กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (24 ต.ค.) มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อจัดตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งได้ผ่านการพิจารณา จากคณะกรรมการกฤษฎีกา (สศก.) เรียบร้อยแล้ว
กรุงเทพธุรกิจ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งกระทรวงใหม่นี้ได้รวม เอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้ามารวมเป็นกระทรวงเดียวกันในชื่อ “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”
คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ ภายในรัฐบาลนี้ หมายความว่าภายใน 1-2 เดือนนี้จะมีการปรับโครงสร้าง เพื่อจัดตั้งกระทรวงใหม่ หลังจากนี้ จะมี พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกระทรวงใหม่นี้อีก 3-4 ฉบับ เพื่อ ให้มีการจัดการโครงสร้างภายในและ การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จัดตั้งคณะทำงานเพื่อร่างพิมพ์เขียวสำหรับการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานและการเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมาย นายกฯประธาน’ซูเปอร์บอร์ดวิจัย’ กระทรวงใหม่คาดว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณปีละ 1.2-1.3 แสนล้านบาท เท่ากับงบประมาณที่จัดสรรให้กับกระทรวงวิทยาศาสตร์ปีละประมาณ 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท และงบประมาณที่จัดสรรให้กับสถาบันอุดมศึกษาผ่าน สกอ.ปีละประมาณ 1 แสนล้านบาท งบประมาณในส่วนนี้จะนำมาจัดสรรเพื่อสนับสนุนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมตามความต้องการและแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว
นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการอุดมศึกษาว่าด้วยการวิจัยและนวัตกรรม หรือ “ซูเปอร์บอร์ดการวิจัย” โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ในการวิจัย กำหนดวาระการวิจัย และกลั่นกรองโครงการการวิจัยที่สำคัญและกรอบการให้งบประมาณการวิจัยตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศและพัฒนาคน โดยจะต้องพิจารณาควบคู่กับระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่จะสนับสนุน การวิจัยและพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งเงื่อนไขในการให้สิทธิ์ของ ผลงานเป็นของนักวิจัยตามกฎหมาย ที่ได้ผ่าน ครม.ไปก่อนหน้านี้ ถือว่าเป็น การส่งเสริมการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาใน ผลงานต่างๆ นำไปสู่การเกิดขึ้นของ สตาร์ทอัพในประเทศมากขึ้น
“การจัดตั้งกระทรวงใหม่ถือเป็น การปฏิรูประบบราชการ เพื่อรองรับ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเตรียมความพร้อมคนไทย เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นไปที่การ ทำงานในด้านวิจัยและการสร้างบุคลากร ร่วมกันการปฏิรูปกฎระเบียบ เพื่อ ช่วยให้งานวิจัยเกิดประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนและปฏิรูประบบงบประมาณ ให้มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ที่สำคัญ และสามารถทำการวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมของประเทศ จะเป็นกุญแจสำคัญใน การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นการกำหนดบทบาทของสถาบันศึกษาแต่ละแห่งที่จะทำ วิจัยในสาขาที่มีความถนัด หรือทำงาน วิจัยเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาและ สนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยที่อยู่ในส่วนกลางก็ทำงานวิจัยเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ส่วนมหาวิทยาลัยที่อยู่ในภูมิภาคก็จะ ส่งเสริมให้ทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่ การเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตร เป็นต้น ครม.ชี้ไม่ใช่ตั้งกระทรวงใหม่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงฯ เป็นสาระที่พูดคุยกันในที่ประชุม ครม. ซึ่งยืนยันว่า ไม่ใช่เป็นการตั้งกระทรวงใหม่แต่ เป็นการบูรณาการหลายกระทรวงมา รวมกัน และตั้งเป้าหมายขึ้นมาเป็น กระทรวงโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุให้ถือเป็นตัวอย่างของการทำงานร่วมกัน ส่วนข้อห่วงใยของกลุ่มสภาวิชาชีพนั้น ได้มีการแก้ไขไปให้ก่อนหน้านี้แล้ว
นอกจากนี้ ร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับการจัดตั้ง อุดมศึกษาฯ มีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 3 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ… ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… และร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่..) พ.ศ…
โดยในส่วนของ ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนา เด็กปฐมวัยนั้น คณะกรรมการอิสระ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เป็น ผู้ดำเนินการยกร่างและเสนอร่างดังกล่าว เข้า ครม.พิจารณา ดังนั้น คงต้องให้ทาง กอปศ. เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว
นักวิชาการชี้โอกาสพัฒนากำลังคน
รศ.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยกับการมีกระทรวงใหม่ ซึ่งบทบาทจะต้องไม่ใช่แค่พัฒนา การศึกษาและการเรียนการสอน แต่จะเน้นการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม และเป็น การเตรียมกำลังคนพัฒนางานวิจัยเพื่อ ตอบรับนโยบายของรัฐบาล บริบทในภารกิจของอุดมศึกษาจึงเป็นภารกิจที่ค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหญ่ และการอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำให้ขาดความคล่องตัว โดยการแยกออกจาก ศธ.นั้นจะต้องคำนึงถึงเรื่องคุณภาพการศึกษา รวมถึง คุณภาพงานวิจัยเป็นสำคัญ นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะต้องคำนึงถึงหน้าที่และบทบาทในส่งเสริมเชื่อมโยงกลุ่มมหาวิทยาลัยทั้งหมด
ทั้งนี้ การแยกออกมาจะเห็นความคล่องตัว ในการบริหาร จึงอยากเห็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษา มีความชัดเจน เพราะการที่สังกัดอยู่ใน ศธ. ทำให้บริบทมีความก้ำกึ่ง จึงต้องมีการแยกเพื่อการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพียงการผลิตบัณฑิต แต่มหาวิทยาลัยต้องผลิตนวัตกรรมและพัฒนาคนไปพร้อมๆ กันด้วย ด้านนายจงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการดำเนินการร่าง พ.ร.บ.ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการพิจารณากลั่นกรองอย่างดีแล้ว
โดยส่วนตัวเห็นด้วยที่ควรจะมีการจัดตั้งกระทรวงดังกล่าว ที่มีการรวม สกอ.และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เข้าด้วยกัน เนื่องจากตอนนี้ ประเทศให้ความสำคัญในงานวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการขับเคลื่อนประเทศ เมื่อสองหน่วยงานซึ่งต้องทำงานควบคู่กัน ก็อาจจะทำให้การบริหารจัดการส่งเสริมงานวิจัยต่างๆ ทำได้ดีมากขึ้น “นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำว่า หลังจาก มีกฎหมายฉบับนี้ต้องมองถึงการนำผลงาน วิจัยมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้ได้อย่างแท้จริง โดยดูถึงความต้องการของตลาดและความร่วมมือกับภาคเอกชนเป็นหลัก” นายสุวิทย์กล่าว