สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดงานแถลงข่าวความก้าวหน้าการดำเนินโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs (Turnaround) ณ ห้องบอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา
จากแนวนโยบายที่ สมคิด จาตุศรพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจได้มอบไว้ให้กับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นี้เอง ที่สาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ได้นำมาขยายผล เป็นโครงการสร้างเสริมศักยภาพให้กับ SMEs ไทยทั่วประเทศ โดยในการดำเนินการได้มีการแบ่งกลุ่ม SMEs เพื่อประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมและกลุ่ม SMEs “Turnaround” หรือผู้ที่ต้องการฟื้นฟูธุรกิจของตนก็เป็นอีกหนึ่ง กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในโครงการนี้ ซึ่ง สาลินี ได้กล่าวถึงการจัดโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs(Turnaround) ว่า “คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ (Turnaround) ภายใต้วงเงินงบประมาณ 200 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 และตั้งเป้าหมายจะชว่ ยเหลอื ผปู้ ระกอบการจำนวน 10,000 ราย สสว. จึงได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในช่วงต้นปี 2559 จนถึงเดือนกันยายนนี้ โครงการนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมทั้งหมด 13,600 รายผ่านคุณสมบัติได้รับการคัดเลือกเพื่อรับคำปรึกษาแนะนำแล้วทั้งสิ้น 12,816 ราย ถือว่าเกินกว่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้โดยในจำนวนนี้เป็นนิติบุคคล 5,000 ราย และหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญจาก มทร.ธัญบุรี ได้เข้าวิเคราะห์ธุรกิจในเชิงลึกแล้วพบว่า มีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ 4,000 ราย สสว. ช่วยประสานให้ปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมได้ 2,000 ราย”
นี้มีผู้สมัครเข้าร่วมทั้งหมด 13,600 ราย ผ่านคุณสมบัติได้รับการคัดเลือกเพื่อรับคำปรึกษาแนะนำแล้วทั้งสิ้น 12,816 ราย ถือว่าเกินกว่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้โดยในจำนวนนี้เป็นนิติบุคคล 5,000 รายและหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญจาก มทร.ธัญบุรี ได้เข้าวิเคราะห์ธุรกิจในเชิงลึกแล้วพบว่า มีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ 4,000 ราย สสว. ช่วยประสานให้ปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมได้ 2,000 ราย”
เรื่อง : ประอรพิชญ์ คัจฉวัฒนา ภาพ : จิรวุฒิ ล้ำเลิศกิจ, จิรภัทร กริ่มใจ
หากพูดถึงประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย ปฏิเสธไม่ได้ว่า ใครหลายคนย่อมคิดถึง ประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับต้นๆ เพราะจากการสำรวจล่าสุด ญี่ปุ่นก็ยังครองตำแหน่งประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
แล้วอะไรที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ว่านี้… เมื่อศึกษาลึกลงไปจะพบว่า ภาคอุตสาหกรรมที่มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนประเทศญี่ปุ่น นั่นคือ SMEsจำนวน 3.7 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99 ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งประเทศและสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้สูงถึง 15 ล้านล้านบาท
ข้อเท็จจริงนี้จึงเป็นบทพิสูจน์ได้อย่างดีว่า พลังของ SMEs ที่มีความแข็งแกร่งสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้อย่างมั่นคง ส่งผลให้ตัวเลข GDP ของประเทศให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้ และไม่ใช่แค่ SMEs ญี่ปุ่นที่ทำได้ ทว่า SMEs ไทย ก็สามารถทำได้ เช่นกัน เพียงแค่ทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องพร้อมจะผนึกกำลังกันเพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งให้ SMEs ไทย
ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแนวคิดที่ รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เชื่อมั่นมาตลอดการดำเนินงานในโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs (Turnaround)ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทย และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มโครงการนี้
