แนวหน้า ฉบับวันที่ 14 ม.ค. 2565
บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศผลสองผู้ชนะประเทศไทย จากการแข่งขันการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายในระดับมหาวิทยาลัย โครงการ Asia Young Designer Awards 2021 (AYDA 2021) โดยปีนี้ ชานน พันธุ์นายัง หรือ แบงค์ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับผลงาน “WEAVE” และ พัชรกุล แพสมหวัง หรือ ใบตอง นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ กับผลงาน “Pause in พักพิงที่ระลึก” ชนะใจ กรรมการ คว้ารางวัลชนะเลิศ Gold Winner ในสาขาสถาปัตยกรรม และ สาขาออกแบบตกแต่งภายใน รับรางวัลเงินสดมูลค่า 100,000 บาท และโปรแกรมออกแบบ SketchUp Studio Education Software 2021 เป็นเวลา 1 ปีกลับบ้านไปได้อย่างสง่างาม พร้อมเตรียมตัวเข้าร่วมกิจกรรม Asia Young Designer Summit 2021 ร่วมกับผู้ชนะจากหลากหลายประเทศทั่วเอเชีย เพื่อชิงโอกาสเข้าอบรมหลักสูตรพิเศษ Design Discovery Program ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำ ระดับโลก Harvard’s Graduate School of Design สหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ มูลค่ากว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ภายใต้โจทย์การประกวดในหัวข้อ “FORWARD: Amplifying Empathy Through Design” กับการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม สองนักศึกษาต่างก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบผ่านกระบวนการคิด และเดินหน้าทำความเข้าใจปัญหาของ ผู้ใช้งานได้อย่างลึกซึ้ง ดึงความต้องการ ความจำเป็น และปัญหาของผู้ใช้งาน มานำเสนอเป็นโซลูชันงานออกแบบที่ผสาน ทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยี ยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ความต้องการ ผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพ จิตใจ อารมณ์ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
ผลงาน WEAVE ของแบงค์ ได้รับแรงบันดาลใจจากการกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดที่จังหวัดพัทลุงซึ่งเป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยธรรมชาติที่สมบูรณ์ แต่ในความอุดสมบูรณ์นี้ก็มีภัยร้ายอย่างการลักลอบเผาทำลายป่าบ่อยครั้ง โดยหนึ่ง ในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายและดับไฟได้ยากเนื่องจากเป็นระบบนิเวศป่าพรุ คือบริเวณทะเลน้อยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา ที่หากไม่สามารถป้องกันได้ ก็อาจนำไปสู่การสูญเสียพื้นที่ ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ไป ด้วยเหตุนี้ แบงค์จึงเล็งเห็นความสำคัญในการ ส่งเสริมอนุรักษ์ และฟื้นฟูพื้นที่บริเวณนี้ ผ่านการออกแบบงานสถาปัตยกรรม WEAVE ที่เสนอมุมมองการอนุรักษ์ และสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ ของธรรมชาติ โดยผลงานการออกแบบนี้ เป็นการอนุรักษ์เชิงท่องเที่ยวที่ส่งเสริมชุมชนไปในตัว ผ่านการทำความเข้าใจ บริบทพื้นที่ ชุมชน และธรรมชาติ ผสมผสานพื้นที่ในการปลูกกระจูด ศาลาประชาคม พื้นที่บริการท่าเรือหางยาว ร่วมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ไปพร้อม กับการทำกิจกรรมปลูกกระจูดทดแทน อีกทั้งยังนำเศษกระจูดจากผลิตภัณฑ์ สารกระจูดของชุมชน มาผลิตเป็นวัสดุ ในการก่อสร้าง นับเป็นอีกหนึ่งการ พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมของชุมชน อีกด้วย
นายชานน พันธุ์นายัง หรือแบงค์นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผู้ชนะ Gold Winner Architectural กล่าวว่า “ในฐานะคนในพื้นที่ ผมอยากเสนอมุมมองในการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้คนในชุมชนที่กำลังเผชิญอยู่ผ่านงานออกแบบที่คำนึงถึงความต้องการ และสภาพแวดล้อมของพวกเขา โดยปัจจุบันชุมชนมีความต้องการที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติและวิถีชีวิตเอาไว้ แต่การอนุรักษ์อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ จึงเป็น ที่มาของงานออกแบบสถาปัตยกรรม WEAVE ที่คำนึงถึงองค์ประกอบชุมชน คนในพื้นที่ อาชีพ รายได้ และต่อยอดวิถีชีวิตของพวกเขาได้อย่างยั่งยืน โดยตั้งแต่เข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรม ผมตั้งใจมาตลอดที่อยากจะสร้างสรรค์งาน ออกแบบที่ส่งเสริมและพัฒนาชุมชน เพื่อยืนยันหลักการและความเชื่อของ ตัวเองที่มีต่อการออกแบบ ผมรู้สึกภูมิใจมากที่ได้ถ่ายทอดความเชื่อของตัวเองลง บนผลงานนี้ที่สร้างประโยชน์ และตอบโจทย์ ความต้องการของผู้ใช้งานออกแบบ ได้อย่างแท้จริง ผมต้องขอขอบคุณเวทีการประกวด AYDA ที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่อย่างผมได้มีพื้นที่ให้แสดงออก และยังสานฝันหลักการในการ ออกแบบให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น อีกทั้ง ยังมอบโอกาสมากมายที่หาจากที่ไหนไม่ได้ อีกด้วย”
