ในการปลูกพืชโดยทั่วไป ต้องเริ่มต้นจากการเลือกพื้นที่ทำการปลูกและการจัดการดิน แต่ในการตรวจและปรับสภาพดินในปัจจุบัน ต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างดินมาตรวจสภาพก่อนแล้วค่อยทำการ ปรับสภาพ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวยังใช้แรงงานคนเป็นหลัก ทำให้เสียเวลาและแรงงานคน จากเหตุผลดังกล่าวนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ประกอบด้วย “เก่ง” จตุรงค์ กิติศักดิ์ ,”เทพ” สุเทพ บูรณะโอสถ , “ดอง” ยุทธศักดิ์ จิตรพิศาล และ “แอม” อิศราภรณ์ เนตรภักดี โดยมี ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ เป็นที่ปรึกษาในการคิดค้นเจ้าหุ่นยนต์ดังกล่าว
เก่ง เล่าว่า ในการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับตรวจวัดและปรับสภาพดินอัตโนมัติ เนื่องจากอยากช่วยลดเวลาและแรงงานของเกษตรกรในการตรวจสภาพดิน และปรับปรุงดิน ซึ่งตนเองและเพื่อนในกลุ่มได้ทำการคิดค้นหุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับตรวจวัดและปรับสภาพดินอัตโนมัติขึ้น
หุ่นยนต์ต้นแบบโดยประกอบด้วย โครงสร้างหุ่นยนต์ที่เป็นอลูมิเนียม เพราะจะได้มีน้ำหนักเบา ชุดสไลด์ สำหรับตรวจวัดสภาพดิน (NPK เซนเซอร์) ชุดควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ ระบบจ่ายน้ำยาปรับสภาพดิน หลักการทำงานของหุ่นยนต์ง่าย เริ่มจากผู้ทำการตรวจสภาพหุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับตรวจวัดและปรับสภาพดินอัตโนมัติ ให้พร้อมกับการทำงาน ทำการเติมน้ำยาปรับสภาพดินลงในกระบอกเก็บน้ำยาของหุ่นยนต์ทั้งสองข้างให้เต็ม นำหุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับตรวจวัดและ ปรับสภาพดินอัตโนมัติติดตั้งให้ค่อมร่องเกษตรที่ต้องการปรับสภาพดิน และทำการเซตค่า
จากนั้นการทำงานจะเป็นไปในแบบอัตโนมัติ โดยชุดควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์จะสั่งงานให้ชุดสไลด์ของหุ่นยนต์ ตรวจวัดสภาพดินที่ทำการเจาะลงไป และส่งผ่านข้อมูลมายังชุดควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ หลังจากนั้นชุดควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ จะทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสั่งให้ระบบจ่ายน้ำยาปรับ สภาพดิน เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเพราะปลูก ทั้งนี้การสั่งการให้หุ่นยนต์ขับเคลื่อนและทำการตรวจทุกๆ 0.50 เมตร กลไกการทำงานของหุ่นยนต์ทำงานง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากเกินไป และผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติได้สะดวกและมีความปลอดภัย ซ่อมบำรุงง่าย อุปกรณ์ชิ้นส่วนหากชำรุด ถอดเปลี่ยนได้ง่ายและมีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด