ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. 2566
โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศกำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้บุคลากรนักศึกษา นักเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญรี ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสาธารณชนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการจัดการและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้การบริหารราชการและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗(๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. ๒๕๖๖ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ดูประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
เมื่อคุณเข้าชมเว็บเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเกี่ยวกับคุณ การตั้งค่าของคุณ อุปกรณ์ของคุณ หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่คุณต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของคุณได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น คุณสามารถปฏิเสธไม่ให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ คลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นของเรา อย่างไรก็ตาม คุณควรทราบว่าการบล็อกคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เรามีให้ใช้งาน
คุกกี้เหล่านี้จำเป็นสำหรับการทำงานกับเว็บเว็บไซต์ และไม่สามารถปิดการใช้งานในระบบของเราได้ ...
และโดยปกติแล้ว คุกกี้เหล่านี้จะถูกกำหนดไว้เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการร้องขอบริการของคุณ เช่น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การเข้าสู่ระบบ หรือการกรอกแบบฟอร์ม คุณสามารถกำหนดให้เบราว์เซอร์ของคุณทำการบล็อก หรือเตือนให้คุณทราบเกี่ยวกับคุกกี้เหล่านี้ แต่นั่นอาจทำให้บางส่วนของเว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้
.
No cookies to display.
คุุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราสามารถนับการเข้าชมและแหล่งที่มาของการเข้าชม...
เพื่อให้เราสามารถวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของเราได้ พวกเขาช่วยให้เราทราบว่าหน้าใดเป็นที่นิยมมากที่สุดและน้อยที่สุด และดูว่าผู้เยี่ยมชมย้ายไปรอบ ๆ เว็บไซต์อย่างไร ข้อมูลทั้งหมดที่คุกกี้เหล่านี้รวบรวมจะถูกรวบรวมและไม่ระบุชื่อ หากคุณไม่อนุญาตคุกกี้เหล่านี้ เราจะไม่ทราบว่าคุณได้เยี่ยมชมเว็บเว็บไซต์ของเราเมื่อใด และจะไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของคุกกี้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยในการทำงานของเว็บไซต์และการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะกับผู้ใช้...
เช่น วิดีโอและการสนทนาสด คุกกี้เหล่านั้นอาจได้รับการกำหนดโดยเราหรือผู้ให้บริการจากบริษัทอื่นที่เราได้เพิ่มบริการของพวกเขาลงในหน้าเพจ หากคุณไม่อนุญาตให้คุกกี้เหล่านี้ทำงาน ฟังก์ชันบางอย่างของเว็บไซต์อาจทำงานไม่ถูกต้อง
Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.
No cookies to display.
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 เม.ย. 2565
พวงชมพู ประเสริฐ
qualitylife4444@gmail.com
เพราะ”บ้าน”หลังเดิมที่อยู่เมื่อ วัยหนุ่มสาว อาจไม่ปลอดภัยเมื่อเข้าสู่สูงวัย ด้วยสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนเดิม จำเป็นอย่างมากที่ต้องปรับ เปลี่ยนบ้านให้เหมาะสม เพิ่มความปลอดภัย โดยเฉพาะ 4 จุดสำคัญที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้สูง
กรุงเทพธุรกิจ มีการค้นพบว่า ผู้สูงอายุเกือบ 100%อยู่ในบ้านเดิม และ เกิดอุบัติเหตุในบ้าน โดยปีละประมาณ 1,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 3 คนที่เสียชีวิตจากการหกล้ม จากที่เกิดการหกล้มปีละ เกือบ 5 แสนคน นอกจากนี้ เคยมีการสำรวจบ้านในกรุงเทพฯมีแค่ 7% ที่ปลอดภัย ไม่นับรวมโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากงานวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่หกล้มประมาณ 90% เกิดจากสภาพแวดล้อม โดยสะดุดสิ่งกีดขวาง 39% พื้นลื่น 34% พื้นต่างระดับ 10% ตกเตียงและบันได 6% ซึ่งก่อนหน้านี้สัดส่วนการหกล้มนอกบ้านและในบ้านสัดส่วนเท่ากัน แต่ในช่วง 2 ปีของโควิด19 ผู้สูงอายุอยู่บ้านมากขึ้น สัดส่วนการหกล้มในบ้านจึงพบถึง 80% สถานที่ที่หกล้มในบ้าน 4 จุดหลัก ได้แก่ ห้องนอน 30 % ห้องน้ำ 25% บันได 12% และระเบียงบ้าน 5%
“คนไทยซื้อบ้านตอนแต่งงาน บ้านจึงเป็นบ้านสำหรับวัยหนุ่มสาว จึงเป็นบทเรียนว่าจะต้องซื้อบ้านแบบเผื่อไว้อีกช่วงวัยหนึ่ง หรือไม่ก็เปลี่ยนบ้านตามพฤติกรรมการอยู่อาศัย แต่เป็นเรื่องยากของคนไทยเพราะจะซื้อบ้าน 1 หลังแล้วอยู่ยาว บ้านจึงไม่มีความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ”รศ.ไตรรัตน์กล่าว
บ้านที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จาก งานวิจัยล่าสุดต้นพบจุดนัดพบต่อการหกล้ม 4 จุดในบ้าน จึงต้องขจัดตรงจุดนี้ เพื่อสร้างความปลอดภัย ประกอบด้วย 1.ห้องน้ำ เพราะผู้สูงอายุต้องเข้าห้องน้ำเฉลี่ย 5 ครั้งต่อวัน โอกาสเกิดอุบัติเหตุจึงมีมาก และมักเกิดในช่วงเวลาที่ไม่มีคนอยู่บ้าน นำมาสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บหนักขึ้น 2.บันได ผู้สูงอายุ 100% จะอยู่ชั้นบน เมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่อยากย้ายลงมาข้างล่าง เพราะไม่ได้มีกั้นห้องนอนไว้ ทำให้ต้องเดินขึ้นลงบันไดลำบาก
3.ห้องนอน โดยผู้สูงอายุมักจะลุก เข้าห้องน้ำตอนกลางคืน บริเวณมี ความมืด เตียงนอนสูงจากพื้นมากขาลอย พรหมลื่นเกิดการหกล้มได้ ส่วนผู้สูงอายุในชนบทนอนฟูกบนพื้น ลุกลำบาก ข้อเข่าติด เมื่อพยายามลุกเดินทำให้ล้มตรงจุดนั้น ฉะนั้น เตียงนอนต้องปรับปรุงให้มีความสูงจากพื้นระดับที่ขาถึงพื้นพอดีขณะนั่งขอบเตียง ไม่มีพรหม ถ้าไม่มีแรงพยุงตัวต้องมีราวจับพยุงตัวขึ้นจากเตียง และควรตะแคงขวายันขึ้นนั่งก่อนอย่ารีบร้อน ตั้งสติดีแล้วค่อยลุก เพราะผู้สูงอายุเกือบ 80 %มีความดันโลหิตสูง จะหน้ามืดง่ายขณะเปลี่ยนท่าทาง
และ4.พื้นที่รอยต่อในและ นอกบ้าน มี 3 จุดหลัก คือ ระเบียงหน้าบ้าน การซักล้างหลังบ้าน ที่จอดรถข้างบ้าน ซึ่งบ้านบางหลังไม่มีหลังคาคลุม เมื่อฝนตก ทำให้พื้นลื่น มีตะไคร่ขึ้น พื้นต่างระดับ เพราะฉะนั้น การแก้ไขจะต้องทำหลังคาคลุมและทำพื้นให้เรียบเสมอกัน
หลักการปรับปรุงบ้านในจุดเสี่ยง มี 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.พื้นต้อง เรียบเสมอกัน อะไรที่เป็นสิ่งกีดขวาง เช่น ธรณีประตู สิ่งที่ขั้นต้องเอาออกให้หมด 2.พื้นไม่ลื่น จะต้องให้พื้นมีความหยาบขึ้น กรณีที่ไม่อยากรื้อพื้น ปัจจุบันมีน้ำยาที่ราดแล้วจะมีความหนืดขึ้นประมาณ 10 % 3.มีราวจับ บริเวณที่ลื่น ภายในภายนอกบ้าน ประตู หน้าต่าง และ4.มีแสงสว่างเพียงพอ
