โครงการวิจัยมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจรักษาความปลอดภัย ระหว่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ที่มีผลอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 เพื่อให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันจึงได้มีการวิจัยโครงการวิจัยมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพในกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อให้บุคลากรในกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของตนเอง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถจ้างงานได้ตรงกับความต้องการ สถานศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ และจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้ในที่สุด
รศ. ดร. เนตร์พัณณา ยาวิราช ผู้จัดการโครงการวิจัยมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาอาชีพธุรกิจรักษาความปลอดภัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบอาชีพด้านการรักษาความปลอดภัยมีจำนวนมากประมาณ 5 แสนคนและจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการขององค์การ หน่วยงาน และชุมชนในสังคม ดังนั้นการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจรักษาความปลอดภัยนี้จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับสมรรถนะมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประกอบการความเห็นชอบจากผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจรักษาความปลอดภัย เจ้าของอาชีพได้แก่ สมาคม และบริษัท ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรักษาความปลอดภัยในประเทศไทยเห็นชอบให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพนี้ขึ้น โดยองค์การเหล่านี้ได้เข้าร่วมในการจัดทำมาตรฐานอาชีพนี้ได้แก่สมาคมรักษาความปลอดภัยภาคพื้นเอเชีย (ประเทศไทย)สมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทยสมาคมผู้บริหารงานรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทยสำนักงานรักษาความปลอดภัย องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงานบริษัท กัทส์ อินเวสติเกชั่น จำกัดบริษัท ชับบ์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ดูแลรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยให้แก่องค์การหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้นเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยน พัฒนา และผลักดันมาตรฐานวิชาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพธุรกิจรักษาความปลอดภัยในประเทศไทย เพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บุคลากรในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของตนเอง ผู้ประกอบการสามารถจ้างงานได้ตรงกับความต้องการ สถานศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ และจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้ในที่สุด ซึ่งในเบื้องต้นในข้อสรุปการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้อยู่ในอาชีพการรักษาความปลอดภัยมีข้อสรุปร่วมกันคือ ทุกภาคส่วนเห็นด้วยกับการจัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาธุรกิจรักษาความปลอดภัย เพื่อเป็นการยกระดับคนในอาชีพให้มาตรฐานเช่นเดียวกับนานาประเทศทั่วโลกเพื่อทำหน้าที่ป้องกันรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ให้กับบุคคล สถานที่ เช่น โรงงาน โรงเรียน ห้างร้าน บริษัท หน่วยงาน สำนักงาน ธนาคารอุตสาหกรรมต่าง ๆ ท่าอากาศยาน ฯลฯ เป็นต้น
ทั้งนี้จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาธุรกิจรักษาความปลอดภัยในครั้งนี้ประกอบด้วยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงจากองค์การที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทั้งหน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองทัพไทย องค์การทหารผ่านศึก ฯลฯเข้าร่วมในการจุดทำมาตรฐานอาชีพการรักษาความปลอดภัยให้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ อันจะเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับมาตรฐานของทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจรักษาความปลอดภัยในประเทศไทย ช่วยเพิ่มผลิตภาพส่วนบุคคลของบุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งส่งผลดีโดยตรงต่อคุณภาพของชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมส่วนรวม และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย รวมทั้ง ยังรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีที่เกิดจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อีกด้วยนอกจากนี้รศ. ดร. เนตร์พัณณายังได้กล่าวถึงรายละเอียดการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจรักษาความปลอดภัยประกอบด้วยการกำหนดระดับคุณวุฒิการจัดทำมาตรฐานหน่วยสมรรถนะประกอบด้วยสมรรถนะย่อย(Element of Competence) เกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria) ขอบเขต(Range Statement) หลักฐานที่ต้องการทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้(Evidence Requirements) แนวทางการประเมิน(Assessment Guidance) โดยมีกระบวนการในการทดสอบสมรรถนะของบุคคลเพื่อการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ มีการสัมมนาประชาพิเคราะห์ รับฟังความคิดเห็น จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้ประกอบการ บุคลากรและผู้ทรงคุณวุฒิในกลุ่มอาชีพ สมาคม/ชมรม หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และบุคคลโดยทั่วไปเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการยอมรับจากทุกภาคส่วน
ภาพความร่วมมือในการจัดทำมาตรฐานอาชีพคุณวุฒิวิชาชีพการจัดการธุรกิจรักษาความปลอดภัย (Security Business System) โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย และองค์การทหารผ่านศึกเข้าร่วมจัดทำวิจัยร่วมกัน
ผู้บริหารระดับสูง บริษัท ล็อกซ์เล่ย (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท บริษัท เอเชีย ซิเคียวริตี้เมเนจเม้นท์ จำกัด ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพธุรกิจการจัดการรักษาความปลอดภัย
ข่าว/ รศ.ดร.เนตร์พัณณา ยาวิราช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี