เนื่องด้วยอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษาที่จบการศึกษามีความรู้ในด้านวิชาการที่ดีมีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยสถานศึกษาสามารถนำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชา
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้จัดทำโครงการ การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า โดยใช้รูปแบบความร่วมมือระหว่าง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์อริยา สุอังคะวาทิน ได้รับมอบอำนาจจากท่านอธิการบดีให้เป็นผู้จัดการโครงการฯ นี้กับคุณสมชาย พรจินดารักษ์ ประธานสมาพันธ์อัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า แห่งประเทศไทย โครงการฯ ได้จัดดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 18 ก้นยายน 2561 จนบัดนี้โครงการฯ ได้สิ้นสุดลงแล้ว และมีการจัดประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอัญมณีเครื่องประดับและโลหะมีค่า เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ สีลม กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) รองผู้อำนวยการจุลลดา มีจุล ให้เกียรติมาเป็นประธานในการประชุม โดยมีสมาคมวิชาชีพด้านอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่าเข้าร่วมประชุมประกอบด้วย สมาคมเครื่องถมและเครื่องเงินไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมธุรกิจทองคำ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ บริษัท ที แซม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ประกายเพชร เจมส์ จำกัด บริษัท บิวตี้เจมส์ จำกัด ผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับโอทอปไทย
ในการพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า ในครั้งนี้มี 3 สายงาน คือ 1. งานออกแบบอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า 2. งานประเมินคุณภาพอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า 3. งานจัดจำหน่ายและบำรุงรักษาอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ 7 ชั้น เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามารถแบ่งอาชีพได้ 8 อาชีพ มีคุณวุฒิวิชาชีพ 17 คุณวุฒิ ได้แก่
ออกแบบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า |
ประเมินคุณภาพอัญมณีเครื่องประดับ และโลหะมีค่า | จัดจำหน่ายและบำรุงรักษาอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า |
1. อาชีพนักออกแบบอัญมณี ครื่องประดับและโลหะมีค่า ชั้น 3 2. อาชีพนักออกแบบอัญมณี ครื่องประดับและโลหะมีค่า ชั้น 4 3. อาชีพนักออกแบบอัญมณี ครื่องประดับและโลหะมีค่า ชั้น 5
|
1. อาชีพผู้ประเมินคุณภาพโลหะ มีค่า ชั้น 5 2. อาชีพผู้ประเมินคุณภาพอัญมณี ชั้น 6 3. อาชีพผู้ประเมินคุณภาพเพชร ชั้น 6 4. อาชีพผู้ประเมินคุณภาพเครื่องประดับ ชั้น 6
|
1. อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อัญมณี ชั้น 1 2. อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อัญมณี ชั้น 2 3. อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อัญมณี ชั้น 3 4. อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อัญมณี ชั้น 4 5.อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องประด้บ ชั้น 1 6. อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ ชั้น 2 7. อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ ชั้น 3 8. อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์โลหะมีค่า ชั้น 1 9. อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์โลหะมีค่า ชั้น 2 10.อาชีพผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์โลหะมีค่า ชั้น 3 |
การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ซึ่งการวิเคราะห์สมรรถนะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน และช่วยตอบโจทย์สำคัญด้านการพัฒนาสมรรถนะซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านทุนมนุษย์ของประเทศต่อไป
ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบอาชีพ สถานศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความสนใจ ขอข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โทรศัพท์ 02 549 3278 หรือ สมาพันธ์อัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่าแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 089 120 9189 หรือ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ดร.บรรเจิด ดอนเนตรงาม โทรศัพท์ 063 373 3926การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ซึ่งการวิเคราะห์สมรรถนะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน และช่วยตอบโจทย์สำคัญด้านการพัฒนาสมรรถนะซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านทุนมนุษย์ของประเทศต่อไป