รศ.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า มทร.ธัญบุรีได้ลงนาม ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการซ่อม บำรุงอากาศยานกับบริษัท AERO-Bildungs GmbH ประเทศเยอรมนี เพื่อสร้างความร่วมมือในการผลิตบุคลากรทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐานคณะกรรมการและหน่วยงานความปลอดภัยการบินยุโรป (European Aviation Safety Agency หรือ EASA) โดยความร่วมมือกำหนดให้ มทร.ธัญบุรีตั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรม EASA Part-147 เพื่อจัดการเรียนการสอนทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐาน EASA ในระดับ Category A1, B1.1 และ B2
โดยจะแบ่งเป็นหลักสูตรย่อย คือ หลักสูตรแบบ Non-Degree ระยะเวลาประมาณ 2 ปี รับบุคคลทั่วไป หรือบุคลากรที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยานที่ต้องการพัฒนาตนเองเข้าสู่มาตรฐาน EASA, หลักสูตรระดับ ปริญญาตรี 2 ปี และ 4 ปี รับนักเรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรระยะสั้น 35 วันและ 75 วัน สำหรับบุคลากรที่ ทำงานในอุตสาหกรรมด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มทร.ธัญบุรียังได้รับเลือกให้เป็นศูนย์สอบมาตรฐาน EASA ทำหน้าที่เป็นศูนย์สอบวัดความรู้ในโมดูลต่างๆ ตามมาตรฐาน EASA รวมถึงให้ มทร.ธัญบุรีเป็นศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน เช่น หลักสูตร EWIS หลักสูตร FTS หลักสูตร Train the Trainer หลักสูตร Human factor หลักสูตร Legislation เป็นต้น โดยบุคลากรที่ผ่านการอบรมและสอบวัดระดับความรู้ จะได้ใบประกาศที่รับรองโดย EASA สามารถไปทำงานและยื่นขอใบอนุญาต (License) การซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐาน EASA Part-66 ได้
“อุตสาหกรรมการบินมีการขยายตัวเร็ว จะเห็นได้ว่าสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost) ได้ขยายตัวไปทุกจังหวัดการหาบุคลากร ที่สามารถซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้ตามมาตรฐานสากลยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นการสร้างกำลังคนและ พัฒนาศูนย์ซ่อมในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องสำคัญ ภาคการศึกษาจึงจำเป็นต้องสร้างแรงงานเข้าไปรองรับ
โดยที่ผ่านมา มทร.กรุงเทพได้เริ่มดำเนินการแล้ว ส่วน มทร.ธัญบุรีถือเป็นแห่งที่ 2 และจะขยายต่อไปที่ มทร.ล้านนา มทร.อีสาน โดยกลุ่มราชมงคลต้องช่วยกัน ทำเรื่องนี้ เพราะธุรกิจการบินไม่ได้อยู่แต่เฉพาะในกรุงเทพฯ แต่กระจายไปทั่ว ไหนจะมีการบินตรงจากต่างประเทศสู่จังหวัดใหญ่ๆ ตามภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ มทร.ธัญบุรีจะใช้งบประมาณในการจัดสร้างโรงซ่อม ศูนย์อากาศยานขนาดย่อมประมาณ 100 ล้านบาท อยู่ภายใต้การดูแลของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเปิดรับนักศึกษา ปีละ 30 คน” รศ.ประเสริฐ กล่าว
รศ.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า มทร.ธัญบุรีได้ลงนาม ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการซ่อม บำรุงอากาศยานกับบริษัท AERO-Bildungs GmbH ประเทศเยอรมนี เพื่อสร้างความร่วมมือในการผลิตบุคลากรทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐานคณะกรรมการและหน่วยงานความปลอดภัยการบินยุโรป (European Aviation Safety Agency หรือ EASA) โดยความร่วมมือกำหนดให้ มทร.ธัญบุรีตั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรม EASA Part-147 เพื่อจัดการเรียนการสอนทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐาน EASA ในระดับ Category A1, B1.1 และ B2
โดยจะแบ่งเป็นหลักสูตรย่อย คือ หลักสูตรแบบ Non-Degree ระยะเวลาประมาณ 2 ปี รับบุคคลทั่วไป หรือบุคลากรที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยานที่ต้องการพัฒนาตนเองเข้าสู่มาตรฐาน EASA, หลักสูตรระดับ ปริญญาตรี 2 ปี และ 4 ปี รับนักเรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรระยะสั้น 35 วันและ 75 วัน สำหรับบุคลากรที่ ทำงานในอุตสาหกรรมด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มทร.ธัญบุรียังได้รับเลือกให้เป็นศูนย์สอบมาตรฐาน EASA ทำหน้าที่เป็นศูนย์สอบวัดความรู้ในโมดูลต่างๆ ตามมาตรฐาน EASA รวมถึงให้ มทร.ธัญบุรีเป็นศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน เช่น หลักสูตร EWIS หลักสูตร FTS หลักสูตร Train the Trainer หลักสูตร Human factor หลักสูตร Legislation เป็นต้น โดยบุคลากรที่ผ่านการอบรมและสอบวัดระดับความรู้ จะได้ใบประกาศที่รับรองโดย EASA สามารถไปทำงานและยื่นขอใบอนุญาต (License) การซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐาน EASA Part-66 ได้
“อุตสาหกรรมการบินมีการขยายตัวเร็ว จะเห็นได้ว่าสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost) ได้ขยายตัวไปทุกจังหวัดการหาบุคลากร ที่สามารถซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้ตามมาตรฐานสากลยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นการสร้างกำลังคนและ พัฒนาศูนย์ซ่อมในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องสำคัญ ภาคการศึกษาจึงจำเป็นต้องสร้างแรงงานเข้าไปรองรับ
โดยที่ผ่านมา มทร.กรุงเทพได้เริ่มดำเนินการแล้ว ส่วน มทร.ธัญบุรีถือเป็นแห่งที่ 2 และจะขยายต่อไปที่ มทร.ล้านนา มทร.อีสาน โดยกลุ่มราชมงคลต้องช่วยกัน ทำเรื่องนี้ เพราะธุรกิจการบินไม่ได้อยู่แต่เฉพาะในกรุงเทพฯ แต่กระจายไปทั่ว ไหนจะมีการบินตรงจากต่างประเทศสู่จังหวัดใหญ่ๆ ตามภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ มทร.ธัญบุรีจะใช้งบประมาณในการจัดสร้างโรงซ่อม ศูนย์อากาศยานขนาดย่อมประมาณ 100 ล้านบาท อยู่ภายใต้การดูแลของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเปิดรับนักศึกษา ปีละ 30 คน” รศ.ประเสริฐ กล่าว