ด้วยศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาสัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดำเนินโครงการกิจกรรม SI ดีพร้อม (DIPROM SI Development Program: SIDP) ภายใต้โครงการ ๑๓.๑-๑ การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตนมัติและดิจิทัล ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ จำนวน ๔ หลักสูตรหลักสูตรละ ๒๕ คน ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๖ โดยการฝึกอบรมพร้อมประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม/ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการออกแบบและพัฒนาระบบการผลิตด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล จึงขอเรียนเชิญสมัครเข้ารับการอบรมโครงการ กิจกรรม SI ดีพร้อม (การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล ปีงบประมาณ 2566)
รุ่นที่ 1 หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านช่างควบคุมหุ่นยนต์ ระดับ 2 อบรม วันที่ 11-13 ม.ค. 66 (3 วัน)
ประเมินสมรรถนะอาชีพช่างควบคุมหุ่นยนต์ ระดับ 2 วันที่ 14-15 ม.ค. 66 (2 วัน) ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรมมทร.ธัญบุรี
* อบรมเสริม 10 วัน * Stationary Robot Design วันที่ 19, 20, 21, 22, 27, 28, 29 มกราคม 2566 และ วันที่ 3, 4, 5 กุมภาพันธ์ 2566
————————————————————————————————–
รุ่นที่ 2 หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านช่างแมคคาทรอนิกส์ ระดับ 4 อบรม วันที่ 11-13 ม.ค. 66 (3 วัน)
ประเมินสมรรถนะอาชีพช่างแมคคาทรอนิกส์ ระดับ 4 วันที่ 14-15 ม.ค. 66 (2 วัน) ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรมมทร.ธัญบุรี
* อบรมเสริม 10 วัน * Automation Production Line Design วันที่ 19, 20, 21, 22, 27, 28, 29 มกราคม 2566 วันที่ 3, 4, 5 กุมภาพันธ์ 2566
————————————————————————————————–
รุ่นที่ 3 หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านช่างควบคุมหุ่นยนต์ ระดับ 3 อบรม วันที่ 8-10 ก.พ. 66 (3 วัน)
ประเมินสมรรถนะอาชีพช่างควบคุมหุ่นยนต์ ระดับ 3 วันที่ 11-12 ก.พ.66 (2 วัน) ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรมมทร.ธัญบุรี
* อบรมเสริม 10 วัน * Stationary Robot Design วันที่ 16, 17 18, 19, กุมภาพันธ์ 2566 วันที่ 5, 6, 7 10 11, 12 มีนาคม 2566
————————————————————————————————–
รุ่นที่ 4 หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับอาชีพนักบูรณาการระบบการผลิต (การเขียนโปรแกรม PLC เพื่อควบคุมกระบวนการผลิต ระดับ 4) อบรม วันที่ 8-12 ก.พ.66 (3 วัน)
ประเมินสมรรถนะอาชีพการเขียนโปรแกรม PLC เพื่อควบคุมการผลิต ระดับ 4 วันที่ 11-12 ก.พ. 66 (2 วัน) ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรมมทร.ธัญบุรี
* อบรมเสริม 10 วัน * Vision and Motion for Inspection วันที่ 16, 17, 18, 19, กุมภาพันธ์ 2566 วันที่ 5, 6, 7, 10, 11, 12 มีนาคม 2566
————————————————————————————————–
อบรมและประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ณ ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม/ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี skilldevelop@rmutt.ac.th Mobile : 08-9815-8625, 08-6360-2083 www.isdc.rmutt.ac.th 0-2549-3086, 0-2549-3090 ประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคหุ่นยนต์ (Robot Revolution) และเพื่อให้เกิดการผลิตขึ้นในประเทศสำหรับสนองความต้องการต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่กำลังจะปรับปรุงกระบวนการผลิตและการทำงานไปสู่การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมากขึ้น และเพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 เห็นชอบในหลักการมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคธุรกิจบริการมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อผลักดัน System Integrator (SI) ให้มีจำนวนเพียงพอต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนการผลิตให้กับ S ในประเทศ และพัฒนาศักยภาพและบูรณาการความร่วมมือในเครือข่ายหน่วยงาน Center of Robotics Excellence (CoRE) และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี Roadmap และมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในแนวประชารัฐ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการกระตุ้นอุปสงค์ โดยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการภายในประเทศนำหุ่นยนต์และระบบอัตนมัติมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนการผลิตอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติก่อให้เกิดการใช้หุ่นยนต์ซึ่งสร้างมูลค่า 12,000 ล้านบาท ในปีแรก และในระยะยาวปี 2565 – 2569 ได้มีการตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียนโดยมีเทคโนโลยีของตนเองภายในปี 2569 ทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Robot และขยายผลไปสู่ภาคบริการ (Service Robot) ที่มีแนวโน้มในการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปยังเป้าประสงค์เดียวกันและบรรลุเป้าหมายตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด จึงมีแนวคิดดำเนินกิจกรรม Sเ ดีพร้อม (DIPROM SI Development Program: SIDP) โดยการฝึกอบรมพร้อมประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อรองรับความต้องการของสถานประกอบการ
ในการนำหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ มาใช้ในสถานประกอบการ ที่อย่างน้อยในแต่ละสถานประกอบการควรมีผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบสายการผลิตอัตนมัติให้มีความคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งบุคลากรที่ผ่านหลักสูตรนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสู่การได้รับรองมาตรฐานตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (TPQ) ซึ่งเป็นการยกระดับบุคลากรที่เห็นผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกด้วย
เพื่อพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการออกแบบและพัฒนระบบการผลิตด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ะบบอัตนมัติ และดิจิทัล พร้อมทั้งสามารถบูรณาการเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าด้วยกันในการเพิ่มผลิตภาพภายในสถานประกอบการ โดยบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมดังกล่าวยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดไปสู่การได้รับรองสมรรถะตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (TPQI)
ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 25 คนต่อหลักสูตร
ศูนย์พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2549 3086, 0 2549 3090 มือถือ 08 9815 8625, 08 6360 2083
E-mail: skilldevelop@rmutt.ac.th ID Line: iscd3086