ทุกวันนี้การเรียนในห้องอาจไม่เพียงพอต่อการศึกษาในปัจจุบันโดยเฉพาะศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจยิ่งต้องได้รับการฝึกฝน ลงมือปฎิบัติ เติมเต็มประสบการณ์ที่เข้มข้น เพื่อเป็นนักบริหารมืออาชีพ
เช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานผสมผสานกับบริการวิชาการจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้าม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ภายใต้หัวเรือใหญ่ ผศ.ดร.นาถรพี ชัยมงคล คณบดีคณะบริหารธุรกิจใช้ห้องปฎิบัติการทางสังคมหรือ “โซเชียล แล็บ”ขับเคลื่อนการเรียนในยุค4.0 รวมถึง บ่มเพาะว่าที่นักบริหารก่อนเข้าสู้โลกการทำงาน โดยให้นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการตลาด ลงพื้นที่จริงในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและธุรกิจเอสเอ็มอี เพื่อศึกษาวิเคราห์และแก้ปัญหาด้านการตลาด
โดยนำสิ่งที่เรียนมาช่วยหาคำตอบเชิงธุรกิจ พัฒนาและต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยช่องทางขายออนไลน์มากขึ้น
โดยการลงพื้นที่ช่วยเหลือชุมชนครั้งนี้ได้ถูกนำมาสะท้อนผ้านการจัดนิทรรศการ”การ์เก็ตติ้งเดย์2018″เรื่องราวจะเด็ดและโดนขนาดไหน”นายว้าก”ไม่พลาดไปเจ๊าะเเจ๊ะไถ่ประสบการณ์เจ๋งๆจากบรรดาวัยโจ๋เหล่านี้เด็ดขาด
เริ่มต้นที่”พร”พรพิชญา รักสะนะวารี ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องหนังบุญเพ็ง จ.สระแก้ว เล่าถึงประสมการณ์ที่ได้สัมผัสมากับตัวว่า”กลุ่มของพรได้สอบถามพูดคุยกับเจ้าของกลุ่มเครื่องหนังบุญเพ็งแบรนด์ BURAWA และร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจนได้โซลูชันในการเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ คือกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานตอนต้น โดยแนะนำให้ออกแบบกระเป๋าใบเล็กสำหรับใส่ธนบัตร เศษสตางค์และบัตรเครดิต เนื่องจากก่อนหน้านี้จะผลิตกระเป๋าที่มีรูปร่างและขนาดใหญ่จึงเหมาะกับผู้ใหญ่มากกว่า และเมื่อกลุ่มเครื่องหนังบุญเพ็งได้ปรับการผลิตขึ้นใหม่ปรากฎว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและได้เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์โดยเฉพาะเพจFacebook จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และมียอดสั่งที่เพิ่มขึ้นด้วย เจ้าของผลิตภัณฑ์ก็เรียนรู้จากเราและพวกเราก็เรียนรู้จากเขาเช่นเดียวกัน การทำธุรกิจทุกวันนี้หากหยุดเรียนรู้ หรือหยุดพัฒนาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จ”
ขณะที่สาวหน้าใส”ปิ้น”สริภัสร์ อัครวีรนนท์ ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนอรรถวีร์ ขนมกง จ.ปทุมธานี ร่วมแชร์ประสมการณ์ว่า”ได้ช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทำการตลาดออนไลน์ และร่วมจัดแสดงสินค้าตามงานต่างๆ ให้กับวิสาหกิจชุมชนอรรถวีร์ ขนมกงสำหรับการออกแบบรรจุภัณฑ์นั้น กลุ่มของปิ่นได้รางวัลชนะเลิศอันดับ1ในงานมาร์เก็ตติ้งเดย์ 2018 บรรจุภัณฑ์หรือแพ็กเกจจิ้ง มีบทบาทด้านการสื่อสารการตลาด จึงได้ปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูดความสนใจตอบโจทย์ทั้งเจ้าของผลิตภัณฑ์และผู้บริโภคโดยเลือกนำเสมอความเป็นไทย ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาตลอด ชอบการเรียนในลักษณะนี้เนื่องจากเรียนแล้วสามารถนำความรู้มาใช้ได้จริงและได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือระหว่างกันและกัน และขอบคุณวิสาหกิจชุมชนอรรถวีร์ ขนมกง ที่ให้ความอนุเคราะห์และเปิดใจเรียนรู้ไปด้วยกัน รวมถึงขอส่งกำลังใจให้วิสาหกิจชุมชนทุกรายโดยเฉพาะขนมไทยโบราณ ให้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง ปรับตัวก้าวเดินต่อไปได้”
