3 สถาบันร่วมวิจัยคิดค้นหุ่นยนต์คนป่วยขาพิการผลงานนี้คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โดยใช้ชื่อว่า “PMK EXOSKELETON ROBOT” ตอบโจทย์ผู้ป่วยพิการจากราชการสนามที่มีปัญหาดังกล่าว เช่น สมองไม่สามารถสั่งการข้อและกล้ามเนื้อต่างๆ ให้เกิดการเดินได้อย่างปกติ
“หุ่นยนต์เสริมพลังประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือโครงสร้างอะลูมิเนียมที่มีลักษณะคล้ายกับขามนุษย์ตั้งแต่เอวหรือสะโพกถึงเท้า สะโพกด้านซ้ายและด้านขวาจะยึดติดกับดีซีมอเตอร์ขนาด 350 วัตต์ 24 โวลต์ แกนมอเตอร์ด้านหน้ายึดติดกับเกียร์บล็อก ขนาดอัตราทด 1:50 แกนมอเตอร์ด้านหลังยึดติดกับเอ็นโครเดอร์ขนาด 1,000 รอบ ส่วนหัวเข่าทั้งด้านซ้ายและขวาจะยึดติดกับดีซีมอเตอร์ ขนาด 250 วัตต์ 24 โวลต์ แกนมอเตอร์ด้านหน้ายึดติดกับเกียร์บล็อก ขนาดอัตราทด 1 : 50 แกนมอเตอร์ ด้านหลังยึดติดกับเอ็นโครเดอร์ ขนาด 1,000 รอบ เช่นกัน
ส่วนที่สองเป็นส่วนควบคุมโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นตัวควบคุมแบบ PID Control ทั้งการควบคุมแบบตำแหน่ง และควบคุมความเร็ว
ส่วนที่สาม คือ ซอฟต์แวร์ จะใช้ภาษาซีในการเขียนควบคุมการทำงานทั้งระบบ มีหลักการทำงานคือ เมื่อผู้ป่วยต้องการเคลื่อนที่จะสามารถใช้มือขวาและซ้ายสั่งขาด้านเดียวกันให้ดีซีมอเตอร์ที่สะโพกเคลื่อนที่ทำให้เดินได้ใกล้เคียงหรือเหมือนปกติได้
ในอนาคตจะพัฒนาเพื่อใช้กับผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือเด็กพิการ และผู้ป่วยพิการจากราชการสนามที่ขาขาดทั้ง 2 ข้างระดับสูงๆ ต่อไป