทางด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
การบรรยายและฝึกปฏิบัติ จากทีมวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
1. ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะที่จำเป็นหรือทักษะขั้นสูงขึ้น ทางด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพิ่มมากขึ้น
2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้
โอนเงินผ่าน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ชื่อบัญชี มทร.ธัญบุรี ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์
เลขที่บัญชี 453-1-42346-8
ส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ E-mail: skilldevelop@rmutt.ac.th
ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ >> https://shorturl.asia/gEekw
ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2549 3086, 0 2549 3090
มือถือ 08 9815 8625, 08 6360 2083
E-mail : skilldevelep@rmutt.ac.th