• บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour
Logo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTTLogo RMUTT
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • นโยบายและแผนยุทธศาสตร์
    • สัญลักษณ์
    • หอพระพุทธพิริยมงคล
    • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
    • ทำเนียบผู้บริหาร
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2567 – ปัจจุบัน
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2563 – 2566
    • สภามหาวิทยาลัย
    • สภาคณาจารย์และข้าราชการ
    • ลงนามความร่วมมือ (MOU)
  • เรียนออนไลน์
  • นักศึกษา
  • ศึกษาต่อ
  • วิจัย
  • บริการ
  • Download
  • บริการ E-Mail / Wifi
    • บริการระบบ RMUTT Internet Account
    • ลงทะเบียน/Reset Password E-mail
    • อาจารย์และบุคลากร
    • นักศึกษา
    • โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมฯ
  • ITA
    • ITA 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ปี 2568
    • แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (EIT) ปี 2568
    • กิจกรรม ITA 2568
    • ITA 2562-2567
✕

ธุรกิจมวยไทยดังระเบิดระเบ้อ

  • Home
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ธุรกิจมวยไทยดังระเบิดระเบ้อ
คอลัมน์ ด้วยสมองและสองมือ: นศ.ฝึกงาน ‘มทร.ธัญบุรี’ ดังไกลถึงสหรัฐฯ คว้าพนักงานดีเด่น Marriott New Orleans
1 ตุลาคม 2018
เจลฟิล์มสารสกัดพญายอ พืชสมุนไพรไทยแก้ผื่นคัน
2 ตุลาคม 2018
Published by โยษิตา วะลับ on 2 ตุลาคม 2018
Categories
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ข่าวหนังสือพิมพ์
Tags
  • ข้าว
  • ข่าวหนังสือพิมพ์
  • ธุรกิจ
  • มวย
  • ไทยรัฐ

ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2561
สสว.ดันสุดลิ่มสร้างมูลค่าเศรษฐกิจแสนล้าน
ธุรกิจมวยไทยดังกระหึ่ม สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละ 100,000 ล้านบาท สสว.ดันสุดลิ่ม ส่งเสริมครูมวยไทยโกอินเตอร์พร้อมเร่งสร้างเครือข่ายพัฒนาเอสเอ็มอีไทย จับมือสถาบันอาหาร พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างยอดขายพันล้านบาท
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มวยไทยมีบทบาททั้งในเชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศไทย โดยมูลค่าของมวยไทยที่เกิดขึ้นทั้งในกีฬาอาชีพ กีฬาเพื่อสุขภาพ สินค้าสนับสนุน สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 100,000 ล้านบาท ต่อปี สสว.จึงมีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายมวยไทย โดยเฉพาะการส่งออกครูมวยไทยไปสอนในต่างประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศจีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ธุรกิจมวยไทยได้รับความนิยมมาก จนกลายเป็นกีฬาที่สร้างสุขภาพมีความเป็นอัตลักษณ์ของชาติ แต่ยังขาดแผนแม่บทการพัฒนาเครือข่ายอย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้ สสว.จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายมวยไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มเครือข่ายมวยไทย โดยเน้นการรวมกลุ่มของเครือข่ายต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งรวมทั้งการพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายมวยไทยให้มีศักยภาพด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์มวยไทยให้มีมูลค่ามากขึ้น
นายสุวรรณชัย กล่าวต่อว่า สำหรับการสนับสนุนและส่งเสริมเอสเอ็มอีนั้นเน้นการกระตุ้นความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการและความต้องการของตลาดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อทำให้ผู้ประกอบการในเครือข่ายมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ โดยปีนี้ สสว.ได้รับงบประมาณ 60 ล้านบาท เพื่อนำไปพัฒนาเอสเอ็มอีทั้งการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิต พัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ ยังเน้นการพัฒนาเครือข่ายหรือคลัสเตอร์สมุนไพร โดย สสว.ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ (ผู้ปลูก) กลางน้ำ (ผู้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์) และปลายน้ำ (ผู้จำหน่าย) ในท้องที่ของแต่ละจังหวัด โดยจะนำร่องในพื้นที่ 9 จังหวัด 899 ราย รวมถึงผู้ประสานงานที่แกนนำคลัสเตอร์ 36 ราย อีกทั้งยังได้สนับสนุนผู้ประกอบการร้านขายอาหารบนรถที่สามารถเคลื่อนย้ายไปจำหน่ายได้ทุกๆพื้นที่ หรือฟู้ดทรัคให้มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีมาตรฐาน น่าเชื่อถือ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการราว 600 ราย
ด้านนางลักขณา ตั้งจิตนบ ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลและสารสนเทศ สสว.กล่าวว่า สสว.ได้ร่วมมือกับสถาบันอาหาร จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่ตลาดสากล ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารถิ่น สมุนไพร และเครื่องสำอาง เนื่องจากพบว่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นส่วนใหญ่ของไทยที่ผลิตโดยเอสเอ็มอีและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่ยังประสบปัญหาการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์
“ปัญหาส่วนใหญ่เป็นเพราะขาดการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่มีความสอดคล้องต่อเนื่องกันรวมถึงอาจเป็นเพราะไม่ได้มีการวิเคราะห์ตลาดก่อนจึงส่งผลต่อการรับรู้ และความสนใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น สสว.จึงต้องพัฒนาความรู้ของผู้ประกอบการใน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาหารถิ่น สมุนไพรและเครื่องสำอาง ให้มีความรู้ความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดเป้าหมาย จนสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยที่สินค้ายังสามารถคงอัตลักษณ์ของถิ่นกำเนิดและมีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของตลาด โดยกำหนดเป้าหมายพัฒนาผู้ประกอบการ 2,000 ราย ผ่านการพัฒนารวม 1,000 ผลิตภัณฑ์ ได้รับการพัฒนาแบบเข้มข้นสามารถสร้างยอดขายได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี”
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า สถาบันอาหารได้จัดทีมผู้เชี่ยวชาญไปจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ความรู้พื้นฐานด้านมาตรฐานสินค้าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างอัตลักษณ์และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์” ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 14 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี สระบุรี ภาคเหนือ ได้แก่ น่าน พิษณุโลก ภาคอีสาน ได้แก่ ขอนแก่น อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี และภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี สงขลา ยะลา สตูล มีผู้เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 2,005 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการอาหารและสมุนไพรรวมกันจำนวน 1,780 ราย และผู้ประกอบการเครื่องสำอางจำนวน 225 ราย.

