โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้ ดิจิทัลคอนเทนต์ ในการจัดการเรียนการสอน
ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น ๒ ห้องประชุมวิทยบงกช
และอาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ (๑๓ ชั้น) ชั้น ๒ ห้อง ๒๐๑
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจหลักในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันกับยุคศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งการเรียนการสอนโดยใช้ดิจิทัลคอนเทนต์เป็นเครื่องมือในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาชั้นพื้นฐาน อาทิ มัลติมีเดีย, แอนิเมชั่น, ซอฟต์แวร์, เกม หรือบล็อกต่างๆ นั้น ล้วนเป็นภารกิจที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย (Thailand Education Reform) ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ทั้งนี้ เพื่อให้การบูรณาการการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ ยุทธศาสตร์ที่ ๑๑ คณะทำงานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้ดิจิทัลคอนเทนต์ในการจัดการเรียนการสอนขึ้นเพื่อมีส่วนร่วมช่วยภาระกิจของคณะทำงานกลุ่มย่อยที่ ๓ กล่าวคือคณะทำงานกลุ่มที่ ๓ (ครูต้นแบบยุคดิจิทัล) คณะทำงานด้านพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครู และการมีส่วนร่วมของชุมชน ภารกิจ จัดหลักสูตร และอบรมครู เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการสร้างแรงจูงใจและเป็น “พี่เลี้ยง” ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้ามามีบทบาทในภาคการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น แนวโน้มวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเน้นตัวผู้เรียนเป็นหลักแทนการเน้นตัวผู้สอน ผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งการนำสื่อดิจิทัลมาช่วยในการเรียนการสอนทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตนเองโดยไม่มีข้อจำกัด และทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ดังนั้นความสามารถในการใช้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถือเป็นทักษะสำคัญสำหรับการประกอบภาระกิจประจำและปฏิบติงานทุกประเภททุกระดับ โดยเฉพาะ “ครูและบุคลากรทางการศึกษา”
เมื่อตระหนักถึงความสำคัญนี้แล้ว การประเมินวัดความรู้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เทียบเท่าระดับสากลจึงถือเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้เทียบเท่านานาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงสนับสนุนส่งเสริมให้ครู ที่เข้าร่วมโครงการให้ได้รับโอกาสสำคัญในการเข้าทดสอบวัดความรู้พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรับประกาศนียบัตรที่รองรัลความรู้และทักษะคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเป็นประกาศนียบัตรที่ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน IC3 Digital Literacy Certification
จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้ ดิจิทัลคอนเทนต์ ในการจัดการเรียนการสอนขึ้น เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้โปรแกรมสำนักงาน เครื่องมือออนไลน์ รวมถึงการผลิตและใช้สื่อดิจิทัลคอนเทนต์ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๑ เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทำ เผยแพร่ และใช้ ดิจิทัลคอนเทนต์ ในการเรียนการสอน
๒.๒ เพื่อพัฒนาครูให้มีทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำนักงาน และสื่อออนไลน์ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ และสร้างดิจิทัลคอนเทนต์ในการเรียนการสอน
๒.๓ เพื่อให้ครูได้ระบการทดสอยบและการวัดความรู้พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีและการประเมินผลสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับมาตรฐานสากล
๒.๔ เพื่อบงชี้สมรรถนะและความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นค่าสถิติที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม และใช้เป็นเกณฑ์ในการพัฒนากำลังคนได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
๓.๑.๑ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนไม่น้อยกว่า ๑,๑๒๕ คน มีความรู้ ความสามารถในการใช้โปรแกรมสำนักงาน และเครื่องมือออนไลน์ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการผลิตและใช้สื่อดิจิทัลคอนเทนต์ในการจัดการเรียนการสอน
๓.๑.๒ ได้ผลงานดิจิทัลคอนเทนต์ ไม่น้อยกว่า 180 ชิ้นงาน
๓.๒.๑ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ ความสามารถในใช้โปรแกรมสำนักงาน เครื่องมือออนไลน์ รวมถึงการผลิตและใช้สื่อดิจิทัลคอนเทนต์ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๒.๒ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านการอบรม สามารถผลิตสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ได้