“มทร.ธัญบุรี เช่อื ม่นั ว่าเรามีศักยภาพที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม Turnaround ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้เพราะเรามีคณาจารย์จากหลายคณะที่พร้อมจะถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการฟื้นฟู การสร้างกิจการของ SMEs กลุ่มนี้ได้จริง ขณะเดียวกัน มทร.ธัญบุรี ยังมีผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆ จากการคิดค้นของคณาจารย์และนักศึกษา ที่นำไปต่อยอดทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการได้ รวมถึงมีความพร้อมในด้านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายด้าน ที่จะเป็นแหล่งทดสอบและเทียบมาตรฐานหรือห้องแล็บ เพื่อรองรับการปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างตรงจุด”
มทร.ธัญบุรี ต้องรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกิจให้กับพวกเขาตลอดไป เพราะเรามีความตั้งใจที่จะเป็น Think Tank ให้กับ กลุ่ม SMEs ของไทย
เรื่อง : ประอรพิชญ์ คัจฉวัฒนา ภาพ : จิรวุฒิ ล้ำเลิศกิจ, จิรภัทร กริ่มใจ
ด้วยตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้ โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs (Turnaround) จึงได้เชิญชวนให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Development Bank มาร่วมเป็นอีกหนึ่งเจ้าภาพหลักในการจัดโครงการนี้ เพื่อเติมเต็มศักยภาพของกลุ่ม SMEsTurnaround ให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจและขยายธุรกิจได้อย่างมั่นคง มงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มแห่งประเทศไทย หรือ SME Develop-ment Bank กล่าวถึงบทบาทของธนาคารในการพัฒนา SMEs ไทย ว่า
“ด้วยพันธกิจของธนาคารที่ชัดเจนว่า เราเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนามุ่งช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs ไทยจึงต้องมีบริการทางการเงินให้กับกลุ่ม SMEs ที่แตกต่างกับธนาคารพาณิชย์หรือระบบของสถาบันการเงินอื่นๆ และขณะเดียวกัน ต้องเป็นบริการที่ธนาคารรัฐอื่นไม่มีด้วย โดยมุ่งไปที่ผลประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดกับกลุ่ม SMEs ไทย ซึ่งเราแบ่ง SMEs ออกเป็นกลุ่ม เพื่อเอื้อต่อการนำเสนอการสนับสนุนทางการเงินที่เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยเราเชื่อมั่นว่าหนึ่งในแนวทางที่จะทำให้ SMEs ไทยเจริญเติบโตได้ คือ ผู้ที่ดำเนินธุรกิจในนามบุคคล ต้องขยับขึ้นไปเป็นนิติบุคคลให้ได้ และผู้ที่เป็นนิติบุคคลอยู่แล้วก็ต้องพัฒนาตนเองให้มีบัญชีเดียว ยื่นเสียภาษีถูกต้อง เพื่อทราบถึงต้นทุนและการตัดสินใจในการขยายธุรกิจอย่างเป็นระบบด้วย”
เนื่องจากกลุ่ม SMEs ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มงคลจึงแนะแนวทางว่าต้องเริ่มจากการพัฒนามาตรฐานประสิทธิภาพ และนวัตกรรม จากนั้นขยายตลาดสู่การส่งออก ที่ผ่านมาประเทศไทยสนับสนุนแต่บริษัทใหญ่เพื่อ
ส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศแต่ตอนนี้ ต้องมาสนับสนุนให้ SMEsส่งออกสินค้าออกไปจำหน่ายให้ได้บ้างโดยต้องทำให้สินค้าและบริการของ SMEs ได้รับมาตรฐาน เพื่อพร้อมที่จะทำตลาดผ่านสื่อใหม่อย่างสื่อออนไลน์และระหว่างทาง อาจมี SMEs บางรายที่สะดุดล้ม นี่คือกลุ่ม SMEs “Turnaround” เพราะสิ่งที่ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ขาด คือ ความรู้ด้านการตลาดการจัดการ ไปจนถึงเทคนิคการผลิต ซึ่งตรงนี้ สถาบันการศึกษา จะสามารถเข้ามาเติมเต็มภูมิความรู้ที่ขาดไปได้อย่างดี
“ต้องยอมรับว่า การมีสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เข้ามาร่วมใน โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถSMEs (Turnaround) นับเป็นการมาแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เพราะในเมื่อวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้วว่าสาเหตุของการสะดุดในการทำธุรกิจนั้นมาจากการขาดความรู้ในการทำธุรกิจ พวกเขาก็ต้องได้รับความรู้ในด้านนั้น และเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์มาร่วมตรวจสภาพ คัดกรอง วิเคราะห์สาเหตุ เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาแล้ว ก็ย่อมทำให้กระบวนการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูกิจการนั้นทำได้ง่ายขึ้น”
