นางสาวรุ้งนภา เขียวยศ, นายศิริศักดิ์ ยนต์ชัย, นางสาวขนิษฐา นาคเกลี้ยง นักศึกษาและอาจารย์สิริภัทร ชมัฒพงษ์ และ อาจารย์อรษา ชัยชุมพร อาจารย์ที่ปรึกษา จาก ภาควิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยผู้วิจัยเปิดเผยว่า ว่านสากเหล็กเป็นพืชล้มลุก ลักษณะคล้ายพืชพวกปาล์ม ใบเรียงสลับติดกันที่โคนต้น แผ่นใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอกพับเป็นร่องๆ ตามยาวคล้ายใบปาล์ม ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบแผ่กว้างหุ้มลำต้น ดอกมี 6 กลีบ สีเหลืองดอกออกรวมกันแน่น เป็นช่อรูปทรงกระบอกปลายแหลม ผลแก่สีขาวถึงแดง ขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด พบแพร่กระจายในพม่า ตอนใต้ของไทย หมู่เกาะมาเลเซียและบอร์เนียว ทุกๆส่วนของต้นว่านสากเหล็กสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย รวมทั้งมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญโดยเฉพาะฤทธิ์ต้านการอักเสบ รักษาแผลพุพอง หนอง ลดอาการเจ็บปวด บวม นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาขัดผิว แก้ฝ้าจุดด่างดำ
ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระนั้น ทีมวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบการสกัดแยกสารจากใบและรากของว่านสากเหล็ก พบว่าการสกัดสารสกัดหยาบด้วยน้ำอุณหภูมิห้องจากส่วนใต้ดิน (ราก และ เหง้า) ให้อัตราร้อยละของผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือเอธานอลและสารสกัดหยาบด้วยเอธานอลจากส่วนเหนือดิน (ใบ และลำต้น) จากนั้นนำไปศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูนอิสระด้วยวิธี Frap และ DPPH พบว่าสารสกัดหยาบทั้งส่วนเหนือดินและใต้ดินมีฤทธิ์การต้านอิสระสูง โดยสารสกัดหยาบด้วยน้ำร้อนจากส่วนเหนือดิน ให้ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด
ผู้วิจัยยังได้เพิ่มเติมอีกว่า นอกจากว่านสากเหล็กจะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงแล้ว ยังมีรายงานว่า ว่านสากเหล็กสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียกลุ่มก่อโรคทางผิวหนัง Candida albicans,Pseudomonas aeruginosa และ Stapphylococcus aureus จากข้อมูลนี้จะเห็นว่าว่านสากเหล็กมีแนวโน้มที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆได้มากมาย ในเบื้องต้นทีมวิจัยได้ทำการผลิตสบู่ และโลชั่น สารสกัดว่านสากเหล็ก เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่อไป
มณีรัตน์ ปัญญพงษ์
กองประชาสัมพันธ์ราชมงคลธัญบุรี