“ถ้าปรับปรุงในจุดเสี่ยง 4 จุดสำคัญ ให้ครบทั้ง 4 อย่างนี้ ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในบ้านให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งในการปรับปรุงนั้นสามารถจัดหาวัสดุได้ตั้งแต่หลัก 100 หลัก 1,000 หรือมากกว่านั้น ทำได้ตามงบประมาณ ไม่จำเป็นต้องใช้ที่มีราคาแพงทั้งหมด” รศ.ไตรรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ประสงค์ที่จะปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์ออกแบบเพื่อทุกคน(UDC) 12 แห่งทั่วประเทศ แยกเป็น 5 ศูนย์ คือ คณะสถาปัตยกรรม ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์ ม.มหาสารคาม ม.ธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 7 เครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.)เชียงราย ม.แม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ศรีวิชัย ม.นครพนม มทร.สุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี มทร.ธัญบุรี และม.เกษตรศาสตร์
รศ.ไตรรัตน์ แนะนำด้วยว่า การเตรียมตัวรองรับการเป็นผู้สูงวัย ยิ่งเตรียมตัวเร็วยิ่งดี ในส่วนของสภาพแวดล้อม เมื่ออายุ 40 ปีควรต้องเริ่มพิจารณาว่าจะอยู่บ้านหลังเดิมอีกนานเท่าไหร่ หรือลูกหลานจะปรับปรุงบ้านให้พ่อแม่เมื่อไหร่ โดยส่วนใหญ่จะมีความคิดว่าปรับปรุงบ้านตอน 60 ปี หรือตอนที่พ่อแม่หกล้มแล้ว บางครั้งอาจสายไปแล้ว จึงต้องเปลี่ยนความคิด ต้องปรับปรุงก่อนเพื่อป้องกันการหกล้ม ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีทัศนคติว่าบ้านหลังเดิมอยู่มานานแล้วคุ้นเคย มีความปลอดภัย ไม่ต้องปรับปรุง ตัวเองยังแข็งแรงดี และต้องการประหยัด แต่ไม่ได้คิดถึงอนาคต
“อย่ารอให้ผู้สูงอายุมาบอกว่าต้องการปรับปรุงบ้านเพราะจะไม่พูด ด้วยความเกรงใจ แต่เป็นหน้าที่ของลูกหลานที่จะต้องปรับปรุงบ้านให้ผู้สูงอายุเพื่อความปลอดภัยขึ้น ซึ่งหากลูกหลานไม่ปรับ หากผู้สูงอายุหกล้ม ลูกหลานจะเดือดร้อนด้วย” รศ.ไตรรัตน์ กล่าว
สิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนบ้านผู้สูงอายุ
กรุงเทพธุรกิจ รศ.ไตรรัตน์ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลควรสนับสนุนการปรับปรุงเพื่อผู้สูงอายุ อาทิ 1.ภาษีลูกกตัญญู 20,000 บาทแล้วต้องแบ่ง 2 คนน้อยไป ซึ่งเคยมีการทำวิจัยว่าปรับบ้านแต่ละครั้ง งบประมาณราว 50,000-1 แสนบาท จึงอยากให้มีสิทธิหักภาษีส่วนนี้ได้มากขึ้น โดยรัฐบาลจะได้ลดภาระในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ที่จะเกิดขึ้นกรณีผู้สูงอายุหกล้ม 2.มีโครงการ “ช็อปช่วยชาติ” รุ่นลูกกตัญญู โดยเมื่อไปซื้ออุปกรณ์ปรับปรุงห้องน้ำ ราวจับ พื้น ลดราคาให้หรือยกเว้นภาษีให้ด้วยการไม่คิด VAT ซึ่งประเทศอื่นมีการดำเนินการ
และ3.ควรมีนโยบาย และออกกฎหมายเรื่อง social housing มารองรับ โดยบังคับโครงการบ้านจัดสรรหรือคอนโด ต้องกันไว้ 10 %เพื่อสังคม หรือเพื่อผู้สูงอายุ ที่มีการทำห้องน้ำเรียบเสมอกันมีราวจับ ในราคาเท่ากับคนปกติ คือสามารถอยู่ปะปนในห้องทั่วไปได้ เช่น ประเทศสิงคโปร์ หากรับพ่อแม่มาอยู่ด้วย ให้สิทธิพิเศษในการเลือกก่อน ทำให้ได้ห้องที่มีการออกแบบรองรับการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุและราคาพิเศษ ซึ่งอนาคตผู้สูงอายุจะอยู่ร่วมกับลูกหลานอยู่ในโครงการ เนื่องจากในปี 2576 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ 30% ของประชากร
“รัฐเองยังเข้าใจผิดเรื่องผู้สูงอายุ คือ ยังมองเป็นฐานสงเคราะห์ ต้องจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สร้างบ้านพักคนชรา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่เห็นด้วยกับการจ่ายให้ทุกคน เพราะมีคนเดือดร้อนเพียง 10% ส่วนอีก 90% เก็บเงินส่วนนี้มาสร้างสวัสดิการแบบให้ลูกหลานลดภาษีซื้ออุปกรณ์ ลด VAT เพื่อให้ทุกคนดูแลตัวเองก็จะได้มากกว่า” รศ.ไตรรัตน์ กล่าว
เป็นหน้าที่ของลูกหลานที่จะต้องปรับปรุงบ้าน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุ
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์