สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรม ประกวดแบบสิ่งอำนวยความสะดวกระบบขนส่งสาธารณะเพื่อคน ทุกคน ด้วยแนวคิด We can make the best for all. โดยโจทย์ได้กำหนดพื้นที่ต้นแบบเพื่อการประกวดแบบแนวความคิดพัฒนาหรือปรับปรุงอาคารสถานที่หรือสถานีขนส่งผู้โดยสาร 4 ภูมิภาค คือภาคเหนือ สถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.เชียงราย (แห่งที่ 2) ภาคใต้และภาคตะวันตก ท่าอากาศยานนานาชาติ จ.ภูเก็ต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟ จ.ขอนแก่น และภาคกลางและภาคตะวันออก ท่าเรือศรีราชา จ.ชลบุรี
งานนี้ นักศึกษาทีม Shea Butter ชั้นปีที่ 3 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ซิวรางวัลชนะเลิศได้ถึง 2 ทีม ประกอบด้วย ทีม SN(A)CK ชนะเลิศในภาคใต้และภาคตะวันตก ท่าอากาศยานนานาชาติ จ.ภูเก็ต และ ทีม Shea Butter ชนะเลิศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟ จ.ขอนแก่น
ทีม SN(A)CK ประกอบด้วย เอิร์ท- นายชาญณรงค์ อินทชัยศรี, บอส-นายอธิปภัคคิ์ ตรีธีรโรจน์, จุย-นายศุภกิตติ์ ช่วยชาติ และ น็อต-นายไนยชน พุ่มทอง กล่าวว่า ใช้แนวคิด ที่ว่า Inclusive ในการพัฒนาหรือปรับปรุง ท่าอากาศยานภูเก็ต อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ออกแบบพื้นที่ให้ทุกคนสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยไม่ รู้สึกถึงการแบ่งแยก และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยว ข้อง เช่นจากเดิม รูปแบบเส้นทาง ผู้พิการมีลักษณะเป็น Warning Block ซึ่งคนทั่วไปไม่ได้มีส่วนร่วมในการใช้งาน จึงก่อเกิดความรู้สึกที่แบ่งแยก จึงเกิดแนวคิดเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานในพื้นที่เดียวกันได้ โดยไม่รู้สึกอึดอัดและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันของผู้ที่มาใช้งานในอาคาร ขณะเดียวกันคำนึงถึงระยะมองเห็นและการเลือกใช้สีฟ้าและสีเหลือง ซึ่งเป็นสีสากลที่มีผลต่อการมองเห็น ใช้วัสดุเป็นพื้นยางสังเคราะห์เพื่อให้ทนทานต่อการใช้งาน และปรับเพิ่มที่นั่งสำหรับ ผู้พิการหรือพื้นที่สำหรับจอดรถเข็นผู้พิการ ปรับทางลาด ปรับพื้นผิวต่างสัมผัสและสถานที่
ติดต่อ โดยรวมแล้วใช้การออกแบบผสมผสานเพื่อการ ใช้งานสำหรับทุกเพศทุกวัย สะดวกต่อการใช้บริการ ปลอดภัย ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง
ส่วนทีม Shea Butter ประกอบด้วย อาย-น.ส.ปิยธิดา เตชะอมรกุล, น้อท-น.ส.รุ้งตะวัน มุ้งน้อย และ บีบี-น.ส.นวิญา การะเกต บอกว่า ในทีมได้ใช้แนวคิดการออกแบบ ที่ว่า Equality of us – เท่าเทียม เท่ากับ เท่ากัน โดยออกแบบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าขอนแก่น ให้ทุกพื้นที่รองรับการใช้งานทุกเพศทุกวัย ไม่แบ่งแยกทั้งบุคคลทั่วไปและผู้พิการ ที่สำคัญคน ทุกคนไม่ได้ต้องการพื้นที่พิเศษ แต่ต้องการพื้นที่ที่มีความเท่าเทียม โดยพัฒนาพื้นที่รับส่งและทางเข้าหลักอาคาร พื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสาร พื้นที่พักคอยสำหรับผู้โดยสารและพื้นที่ในจุดขึ้นลงรถไฟ และย้ำด้วยว่า ทีมเราคำนึงถึงการใช้งานจริง ความต่อเนื่องในการใช้งาน กฎหมายและมาตรฐานการออกแบบ ที่มากกว่านั้นพยายามสร้างบรรยากาศให้เกิดการใช้งานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้วีลแชร์ คนพิการทางการเห็น คนพิการทางการได้ยิน ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ แม่และเด็ก รวมถึงผู้ใช้งานทั่วไป.