สุดท้ายแล้ว ในส่วนของ SME Development Bank มงคล กล่าวสรุปว่าในโครงการนี้ ทาง สสว.ได้มอบหมายให้ธนาคารช่วยบริหารกองทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยได้เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนให้กับกลุ่ม SME “Turnaround” ที่เข้าร่วมโครงการอีกรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท วงเงินทั้งหมด1,000 ล้านบาท ซึ่ง กรรมการผู้จัดการ SME Development Bank เชื่อมั่นว่าเงินทุนก้อนนี้จะทำให้ผู้ประกอบการ“Turnaround” มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น สามารถพลิกฟื้นธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
นี่แสดงให้เห็นว่า SMEs หรือที่สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจำกัดความว่าเป็น “คนตัวเล็ก” ในระบบเศรษฐกิจไทยนั้น มีพลังยิ่งใหญ่ สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้มากเพียงใด ด้วยเหตุนี้จึงมีองค์กรหนึ่้งที่ขออาสามาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ทั่วประเทศไทย นั่นคือสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นั่นเอง
ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทย อธิบายถึงบทบาทขององค์กรเพิ่มเติมว่า
“นอกจากการเป็นศูนย์กลางเครือข่ายสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่มีพี่น้อง SMEs อยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ตลอดห่วงโซ่อุปทานแล้ว สมาพันธ์ยังมุ่งมั่นสร้างช่องทางและเครื่องมือ เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการกระจายข่าวสารโครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ไปยังกลุ่มSMEs ทั่วประเทศ โดยในยุคนี้เราจะเน้นสร้างช่องทางสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่าง เฟซบุ๊ก หรือ ไลน์ และสื่อออนไลน์ อย่างเว็บไซต์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวกัน เชื่อมโยงต่อยอด
ธุรกิจ SMEs ทุกแขนงเข้าหากันได้อย่างแข็งแกร่ง ที่สำคัญ ทางสมาพันธ์ยึดจุดยืนในการดำเนินงานเป็น กระบอกเสียงของ“คนตัวเล็ก” และจะรวมพลังคนตัวเล็กขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไกลอย่างยั่งยืน”
สำหรับโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs (Turnaround)
ทางสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยก็เป็นอีกหนึ่งหนว่ ยงานหลกั รว่ มจดั โครงการนขี้ นึ้ โดยมีบทบาทในการกระจายข่าวสารโครงการดีๆ นี้ไปยังผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ทั่วประเทศ ผ่านทางภาคีเครือข่ายสมาชิกของสมาพันธ์เอง และผ่านทางสมาคมชมรม สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มประกอบการธุรกิจทั่วไทยที่มีมากกว่า 100 องค์กร ซึ่ง ดร.ณพพงศ์ ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า
จุดนี้ที่เห็นได้ชัดในการจัดโครงการของภาครัฐที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SMEs คือ การแบ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการที่ชัดเจน อย่างโครงการที่ผ่านมาของ สสว. ที่แบ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการเป็น กลุ่ม Startup กลุ่ม Turnaround และกลุ่ม Regular หรือกลุ่ม Strong SMEs ซึ่งทำให้สามารถแก้ปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ได้ตรงจุด โดยเฉพาะกลุ่ม Turnaround ที่ต้องการการฟื้นฟูธุรกิจที่ดำเนินมาได้ระยะหนึ่งแต่อาจจะพบกับอุปสรรค ไปต่อไม่ได้ จึงต้องการคำแนะนำจากผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาช่วยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งหน้าที่ตรงนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ก็สามารถเข้ามาเติมเต็มในจุดนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดเวลาที่ทำงานร่วมกันในโครงการนี้ เราได้เห็นความพร้อมทั้งในด้านของอาจารย์ที่มีความรู้หลากหลายสาขาวิชา และได้เห็นถึงความตั้งใจ จริงใจ ในการร่วมกันแก้ปัญหากับผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่ม SMEs “Turnaround” จนทำให้หลายธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ที่มาจาก : วารสาร MBA Keep You Informed. No.201 Aug-Sep 2016 www.mbamagazine.net