ด้านผลงาน Pause in พักพิง ที่ระลึก ของ ใบตอง-หวังพัชรกุล แพสมมีจุดเริ่มต้นจากความสนใจในพื้นที่ประวัติศาสตร์ดินถล่มของตำบลกะทูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างความสูญเสียมากมายในอดีตจนทำให้หมู่บ้านกะทูนกลายเป็นเมืองบาดาล แต่เมื่อเวลาผ่านไป ธรรมชาติในหมู่บ้านกลับมาอุดมสมบูรณ์และสวยงาม ชาวบ้านในหมู่บ้านกลับมาดำเนินชีวิตโดยมีการปลูกและ กรีดยางพาราเป็นวิถีชีวิตหลัก อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาการขาดความรู้ด้านการ แปรรูป การสร้างมูลค่ายางพารา ตลอดจน การสนับสนุนคุณภาพชีวิตในการ ประกอบอาชีพที่ไม่มากพอ และปัญหาราคายางที่ตกต่ำซึ่งสวนทางกับความ ต้องการของยางในตลาดโลก ทำให้ ชาวบ้านและคนรุ่นหลังเริ่มถอดใจกับการ เป็นเกษตรกรชาวสวนยาง ด้วยเรื่องราวทั้งหมดนี้ ใบตองจึงสร้างสรรค์ผลงาน Pause in พักพิงที่ระลึก ขึ้นเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของชาวสวนยางให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีพื้นที่พักผ่อนพักพิงจากความเหนื่อยล้า อนุรักษ์การแปรรูปยางแบบเดิม ควบคู่ไปกับการให้ความรู้การแปรรูปยางแบบใหม่ เพื่อให้ชาวสวนสามารถสร้างรายได้และอยู่ได้ด้วยตนเองได้ พร้อมนำเอาเหตุการณ์โศกเศร้าในอดีตมาสร้างเป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้รำลึกอันจะนำไปสู่แสงสว่างและความหวังแห่งการอยู่รอดท่ามกลางความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่สวยงามในปัจจุบันต่อไป
นางสาวพัชรกุล แพสมหวัง หรือ ใบตอง นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม และการออกแบบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้ชนะ Gold Winner Interior Design กล่าวว่า “ด้วยความผูกพันกับจังหวัดนครศรีธรรมราช และใกล้ชิดกับบริบทคนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อนๆ ผลงานการออกแบบ Pause in พักพิงที่ระลึก นี้เกิดขึ้นจากความต้องการ ของดิฉันที่อยากจะเข้าใจผู้คนในชุมชนว่า ต้องการงานออกแบบไหน โดยหลังจาก พูดคุย ทำความเข้าใจ ก็ได้ทราบถึงปัญหาและนำเอาการออกแบบมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหา ปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสความสวยงามและวิถีชาวสวนยางในอดีตสู่ปัจจุบันท่ามกลางธรรมชาติที่งดงามไป พร้อมๆ กับเรียนรู้เรื่องราวในอดีต ให้พวกเขาได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติที่ควรรักษาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของเยาวชน ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ให้กับชุมชน คงไว้ซึ่งวิถีชีวิตและผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อไป การได้รับรางวัล ชนะเลิศในการประกวดครั้งนี้เรียกได้ว่าเกินฝันไปมาก ต้องขอขอบคุณ AYDA ที่ให้โอกาส ดิฉันจะตั้งใจและพัฒนา ตัวเองเพื่อเข้าแข่งขันในรอบการประกวดนานาชาติอย่างแน่นอน”
นายวัชระ ศิริฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวทิ้งท้ายว่า “ตลอดระยะเวลา 14 ปี ที่ดำเนินโครงการ Asia Young Designer Awards นิปปอนเพนต์ได้บ่มเพาะนักออกแบบ รุ่นใหม่ให้แก่วงการนักออกแบบมากมาย ควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นให้ความสำคัญ กับจรรยาบรรณทางการค้าในการรักษา สิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่ดำเนินธุรกิจอยู่ รวมถึงพัฒนา นวัตกรรมสีที่มีคุณภาพสูงให้แก่ลูกค้า ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง นิปปอนเพนต์มั่นใจว่าทั้งแบงค์และใบตอง รวมไปถึงนักออกแบบทุกคนที่เข้าร่วมการประกวด AYDA 2021 จะเติบโตและก้าวไปเป็น นักออกแบบรุ่นใหม่คุณภาพที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการออกแบบของไทย และสร้างผลงานที่เข้าใจปัญหาของผู้ใช้งาน สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม ชุมชน และมนุษย์ผู้ใช้งาน ผลงานการออกแบบของพวกเขาได้อย่างงดงามและยั่งยืนอย่างแน่นอน”
สำหรับก้าวต่อไป สองนักออกแบบ รุ่นใหม่ Gold Winners จากประเทศไทย จะต้องเตรียมตัวและเตรียมผลงานให้พร้อม เพื่อเป็นตัวแทนประเทศในการเข้าร่วมกิจกรรม Asia Young Designer Summit 2021 เพื่อชิงตำแหน่ง Young Designer of The Year ผู้ที่สนใจสามารถติดตามเส้นทางการแข่งขันของพวกเขา ได้ที่ Facebook Page: https://www.facebook.com/AsiaYoungDesignerAwardsThailand หรือที่เว็บไซต์ www.siayoungdesigner awards-th.com