• บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour
Logo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTT
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • นโยบายและแผนยุทธศาสตร์
    • สัญลักษณ์
    • หอพระพุทธพิริยมงคล
    • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
    • ทำเนียบผู้บริหาร
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2567 – ปัจจุบัน
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2563 – 2566
    • สภามหาวิทยาลัย
    • สภาคณาจารย์และข้าราชการ
    • ลงนามความร่วมมือ (MOU)
  • เรียนออนไลน์
  • นักศึกษา
  • ศึกษาต่อ
  • วิจัย
  • บริการ
  • Download
  • บริการ E-Mail / Wifi
    • บริการระบบ RMUTT Internet Account
    • ลงทะเบียน/Reset Password E-mail
    • อาจารย์และบุคลากร
    • นักศึกษา
    • โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมฯ
  • ITA
    • ITA 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ปี 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (EIT) ปี 2568
    • กิจกรรม ITA 2568
    • ITA 2562-2567
✕

‘เครื่องขุดดินบังคับวิทยุ’ ตอบโจทย์ขาดแรงงานภาคเกษตร

  • Home
  • ข่าวจากสื่อ นักศึกษา : ข่าวจากสื่อ
  • ‘เครื่องขุดดินบังคับวิทยุ’ ตอบโจทย์ขาดแรงงานภาคเกษตร
‘เครื่องขุดดินบังคับวิทยุ’ ตอบโจทย์ขาดแรงงานภาคเกษตร
14 พฤษภาคม 2020
คอลัมน์ กรุงเทพมอนิเตอร์: มทร.ธัญบุรีพัฒนาแผ่นกรองย่อยสลายได้
14 พฤษภาคม 2020
Published by Kunyanut Sukkho on 14 พฤษภาคม 2020
Categories
  • นักศึกษา : ข่าวจากสื่อ
  • นักศึกษา : ข่าวล่าสุด
  • นักศึกษา : ข่าวและกิจกรรม
  • นักศึกษา : งานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์
Tags
  • การคิดออกแบบและผลิตชุดต้นแบบเครื่องขุดดินบังคับวิทยุ
  • ข่าวหนังสือพิมพ์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • นายประดิษฐ์ รักงาม
  • นายปัญญวัฒน์ นิเวศรัตน์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร แซมสีม่วง
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร

‘เครื่องขุดดินบังคับวิทยุ’ ตอบโจทย์ขาดแรงงานภาคเกษตร

มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
การใช้แรงงานคนขุดจากจอบและเสียมที่ต้องทนร้อนสู้แดดสู้ลม ขุดหลุมเพื่อการเพาะปลูกทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้สูงอายุ จึงอาจทำให้มีผลต่อการทำงานต่อวันไม่มากต่อความต้องการ และยิ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงนำมาสู่การคิดออกแบบและผลิตชุดต้นแบบเครื่องขุดดินบังคับวิทยุ ไอเดียของ นายประดิษฐ์ รักงาม และนายปัญญวัฒน์ นิเวศรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร แซมสีม่วง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

เจ้าของไอเดียอย่าง นายประดิษฐ์กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบขุดดินบังคับวิทยุ รวมถึงการทดสอบและประเมินสมรรถนะของเครื่อง ให้สามารถลดแรงงานคนและลดระยะเวลาการขุดดินในการทำการเกษตร ซึ่งเครื่องต้นแบบดังกล่าวประกอบด้วยสว่านขุดดินและมอเตอร์เป็นระบบส่งกำลัง โดยใช้ไฟจากแบตเตอรี่ โครงสร้างและชุดประกอบที่คิดค้นมีทั้งหมด 9 ส่วนหลักด้วยกัน คือ เครื่องยนต์ขนาดเล็ก แผงโซลาร์เซลล์ สว่านและใบสว่าน มอเตอร์ขับเคลื่อน เหล็กเพลา เฟืองดอกจอก ล้อยาง และโครงรถขุดหลุม และจุดเด่นของเครื่องขุดดินบังคับวิทยุต้นแบบนี้ สามารถใช้ในระดับครัวเรือนจนถึงในเชิงอุตสาหกรรม จากการทดสอบพบว่าสามารถขุดได้มากถึง 1,000 หลุมต่อวัน ขนาดหลุมกว้าง 8 นิ้ว และลึก 12 นิ้ว และใช้ระยะเวลาในการขุดประมาณ 3-4 นาทีต่อหลุม ขึ้นอยู่กับสภาพดิน

