มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561
www.facebook.com/prcdd
“นักวิชาการพัฒนาชุมชน” หรือ “พัฒนากร” ข้าราชการในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระจายตัวทำงานอยู่ทั่วทุกพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน ชุมชน ทั่วประเทศ เรียกได้ว่าเป็นบุคลากรที่ทำงานใกล้ชิดกับ ชาวบ้านมากที่สุด ในบางครั้งก็ได้รับการเรียกขานเป็นกันเองจากชาวบ้านว่า “ผู้จัดการตำบล”
ภารกิจหน้าที่ของบุคลากรสังกัด กรมการพัฒนาชุมชนในส่วนของการบำบัด ทุกข์บำรุงสุขให้แก่พี่น้องประชาชนที่อยู่ใน หมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยนั้น มุ่งให้ทำงาน เน้นหนักในมิติด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก จึงเป็นที่มาของเป้าหมายของกรมการพัฒนาชุมชนที่ว่า “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและ ชุมชนพึ่งตนเองได้ภายในปี 2564” ซึ่งเป็น การดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560 – 2564 ที่สอดคล้อง กับกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
ล่าสุดนี้กรมการพัฒนาชุมชนเพิ่งเริ่มโครงการใหม่ในชื่อ “โครงการฝึกอบรมหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร พช. รุ่นใหม่” หรือ “CD Talent” ซึ่งมาจากแนวคิดของ หัวเรือใหญ่ “อภิชาติ โตดิลกเวชช์” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน “สิงห์ดำ รุ่น 31” ที่เพิ่งได้รับการประกาศยกย่องเป็น “นิสิตเก่า รัฐศาสตร์จุฬาฯ ดีเด่น ประจาปี 2561” จากสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการนี้ กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี และมูลนิธิคนกล้าคืนถิ่น โดยมุ่งไปที่การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรของ กรมฯ ให้มีทักษะที่เข้าใจและเข้าถึงรูปธรรมของการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง และสามารถต่อยอด รวมถึงขยายผลไปสู่การพัฒนาชุมชนสู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนได้ ว่ากันอย่างง่ายก็คือ หลังจากรู้เรื่องทฤษฎีผ่านหลักสูตรการอบรมต่างๆ ที่กรมฯ จัดขึ้นแล้ว จะต้องมีทักษะของการปฏิบัติได้จริง แก้ปัญหาจากของจริง เพื่อที่จะไปถ่ายทอดให้แก่ชาวบ้าน ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน และแนะแนวทาง แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงๆ ของชาวบ้านได้ด้วย
งานนี้กรมการพัฒนาชุมชนจึงเปิด รับสมัครบุคลากรของกรมฯ เป้าหมายคือ 600 คน โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้สมัครจะต้องเขียนความตั้งใจหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ ว่าจะดำเนินการอย่างไรในพื้นที่ของตน และ ส่งผังพื้นที่เป้าหมายขนาด 100 – 400 ตารางวา ที่พร้อมจะลงมือปฏิบัติจริงตามแผนงานหลัง ผ่านการฝึกอบรมแล้ว โดยการปักหมุดโลเคชั่นพื้นที่บนเว็บไซต์ http://map.google.com และต้องระบุสิ่งที่มีในพื้นที่โดยรอบ เช่น ต้นไม้ แหล่งนา โรงเรือน ฯลฯ ให้รู้ด้วย งานนี้เรียกว่า มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายชัดเจน รวมถึง ยังเป็นบูรณาการความร่วมมือระดับท้องถิ่น ได้ด้วย เพราะเท่าที่ได้ยินได้ฟังมา พื้นที่เป้าหมายของผู้เข้าร่วมโครงการบางคนนั้นอยู่ในบริเวณ
ที่ว่าการอำเภอที่นายอำเภอท่านอนุญาต เพื่อจะได้เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านที่มาติดต่องาน ที่ว่าการอำเภอไปด้วยในคราวเดียวกัน
หลังผ่านกิจกรรมแรกซึ่งเป็น กระบวนการคัดเลือกแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้ง 600 รายที่ผ่านการคัดเลือกก็จะต้องเข้าสู่กิจกรรมที่ 2 ที่เรียกกันว่ากระบวนการบ่มเพาะบุคลากร พช. รุ่นใหม่ : CD Talent ซึ่งเป็น การพัฒนาตนเองด้วยวิถีการพึ่งตนเองฐานเกษตร ณ บ้านบ่มเพาะ จานวน 10 แห่ง ภายใต้การดูแลของมูลนิธิคนกล้าคืนถิ่น โดยกำหนดระยะเวลารอบละ 5 วัน 4 คืน จานวน 2 รอบ รอบละ 30 คนโดยประมาณ
ต่อ 1 แห่ง เพื่อปลูกฝังวิถีการดำเนินชีวิตโดย เริ่มจากตนเอง ที่เรียกกันว่า “คนกล้าพัฒนากรคืนถิ่น” โดยเพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ในช่วงเวลาต่อจากนี้ราว 5 เดือน คือตั้งแต่มีนาคมไปจนถึงกรกฎาคม อยู่ในช่วงของกิจกรรมที่ 3 ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและเติมเต็มองค์ความรู้ สนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ฝึกปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือการลงมือทำตามแผนงานที่ได้ เสนอไว้เมื่อคราวสมัครเข้าโครงการในพื้นที่ 100 – 400 ตารางวาที่ว่านั้น โดยระหว่างนี้จะมี ทีมวิทยากรจากทั้งกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี และมูลนิธิคนกล้าคืนถิ่น ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการบ่มเพาะอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะเข้าสู่กิจกรรมที่ 4 ที่จะต้องสังเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน เป็นองค์ความรู้ที่จะแลกเปลี่ยนแบ่งปันให้แก่บุคลากรอื่นๆ ใน กรมการพัฒนาชุมชน รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจได้ด้วย
โครงการดีๆ แบบนี้ น่าเชื่อว่าเมื่อแล้วเสร็จ กรมการพัฒนาชุมชนจะสามารถสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีทั้งความรู้และทักษะ เพื่อไปทางานร่วมกับชาวบ้านชุมชนทั่วประเทศบนพื้นที่จริงที่พร้อมจะเดินหน้าและแก้ไขปัญหาร่วมกับชาวบ้าน สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จากฐานรากได้อย่างแท้จริง…
กรมการพัฒนาชุมชน ภูมิใจที่มีส่วนสนับสนุนให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้