ผลงานสุดเจ๋งช่วยเกษตรชาวสวนของ นายชัยชุมพล จำรูญ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นอุปกรณ์ที่มีหนักเบา สามารถห่อได้ห้าห่อต่อการใช้งานหนึ่งครั้ง เพื่อลดระยะเวลาและเพิ่มความ สะดวกสบายในการใช้งาน ให้ดีกว่าอุปกรณ์รูปแบบเดิม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเกษตรไทย คือ “อุปกรณ์ช่วยห่อผลไม้ในที่สูง”
เจ้าของผลงาน เล่าว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมส่งออกผลผลิตทางการเกษตร มากมายแต่ปัญหาที่มีในปัจจุบันคือแมลง-ศัตรูพืชและภัยธรรมชาติที่ทำให้ผล ผลิตนั้นเกิดความเสียหายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมักมีปัญหาเกี่ยวกับกากพิษของสารที่ตกค้างอยู่ในผลไม้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การคงอยู่ของสารเคมีบนผลิตผลจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ ระยะเวลาที่ควรเก็บผลไม้ หลังฉีดยาแล้ว ชนิดของสาร ตลอดจนยาจับใบที่เติมลงไปในสารละลายที่เราฉีด กากพิษของสารเคมีบนผลิตผลควรมีปริมาณ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค วิธีป้องกันของเกษตรกร ในปัจจุบันนั้นมีหลายวิธีแต่วิธีที่นิยมใช้มาก คือการห่อ ซึ่งการที่จะห่อด้วยมือทั้งต้นนั้นก็ จะเป็นอะไรที่ลำบาก ส่วนตัวอุปกรณ์รูปแบบ เก่านั้นสามารถห่อได้หนึ่งห่อต่อการใช้งานหนึ่งครั้ง
โดยตนเองทำการเก็บข้อมูลจากเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้ในเขตพื้นที่จังหวัดนครนายก จำนวน 9 คน และและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สรุปผลเกี่ยวกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายบวกกับการศึกษาข้อมูลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลังจากขั้นตอนการเก็บข้อมูลนำข้อมูลทั้งหมดมากำหนดแนวทางการออกแบบในเรื่อง
1. หน้าที่ใช้สอย
2. ความปลอดภัย
3. ความสะดวกสบายในการใช้งานด้วยตนเอง
จึงได้ทำการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยห่อผลไม้ในที่สูง โดยวัสดุส่วนใหญ่ทำมาจากอลูมิเนียม กับพลาสติก ทำให้ตัวอุปกรณ์มีน้ำหนักเบาที่สุดในการใช้งาน สามารถห่อได้ห้าห่อ ต่อการใช้งานหนึ่งครั้ง เพียงบรรจุถุงกับหนังยางใส่ในห่วงที่ออกแบบ สามารถใช้กับต้นไม้ได้สูง 5 เมตร ลักษณะพิเศษของเจ้าอุปกรณ์ช่วยห่อผลไม้ในที่สูง
1. ห่วงที่สามารถหลบได้เมื่อห่อเสร็จ ทำให้อีกห่วงสามารถห่อได้ต่อไปอย่างสะดวก
2. กลไกการทำงานของกลไกมือ เป็นตัวดึงเส้นเอ็นให้กลไกด้านบนทำงาน
3. ด้านหลังของห่วงนั้นติดแม่เหล็กไว้ เพื่อยึดให้ห่วงนั้นติดอยู่ได้
อุปกรณ์ช่วยห่อผลไม้ในที่สูง สามารถนำไปใช้งานกับ มะม่วง มะปราง มะยงชิด ชมพู่ กระท้อน ถือเป็นผลงานอีกหนึ่งชิ้น สำหรับนักออกแบบผลิตภัณฑ์มือใหม่ เป็นเพียงผลงานต้นแบบที่ไม่มีวางจำหน่าย โดยการนำความรู้ที่เรียนมาออกแบบผลงาน ปรบมือให้กับเจ้าของไอเดีย
ที่มา : http://www.news.rmutt.ac.th/archives/53855