“การทำงานเชื่อมภาคสนามต้องประสบปัญหาด้านราคาน้ำมัน เพราะในการทำงานเชื่อมภาคสนามในปัจจุบันนี้ต้องใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้าขับด้วยเครื่องยนต์มาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานก่อสร้างที่ไม่มีไฟฟ้าใช้และต้องการความสะดวกในการเคลื่อนที่และเมื่อพูดถึงพลังงานทดแทนที่ใช้ในปัจจุบันมีมากมายแต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเมืองที่มีความเจริญแล้วกับชนบทซึ่งการหาพลังงานทดแทนก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนแต่ประเทศไทยยังมีพลังงานทดแทนอีกอย่างคือพลังงานก๊าซชีวภาพซึ่งจากงานวิจัยต่างๆพบว่าเราสามารถผลิตและกักเก็บไว้ใช้เองได้” จากสาเหตุดังกล่าว “สุ” นายสันติ ลูกลิ้ม “กอล์ฟ” นายชนินทร ต่อพงศกร และ “แขก”นายเบญจรักษ์ นาคเรือง
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยมีอาจารย์ชัยรัตน์ หงษ์ทองที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ
เจ้าของไอเดีย เล่าว่า อุตสาหกรรมงานเชื่อมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์และด้านฝีมือของช่างอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งงานเชื่อมในปัจจุบันมีทั้งงานเชื่อมภายในโรงงานและภาคสนามซึ่งต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์แตกต่างกันออกไปโดยงานภาคสนามการใช้เครื่องเชื่อมชนิดต่างๆ เครื่องเชื่อมที่ได้รับความนิยมเป็นเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้าขับด้วยเครื่องยนต์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงปัจจุบันราคาน้ำมันเบนซินในประเทศไทยมีราคาพุ่งสูงขึ้นทุกวันดังนั้นทำให้ จึงประยุกต์นำก๊าซชีวภาพที่ทุกวันนี้มีการพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของสภาพประเทศและการใช้งานของคนไทยซึ่งราคาของเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพมีราคาที่แตกต่างจากเชื้อเพลิงทั่วไปเป็นอย่างมากและยังสามารถจัดหามาใช้ได้เอง
ดังนั้นเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้าขับด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซชีวภาพนี้จะช่วยเป็นแนวทางการประยุกต์การใช้ก๊าซชีวภาพกับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้าขับด้วยเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดีโดยอุปกรณ์การติดตั้งระบบ ประกอบด้วย เครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้า หม้อต้มก๊าซสำหรับเครื่องยนต์เล็ก วาล์วปรับแรงดันหัวถังและท่อก๊าซ ท่อก๊าซ ท่อแวคคั่ม ถังก๊าซ วิธีในการติดตั้งระบบก๊าซเข้ากับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้า เริ่มจากการติดตั้งท่อก๊าซเข้ากับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้า จากนั้นต่อก๊าซเข้ากับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้า
การศึกษาการนำก๊าซชีวภาพมาใช้กับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้า คณะผู้จัดทำโครงการได้จัดทำการทดสอบพบว่าสามารถนำก๊าซชีวภาพมาใช้กับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทเครื่องยนต์ขนาด 5.6 แรงม้า ได้จริง เครื่องยนต์ใช้ก๊าซชีวภาพไป 0.3 กิโลกรัมต่อการเชื่อม 1 ครั้ง ดังนั้น ก๊าซชีวภาพ 1.5 กิโลกรัม สามารถเชื่อมได้ จำนวน 5 ครั้ง การเชื่อมเฉลี่ยสิ้นเปลืองลวดเชื่อม 7 เส้น/ครั้ง ค่าใช้จ่าย 0.254 บาท/กิโลกรัม โดยอัตราสิ้นเปลืองก๊าซชีวภาพ 0.019 บาท/เส้น การซึมลึกเฉลี่ย 0.75 มิลลิเมตร เนื่องจากเครื่องเชื่อมไฟฟ้าสามารถปรับกระแสไฟได้สูงสุดเพียง 105 Amp.ไม่พบรูพรุนหรือโพรงอากาศ (Porasity) และสแลกฝังใน (Slag Inclusion)การแหว่งขอบแนวเชื่อม (Undercut) และการพอกเกยขอบแนวเชื่อม (Overlap) ในการเชื่อมแบบต่อชน เป็นผลงานของนักศึกษาที่สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมขนาดใหญ่ได้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อ.ชัยรัตน์ โทร.086-5115857
ชลธิชา ศรีอุบล
กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี
0-2549-4994