มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ สาขากู้ชีพ กู้ภัย และดับเพลิง
รศ.ดร.เนตร์พัณณา ยาวิราช อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในฐานะผู้จัดทำโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ สาขากู้ชีพ กู้ภัย และดับเพลิง เปิดเผยว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ สาขากู้ชีพ กู้ภัย และดับเพลิง ขึ้น ประกอบด้วยคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ สาขาการบรรเทาสาธารณภัยและกู้ชีพ 24 อาชีพ ประกอบด้วย อาชีพนักกู้ชีพ (Medical emergency personnel : MEP1) ชั้น 1 – 6 EMR EMT AEMT อาชีพนักบริหารงานกู้ชีพ (Medical emergency personnel : MEP 7) ชั้น 7 อาชีพนักบริหารนวัตกรรมกู้ชีพ (Medical emergency personnel : MEP 8) ชั้น 8 อาชีพนักกู้ภัย ชั้น 1-6 อาชีพนักบริหารงานกู้ภัย ชั้น 7 อาชีพ นักบริหารนวัตกรรมกู้ภัย ชั้น 8 อาชีพนักดับเพลิง ชั้น 1-6 อาชีพ นักบริหารงานดับเพลิง ชั้น 7 และอาชีพนักบริหารนวัตกรรมดับเพลิง ชั้น 8 โดยมีการจัดทำเครื่องมือประเมินและทดลองเครื่องมือประเมินนักกู้ชีพ ชั้น 1 นักกู้ภัย ชั้น 4 และนักดับเพลิง ชั้น 4 มีการทดสอบภาคทฤฎีและภาคปฏิบัติ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานเหตุ แจ้งเหตุ และประสานงาน การเข้าถึงเหตุการณ์ก่อนคนแรก first responder การให้ความช่วยเหลือขั้นต้น การปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ การฟื้นคืนชีพ ทีมกู้ชีพ ERT เทคนิคการฟื้นคืนชีพ CPR ให้ความช่วยเหลือกู้ภัยเบื้องต้นได้โดยใช้อุปกรณ์เบาชนิด เชือก มีด กรรไกร อุปกรณ์ยึดเหนี่ยว การให้ความช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในที่ลึก เช่น หุบเหว หลุม หรือภูเขาลึก โดยการใช้เชือกและรอก เปลให้ความช่วยเหลือ การปฐมพยาบาลขั้นต้นให้แก่ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ทำแผล ห้ามเลือด โดยใช้อุปกรณ์การปฐมพยาบาลขั้นต้น การคัดแยกผู้บาดเจ็บเพื่อนำส่งต่อหน่วยแพทย์ โดยคัดแยกตามระดับของการบาดเจ็บมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด ส่วนการทดสอบภาคปฏิบัติสาขาอาชีพดับเพลิง ทดสอบการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสม กับสถานการณ์โดยการใช้อุปกรณ์ผจญเพลิงได้อย่างถูกต้อง การสวมชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ตรวจสอบความพร้อมในการใช้งานของอุปกรณ์ จัดตั้งทีมควบคุมและดับเพลิงพร้อมกำหนดหน้าที่ของนักดับเพลิงแต่ละคนให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น ทีมงานปฏิบัติการดับเพลิงตามแนวทาง ของหัวหน้าทีมควบคุมและดับเพลิง พิจารณาคัดเลือกนักดับเพลิงที่มีความเชี่ยวชาญได้ตรงตามสถานการณ์และความรุนแรงของเพลิง กำหนดจำนวนนักดับเพลิงในการเข้าปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงได้เหมาะสมกับสถานการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น ประเมินสถานการณ์เบื้องต้นในที่เกิดเหตุก่อนปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานที่เกิดเหตุแต่ละสถานที่
ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการประเมินเป็นผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการกู้ชีพ กู้ภัย และ ดับเพลิง ที่มีประสบการณ์สูง อายุงานเฉลี่ย 15 ปี มีการฝึกอบรมและได้รับ การรับรองในสาขาวิชาชีพจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งผลการทดสอบภาคปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ผ่านมีระดับค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.98 และผลการทดสอบ ภาคปฎิบัติอยู่ในเกณฑ์ผ่านเกินกว่าร้อยละ 80 จึงได้รับการรับรองมาตรฐาน อาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิในอาชีพกู้ชีพ กู้ภัย และดับเพลิง ได้ให้ ความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากบุคคลในอาชีพเป็นอย่างมาก นับเป็นนิมิตรหมายอันดีต่อการเป็นผู้มีความเป็นมืออาชีพในระดับสากลและจัดให้มีศูนย์ทดสอบสมรรถนะบุคคลในอาชีพนี้ต่อไป