“พลอย”ฐิตาภรณ์ โคมลอย ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนฟาร์เห็ดกลางบ้าน จ.ปทุมธานี ส่งเสียงใสๆ มาร่วมแจมว่า “การไปเรียนรู้และลงมือปฎิบัติจริงด้านการตลาด ได้บรรยากาศมากกว่าการเรียนบรรยายในห้อง พลอยและเพื่อนได้ร่วมมือกับผู้ประกิบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกแบบเพ็กเกจจิ้ง และใช้การสื่อสารการตลอด เราเข้าไปค้นหาปัญหาหาทางแก้ไขและเสนอแนะให้กับผู้ประกอบการ
มีอาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำเพิ่มเติม ปัจจบันกระแสด้านสุขภาพยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องถือเป็นข้อดีของธุรกิจฟาร์มเห็ด จึงได้แนะให้ปรับสูตรน้ำเห็ดเพื่อให้ดื่มได้ง่ายขึ้นด้วยวิธีการปรุงรสชาติเพิ่มเติมด้วยน้ำผึ่ง ซึ่งผลตอบรับดีมาก เห็นได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเป็นเครื่องดื่น Function Drinks จึงตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าสายสุขภาพและวัยทำงาน
แนวทางประสบความสำเร็จเช่นนี้กระตุ้นให้ผู้ประกอบการธุรกิจเกิดไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มากยิ่งขึ้น”
ปิดท้ายด้วย”พิมพ์”พิพ์-ชนก ศรีจันทร์ ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนบ้านวังยายฉิม จ.นครนายก เปิดปากบอกว่า”การเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน หรือ Work Integrated Learning เป็นการเรียนรู้ที่แตกต่างจากรูปแบบเดิมที่เรียนมาไม่ได้เรียนแค่ในห้องเรียน แต่ให้นักศึกษาเรียนรู้ไปกับชุมชน สังคม ใชความรู้วิชาการตลาดมาต่อยอดและเพิ่มช่องทางการขายให้กับวิสาหกิจชุมชน ตามความต้องการของชุมชนและเจ้าของธุรกิจอย่างแท้จริง วิสาหกิจชุมชนบ้าน วังยายฉิม เป็นธุรกิจสมุนไพรใบย่านาง เช่น น้ำย่านางสกัดเป็น วุ้นย่านาง รวมถึงแชมพูและสบู่และได้ร่วมวางแผน จัดทำเอกสารเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เข้าสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ยกระดับ 5 ดาวต่อไป ถือเป็นการเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ทำให้เข้าใจบริบืของธุรกิจที่กว้างขึ้น จะติดตามช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนชาวบ้านวังยายฉิมต่อไปเพราะถือเป็นครูการตลาด ที่เปิดพื้นที่ให้นักศึกษา มทร.ธัญบุรี ได้ลงพื้นที่ทำงานจริง อยากเห็นวิสาหกิจชุมชนของประเทศไทยเติมโตเข็มแข็งและหยัดยืนต่อไปได้”
การหาคำตอบในเชิงธุรกิจเพื่อช่วยชุมชนถือเป็นการเชื่อมทฤษดีสู่การปฎิบัติ กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม เติมเต็มประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
สำคัญที่สุดคือ ช่วยผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนให้สามารถแข่งขันและดำเนินธุรกิจยุค 4.0 อย่างเข็มแข็ง…ยั่งยืนแท้จริง…!!!–