นางสมพิศ ตันตวรนาท, นายประชุม คำพุฒ,ว่าที่ร้อยโทกิตติพงษ์ สุวีโร,นายธวัชชัย อริยะสุทธิ และนางสาวเดือนเต็ม ทิมายงค์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ออกแบบผลิตภัณฑ์หลังคาดินเผานูนต่ำ-นูนสูง สามารถลดความร้อนในอาคารได้เป็นอย่างดี
โดยได้รับการเปิดเผยจากเจ้าของผลงานว่า การออกแบบ ผลิตภัณฑ์หลังคาดินเผานูนต่ำ-นูนสูง เกิดจากแนวความคิดที่จะพัฒนารูปแบบของผิวหน้า กระเบื้องหลังคาดินเผา ให้สามารถเก็บกักน้ำค้างได้ดีในตอนกลางคืน และสามารถระเหยเมื่อถูกแสงแดดในตอน กลางวัน ทำให้ภายใต้หลังคามีความเย็น ส่งผลให้ภายในอาคารที่พักอาศัยไม่ร้อน โดยทำการออกแบบให้พื้นผิว หน้ามีลักษณะเป็นบ่อบุ๋มลงไป หรือเป็นปุ่มนูนขึ้นมา หรือเป็นสันนูนตามขวาง กำหนดให้มีความห่างของแต่ละจุด ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้แผ่นกระเบื้องหลังคารับแรงได้น้อยลง
หลังคาดินเผานูนต่ำ-นูนสูง ที่ทำการ ออกแบบ สามารถลดการใช้พลังงานภายในห้องพักอาศัยหลังจากทำการมุง ด้วยหลังคากระเบื้องดินเผานูนต่ำ-นูนสูง ลงได้มาก 3 ถึง 5 องศาเซลเซียส ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานภายใน อาคารลงได้ถึงร้อยละ 20
ทั้งนี้ยังสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมี ศักยภาพในการนำไปใช้ทางอื่นได้ อาทิเช่น การทำแบบนูนต่ำ-นูนสูง ให้กับผลิตภัณฑ์หลังคาชนิดอื่น ๆ หรือการนำ ไปใช้กับงานพื้นผิวผนังอาคารที่สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ในตอนสายหรือตอนบ่าย ซึ่งจะช่วยให้ลดการใช้พลังงาน ของอาคารได้ดียิ่งขึ้น
นับว่าเป็นนวัตกรรมที่นำเทคนิคการเก็บกักความชื้นตามธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อย่างชาญฉลาด และปัจจุบันชิ้นงานนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจดทรัพย์สินทางปัญญา ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผิวหน้าหลังคาดินเผา
สำหรับผู้ใดที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่ 02-549-4032
มณีรัตน์ ปัญญพงษ์
กองประชาสัมพันธ์ราชมงคลธัญบุรี