Share
0
โยษิตา วะลับ
โยษิตา วะลับ

Related posts

25 กรกฎาคม 2025

มทร.ธัญบุรี หารือร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เดินหน้าจัดตั้ง “AI Center for SME”


Read more
24 กรกฎาคม 2025

ขอเชิญชวน ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานพิเศษเงินรายได้ (สายผู้สอนและสายสนับสนุน) สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


Read more
24 กรกฎาคม 2025

“ขอเชิญข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานพิเศษเงินรายได้ (สายผู้สอนและสายสนับสนุน) สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


Read more
23 กรกฎาคม 2025

สถานีวิทยุกระจายเสียง มทร.ธัญบุรี FM 89.5 MHz จัดการประชุมออนไลน์กับ มทร.อีสาน กระชับความร่วมมือด้านการนำเสนอข่าวสารสู่หลากหลายแพลตฟอร์ม


Read more

Comments are closed.

สร้างและพัฒนาโดย.ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Rajamangala University of Technology Thanyaburi
ที่อยู่ : 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ติดต่อเรา

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน :
     Facebook :@oregrmutt
     Website :www.oreg.rmutt.ac.th
     E-mail : oreg@rmutt.ac.th

กองประชาสัมพันธ์ :
     E-mail : rmutt_news@rmutt.ac.th

ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ :
     Facebook :@WeblogRMUTT

  • มทร.ธัญบุรี หารือร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เดินหน้าจัดตั้ง “AI Center for SME”25 กรกฎาคม 2025
  • มทร.ธัญบุรี โชว์ศักยภาพ นำผลงานวิจัยและแฟชั่นโชว์ร่วมงาน Pathum Innotech Expo 2025 ยกระดับสินค้าศักยภาพปทุมธานี24 กรกฎาคม 2025
  • ขอเชิญชวน ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานพิเศษเงินรายได้ (สายผู้สอนและสายสนับสนุน) สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี24 กรกฎาคม 2025
  • “ขอเชิญข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานพิเศษเงินรายได้ (สายผู้สอนและสายสนับสนุน) สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี24 กรกฎาคม 2025

แผนที่การเดินทางมา มหาวิทยาลัยฯ

Copyright © 2022 Rajamangala University of Technology Thanyaburi
  • บุคลากร
  • ศิษย์เก่า
  • ห้องสมุด
  • คณะ / หน่วยงาน
  • การประชาสัมพันธ์
  • บริการสังคม
  • ITA
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
  • RMUTT VR Tour