นายปัญญวัฒน์อธิบายเสริมว่า วิธีการใช้งานถูกออกแบบมาให้มีความง่าย เริ่มต้นตั้งแต่เปิดเครื่องและระบบควบคุม บังคับเครื่องให้เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ขุดเพาะปลูก ควบคุมเครื่องให้เครื่องหมุนได้รอบเพื่อการทำงาน จากนั้นชุดใบสว่านจะเคลื่อนที่ลงมาเพื่อการขุด เมื่อได้หลุมตามต้องการแล้วต้องควบคุมเครื่องให้ใบสว่านยกตัวขึ้น ก็จะได้หลุมสำหรับการเพาะปลูกต่อไป และเครื่องต้นแบบขุดดินบังคับวิทยุยังมีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งก็คือทุกส่วนประกอบเข้ากันในลักษณะน็อกดาวน์ ซึ่งสามารถถอดประกอบแยกส่วนเพื่อการใช้งานตามเดิมได้ สำหรับราคาเครื่องดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท

‘เครื่องขุดดินบังคับวิทยุ’ ตอบโจทย์ขาดแรงงานภาคเกษตร
‘เครื่องขุดดินบังคับวิทยุ’ ตอบโจทย์ขาดแรงงานภาคเกษตร
14052020-Radio-controlled-excavator.pdf
732.0 KiB
97 Downloads
รายละเอียด

การคิดออกแบบและผลิตชุดต้นแบบเครื่องขุดดินบังคับวิทยุ ไอเดียของ นายประดิษฐ์ รักงาม และนายปัญญวัฒน์ นิเวศรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร แซมสีม่วง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
เจ้าของไอเดียอย่าง นายประดิษฐ์กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบขุดดินบังคับวิทยุ รวมถึงการทดสอบและประเมินสมรรถนะของเครื่อง ให้สามารถลดแรงงานคนและลดระยะเวลาการขุดดินในการทำการเกษตร ซึ่งเครื่องต้นแบบดังกล่าวประกอบด้วยสว่านขุดดินและมอเตอร์เป็นระบบส่งกำลัง โดยใช้ไฟจากแบตเตอรี่ โครงสร้างและชุดประกอบที่คิดค้นมีทั้งหมด 9 ส่วนหลักด้วยกัน

Platforms:Windows 8
License:Freeware
วันที่:18 ธันวาคม 2020

Share
0
Kunyanut Sukkho
Kunyanut Sukkho

Related posts

20 มิถุนายน 2025

นักศึกษามทร.ธัญบุรี คว้า 12 รางวัลนวัตกรรม งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2568


Read more
19 มิถุนายน 2025

มทร.ธัญบุรี ปลื้ม คว้า 12 รางวัลเวทีนวัตกรรมระดับนานาชาติ เซี่ยงไฮ้ 2025


Read more
30 พฤษภาคม 2025

ขอเชิญร้านอาหารชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชนอาหารถิ่นอาหารไทย (ภาคกลางและภาคตะวันออก)


Read more
22 พฤษภาคม 2025

ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 กิจกรรม “Student Life RMUTT 2025”


Read more

Comments are closed.

สร้างและพัฒนาโดย.ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Rajamangala University of Technology Thanyaburi
ที่อยู่ : 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ติดต่อเรา

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน :
     Facebook :@oregrmutt
     Website :www.oreg.rmutt.ac.th
     E-mail : oreg@rmutt.ac.th

กองประชาสัมพันธ์ :
     E-mail : rmutt_news@rmutt.ac.th

ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ :
     Facebook :@WeblogRMUTT

  • มทร.ธัญบุรี หารือร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เดินหน้าจัดตั้ง “AI Center for SME”25 กรกฎาคม 2025
  • มทร.ธัญบุรี โชว์ศักยภาพ นำผลงานวิจัยและแฟชั่นโชว์ร่วมงาน Pathum Innotech Expo 2025 ยกระดับสินค้าศักยภาพปทุมธานี24 กรกฎาคม 2025
  • ขอเชิญชวน ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานพิเศษเงินรายได้ (สายผู้สอนและสายสนับสนุน) สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี24 กรกฎาคม 2025
  • “ขอเชิญข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานพิเศษเงินรายได้ (สายผู้สอนและสายสนับสนุน) สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี24 กรกฎาคม 2025

แผนที่การเดินทางมา มหาวิทยาลัยฯ

Copyright © 2022 Rajamangala University of Technology Thanyaburi
  • บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour