สยามรัฐ ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
เสกสรร สิทธาคม seksan2493@yahoo.com
“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐาน มั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น20ธันวาคม2516
“พรุ่งนี้ สิ้นเดือน นั่งทำบัญชี เตรียมจ่ายเงินให้ทุกคนที่บ้านไร่ลุงบุญ กำลังรอนำเงินไปซื้อข้าวสาร น้าเพ็ญ ดีใจที่จะมีบ้านหลังแรกจากเงินเก็บออมเงินแต่ละเดือน ดาว ก็ได้ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์คันเก่า เอาไว้รับส่งให้ลูกได้ไปโรงเรียนป้าสาวกำลังจะหมดหนี้ ฯลฯไม่ใช่แค่นี้แต่ทุกๆ คน ฝากความหวังและชีวิตไว้กับเราจากพนักงานออฟฟิศ คนหนึ่ง มีเงินเดือนหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ในวันนั้นที่ใช้เงินแทบไม่พอ เดือนชนเดือน แถมมีหนี้บัตรเครดิต อย่าถามว่าได้ให้พ่อกับแม่เท่าไหร่ แค่ลำพังที่เลี้ยงตัวเองยังแทบไม่ได้เลยกับการลาออกครั้งสุดท้าย และ4ปีที่มีความหมาย ถึงแม้ว่า แต่ละเดือนในตอนนี้ เงินที่ได้มาแล้วจ่ายออกไปนั้น
มันแทบจะเกลี้ยงบัญชี บางทีเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาทแต่ทำไมมันกลับต่างกัน
รู้สึกอิ่มเอมใจ มีความสุข ที่ได้ให้และจ่ายไป อย่างบอกไม่ถูกจะดีแค่ไหน ถ้างานที่เรากำลังทำอยู่นั้น มันสามารถสร้างคุณค่า มอบโอกาส และเติมเต็มส่วนที่ขาดให้กับชีวิตของคนอื่นได้ และวันนี้ ผมก็เข้าใจในความหมายของมันแล้วครับ”
ข้อความที่ถูกถ่ายทอดลงบนเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า Wirod Chimmeeหรือ “เบสท์”เจ้าของเฟซบุ๊ก
วิโรจน์ ฉิมมี เป็นเจ้าของ “บ้านไร่ไออรุณ”ฟาร์มสเตย์ จ.ระนอง บอกวันนี้ดำเนินชีวิตที่ออกแบบได้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นหลักในการออกแบบ บนวิถีของความพอเพียง ที่ต้องมั่นคงในหลักคุณธรรมจริยธรรมนั่นคือความไม่โลภ มีความเพียร อดทน รู้จักอดออม มีความเมตตาด้วยความรักความสามัคคีการรู้จักให้รู้จักแบ่งปันเสียสละ ช่วยเหลือเกื้อกูลมาใช้ในการดำเนินชีวิตและวางแผน บ้านไร่ไออรุณ และการดำเนินชีวิตของเขาเอง
เบสท์ได้รับเลือกจากโครงการ “พอแล้วดีTHE CREATOR”รุ่นที่ 1 ให้เป็น1ใน 13″คนต้นแบบ”ในฐานะนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่มีความเชื่อและดำเนินธุรกิจให้สำเร็จด้วยหลักคิด”พอเพียง+สร้างสรรค์” ด้วยการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ มาเป็นเครื่องมือพัฒนาธุรกิจในท้องถิ่นควบคู่ไปกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ก่อให้เกิดกระบวนการคิดและการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม
“ผมเป็นศิษย์เก่าจากสาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา2552 “มีความฝันอยากออกแบบบ้านได้ด้วยตัวเอง”จึงเลือกสถาปัตยกรรมศาสตร์มทร.ธัญบุรี ที่ภาพรวมแล้วได้สอดแทรกการสอนและกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ ที่สามารถนำเอาความรู้ประสบการณ์จากกิจกรรมไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ก็ที่น้อมนำเอามาใช้นำทางดำเนินชีวิตทุกวันนี้ ผมสำเร็จการศึกษาด้วยเกรดนิยมอันดับที่ 1 เพราะตอนเป็นนักศึกษาก็ยึดหลัก่”ขยัน สร้างสรรค์ ตรงต่อเวลา คิดและลงมือทำ ต่อยอดจากจินตนาการ ลงสู่แผ่นกระดาษ และต้องนำไปสร้างจริงให้ได้”แล้วก็ได้ผลจริงในการใช้ชีวิตแบบจริงๆ ในสังคม”
เบสท์ เล่าว่า หลังเรียนจบมาทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน4ปี เงินเก็บแทบไม่มีเลย ขนาดว่าเราก็ใช้ชีวิตอย่างประหยัดทุกทาง ประทังชีวิตคนเดียวไปวันๆเดือนๆ ขณะที่พ่อแม่แก่ลงทุกวันเกื้อกูลท่านไม่ได้มากมายเลย จึงตัดสินใจลาออกจากงานกลับมาอยู่บ้านเกิด ตั้งใจต้องทำตามความฝันให้เป็นจริง วันแรกที่กลับมาถึง เห็นบ้านทั้งเก่าและโทรมมาก ใช้เงินที่มีอยู่2หมื่นบาท/เป็นเงินเดือนเดือนสุดท้ายลงมือทำตั้งแต่ปรับปรุงบ้านเอาพื้นที่ที่มีอยู่มาสร้างเกษตรเดินตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงฯ มั่นคงหนักแน่นพักหนึ่งเริ่มมีรายได้ซึ่งบางส่วนก็มาจากในสวน,จากการนำผักไปขายบ้าง,ทำสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่ทำได้ขายบ้าง ได้เงินมาเท่าไหร่ก็นำมาทำบ้านทั้งหมดปรับปรุงทำไปเรื่อยๆ ตามกำลังที่มี โชคดีที่พ่อกับแม่ สนับสนุน ลงมือช่วยทำทุกอย่าง จนบ้านเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ มีความสุขเพราะอย่างน้อยก็ได้ดูแลคุณพ่อคุณแม่ใกล้ชิด
ชลธิชา ศรีอุบล: กองปชส.
มทร.ธัญบุรี: ข้อมูล