ท่ามกลางการแข่งขันทุกรูปแบบในโลกยุค Disruptive World ที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในโลกธุรกิจแต่ยังเข้าไปเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน การพัฒนาและสร้างบุคลากรที่ไม่เพียงแค่เดินได้ทันแต่ยังก้าวได้ไวกว่ากระแสโลกจึงกลายเป็นภารกิจใหญ่ของสถาบันการศึกษา แหล่งบ่มเพาะต้นแบบของทรัพยากรมนุษย์ที่จะเข้าไปมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในประเทศตลอดจนสังคมโลกต่อไป การตีโจทย์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างแตกฉาน ทำให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ไม่หยุดอยู่ที่การสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดงานในกลุ่ม 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S – Curve) และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S – Curve) ซึ่งจะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังมุ่งสร้างนักศึกษาให้มุ่งสู่การเป็น “นวัตกร (Innovator)” พร้อมๆ กับการพัฒนาบุคลากรและสร้าง มทร.ธัญบุรี ให้เป็นจุดกำเนิดของ “นวัตกรรม (Innovention)” เต็มรูปแบบ โดยทุกกระบวนการเริ่มนับหนึ่งและเดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบภายใต้การบริหารของ “รศ.ดร.ประเสริฐ ปbนปฐมรัฐ” อธิการบดี มทร.ธัญบุรีคนปัจจุบัน
จากจุดแข็งของ มทร.ธัญบุรี คือ สถาบันหลักผู้สร้างบัณฑิตสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า “บัณฑิตมือเปื้อน” ผลผลิตของมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการวางหลักสูตรการศึกษาให้เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้นจนเป็นอัตลักษณ์ เกิดเป็นบัณฑิตสายอาชีพที่คิดเป็น ทำงานเป็น ที่สำคัญคือแก้ปัญหาเป็น และกระหายต่อการเรียนรู้และความท้าทายรูปแบบใหม่ ซึ่งการต่อยอดให้บัณฑิตที่จบการศึกษามากกว่า 5,000 คนต่อปี ให้มีหน่อของความเป็น “นวัตกร” นั้น สิ่งที่ มทร.ธัญบุรี เริ่มและดำเนินการอย่างจริงจังตลอดหลายปีที่ผ่านมาคือการพัฒนา “ครู” และพื้นที่ทุกตารางเมตรของมหาวิทยาลัยให้พร้อมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมอย่างแท้จริง
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงและการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนา มทร.ธัญบุรี ให้พร้อมรับสถานการณ์ใหม่ภายใต้ภาพของการเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรม” เกิดขึ้นจากการยอมรับว่าปัจจุบันอาชีพในตลาดแรงงานไม่ได้นิ่งและตายตัวเหมือนเช่นในอดีต แต่มีการเกิดขึ้นขององค์ความรู้และอาชีพใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการปฏิรูปการศึกษาที่ตรงจุดที่สุดไม่ได้เริ่มต้นที่นักศึกษา แต่ต้องทำให้เกิดการปฏิรูปที่ “ครู” ก่อน เมื่อครูมีสมรรถนะในวิชาชีพ มีไลเซนส์ยืนยันความรู้ความสามารถ ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรเฉพาะทางจากสถาบันระดับโลก นอกจากองค์ความรู้จะทันสมัยที่สุดแล้ว การสร้างแรงจูงใจพร้อมๆ กับการผลักดันให้ครูผลิตงานวิจัยและทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและภาคเอกชนอื่นๆ ยังทำให้ครูเปลี่ยนจากการเป็นแค่ผู้สอน เป็น One Man Show ในชั้นเรียน สู่การเป็น “Coach” ที่นำรูปแบบสถานการณ์และประสบการณ์จริงมาร่วมสร้างผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบของโครงงาน และการวิจัยในระดับต่างๆ เน้นการลงมือปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับการสร้างทักษะมากกว่าการสอบผ่านข้อเขียนเพื่อให้นักศึกษาทุกคนพร้อมสู่การเป็น “นวัตกร”ที่มีคุณภาพ พร้อมสู่การคว้าโอกาสทุกรูปแบบรวมถึง “การเป็นผู้ประกอบการ” ที่สร้างธุรกิจของตนเองต่อไป
นอกจากนั้นเพื่อสร้างอัตราเร่งให้ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาสามารถพัฒนาเองให้ก้าวเป็น “นวัตกร” ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มทร. ธัญบุรี ได้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนทั้ง 42 หลักสูตรที่ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติขึ้นใหม่ โดยยึดหลัก “ผสานศาสตร์” พัฒนานักศึกษาให้มีความครบเครื่องและตอบโจทย์ทุกความสนใจสำหรับเส้นทางอาชีพในอนาคต ร่วมกับการจัดสรรเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยจัดแบ่งเป็น “กองทุนวิจัยและกองทุนพัฒนาบุคลากร” สำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ของคณาจารย์ และ “กองทุนพัฒนานักศึกษาและกองทุนสหกิจ” ซึ่งมีงบประมาณหมุนเวียนมากกว่า 12 ล้านบาท เพื่อเป็นใบเบิกทางให้กับนักศึกษามีโอกาสเดินทางไปแข่งขัน ตลอดจนเดินทางไปฝึกงานตามความถนัดและความสนใจได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในปีที่ผ่านมา มทร.ธัญบุรี มีนักศึกษาที่ให้งบประมาณของทั้ง 2 กองทุนเดินทางไปประกวดแข่งขันและเดินทางไปฝึกภาคปฏิบัติในต่างประเทศรวมกว่า 540 คน
อย่างไรก็ตามด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลของอธิการบดี ที่เห็นว่าการสร้าง “นวัตกร” ไม่จาเป็นต้องรอสร้างผ่านการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น แต่สามารถสร้างได้ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ไปจนถึงประถมศึกษา ดังนั้น มทร.ธัญบุรี จึงก่อตั้ง “โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อฝึกความคิด สร้างกระบวนการสนับสนุนการเป็น “นวัตกร” ให้กับคนไทยให้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้
“ในอนาคตข้างหน้าทุกอาชีพจะมีความสำคัญเท่ากันหมด หากการเรียนการสอนออกแบบได้ตรงตามความต้องการของผ้เรียน ไม่เพียงเสริมองค์ความร้อย่างตรงจุด แต่ยังสามารถขับศักยภาพของผ้เรียนได้มากขึ้นถึง 10 เท่า สำหรับ มทร.ธัญบุรี เราอยากสร้างนักศึกษาตั้งแต่เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ที่ค่อยๆ กลิ้งผ่านองค์ความร้และประสบการณ์จนเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ เป็น “นวัตกร” ที่ไม่ได้เกิดจากการถ้กชุดแต่ไร้ซึ่งผลึกของความร้และความเข้าใจในฐานะผ้สร้างนวัตกรรมอย่างแท้จริง นักศึกษาของ มทร.ธัญบุรี ตั้งแต่วันนี้ไปจนอีกกี่ปีข้างหน้าก็ตาม จะต้องเป็น “นวัตกร” ทั้งความคิด ความร้สึก ร้ลึกทั้งด้านวิชาการ และตอบโจทย์ทุกวิชาชีพทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป” พลังความคิดสู่วิสัยทัศน์ปักหมุด มทร.ธัญบุรี สู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรม