การปลูกป่าทดแทน
ใน ขณะนี้ประเทศไทยเรามีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ ประมาณการได้เพียง 80 ล้านไร่เท่านั้น หากจะเพิ่มเนื้อที่ป่าไม้ให้ได้ประมาณร้อยละ40 ของพื้นที่ประเทศแล้ว คนไทยจะต้องช่วยกันปลูกป่าถึง48 ล้านไร่โดยใช้กล้าไม้ปลูกไม่ต่ำกว่าปีละ100 ล้านต้นใช้เวลาถึง 20 ปี จึงจะเพิ่มป่าไม้ได้ครบเป้าหมายที่กำหนดไว้เท่านั้นการปลูกป่าทดแทนจึงเป็น แนวทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวได้พระราชทานมรรควิธี ในการปลูกป่าทดแทนเพื่อคืนธรรมชาติสู่แผ่นดินด้วยวิถีทางแบบผสมผสานกันใน เชิงปฏิบัติดังพระราชดำริ ความตอนหนึ่งว่า” การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผนโดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขา ในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมมือกันสำรวจต้นน้ำในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปรับปรุงต้นน้ำ และพัฒนาอาชีพได้อย่างถูกต้อง”
การปลูกป่า 3 อย่าง ให้ได้ประโยชน์ 4 อย่าง
การปลูกป่าอย่างที่หนึ่ง เป็น การปลูกไว้ใช้สอย พันธุ์ไม้ที่ปลูกเป็นไม้โตเร็ว เช่น ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์ และสะเดา ประโยชน์ใช้ตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ก่อสร้างและหัตถกรรม
การปลูกป่าอย่างที่สอง เป็น การปลูกป่าไว้ใช้เป็นผลรับประทานได้ เป็นไม้พืชผลนานาชนิดเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เช่น มะพร้าว ขนุน มะม่วง มะละกอ กล้วย รวมทั้งพืชผักต่างๆ ตลอดจนผักสวนครัว
การปลูกป่าอย่างที่สาม เป็น การปลูกป่าไว้ใช้เป็นฟืน จะต้องคำนวณพื้นที่ที่ใช้ปลูกตามสัดส่วนของผู้ใช้ จะต้องมีการปลูกทดแทนและระบบหมุนเวียน เพื่อจะช่วยให้มีไม้ฟืนไว้ใช้ตลอดเวลา
ประโยชน์ที่สี่ เป็นผลพลอยได้จากการปลูกป่าทั้งสามชนิดช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย
ใน การปลูกป่านั้นจะต้องปลูกพันธุ์ไม้ประเภทต่าง ๆ คละกันไป โดยมีพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้ผล และไม้ทำฟืน ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้ดินพังทลายในฤดูฝน และรักษาความชุ่มชื้นของดินด้วย เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของราษฎรได้
ดังนั้นเราควรเห็นคุณค่าของการปลูกป่าที่กำลังจะหมดไปเพื่อทนแทนทรัพยากรสู่ธรรมชาติ เพราะทรัพยากรทุกอย่างมีวันหมดไป หากเราไม่ช่วยกันสร้างขึ้นมาทดแทน