นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและศิลปะสิ่งทอ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประยุกต์ความเป็นไทยนำมาใส่ไอเดียออกแบบเครื่องแต่งกายสู่ความเป็นสากลนายสุระจิตร แก่นพิมพ์ อาจารย์ประจำวิชาออกแบบแฟชั่นและศิลปะสิ่งทอ เล่าว่า การออกแบบชุดราตรีแบบไทยร่วมสมัยโดยใช้แนวคิดจากชุดไทยนำประเพณีผีตาโขนมาเป็นแรงบันดาลใจ ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย และศิลปะการแสดงลิเกสร้างสรรค์ชุดราตรีสตรี ปัจจุบันศิลปะและวัฒนธรรมประเพญีไทยได้ถูกลบเลือนไปด้วย เทคโนโลยีมีวิวัฒนาการความคิดใหม่ของคนสมัยปัจจุบันทำให้ความสำคัญของประเพณีไทยได้ลดน้อยลงไป ดังนั้นนักศึกษาจึงได้นำเอาเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมมาประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงาน เพิ่มมูลค่าให้กับเครื่องแต่งกายเพื่อก้าวสู่เวทีต่างประเทศ
“กอล์ฟ” นายวรณัฐฎ์ วังสุข เจ้าของผลงาน การออกแบบชุดราตรีแบบไทยร่วมสมัยโดยใช้แนวคิดจากชุดไทย เล่าว่า ในการออกแบบชุดในครั้งนี้ต้องการเพิ่มภาพลักษณ์ของศิลปะการแต่งกายของไทยให้มีความหลากหลาย ความทันสมัยและมีบทบาทต่อการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่น โดยการนำเอาลักษณะของการแต่งกายชุดไทยประจำชาติของไทยในรัชกาลที่ 9 มาออกแบบ ชุดที่ 1 โครงร่างของชุดไทยพระราขนิยมเรือนต้น ชุดที่ 2 โครงร่างของชุดไทยพระราชนิยมจิตรลดา ชุดที่ 3 โครงร่างของชุดไทยพระราชนิยมอัมรินทร์ ชุดที่ 4 โครงร่างชุดไทยพระราชนิยมบรมพิมาน ชุดที่ 5 โครงร่างชุดไทยพระราชนิยมดุสิต ชุดที่ 6 โดยใช้โครงร่างชุดไทยพระราชนิยมศิวาลัย ชุดที่ 7 และชุดที่ 8 โครงร่างชุดไทยพระราชนิยมจักรีด้วยการใช้เทคนิคการตกแต่งด้วยการปักวัสดุอื่นๆ
“ปลา” นางสาวทิพย์สุวรรณ สุทธิโอกาส เจ้าของผลงาน ในการออกแบบผู้วิจัยได้นำประวัติความเป็นมาและเครื่องแต่งกายลิเกและศึกษาวัสดุที่นำมาใช้ในการออกแบบชุดราตรีสตรี และนำมาสร้างสรรค์เป็นชุดราตรโดยใช้เทคนิคการปักและเทคนิคการปะติด ประกอบไปด้วยชุดราตรี 6 ชุด
ชุดที่ 1 ออกแบบจากชุดแต่งกายลิเกหญิงและเครื่องประดับชุดลิเกตัวพระชุดที่ 2 นำเครื่องแต่งกายที่มีลักษณะคล้องคอ และเครื่องประดับมาสร้างความโดดเด่น ชุดที่ 3 ประยุกต์มาจากชุดแต่งกายแขนทรงกระบอกของลิเก แขนยาวด้านซ้าย เปิดไหลทางด้านขวา ต่อกระโปรงอัดพีชยาว ชุดที่ 4 ชุดลิเกลักษณะของแขนและเสื้อกั๊ก ออกแบบเป็นชุดราตรียาว คอติดมีปก แขนตั้งทรงกระบอกยาวสามส่วน รูปทรงเข้ารูป ต่อชายกระโปรงโดยการพับซ้อน ชุดที่ 6 สร้างสรรค์มาจากลวดลายของฉากลิเก กลายมาเป็นชุดราตรีทรงเกาะอกคว้านลึกเป็นรูปทรงตัว U ตกแต่งด้วยลูกปัดเส้น
“นิว” นายทนงศักดิ์ บุตรดีศักดิ์ เจ้าของผลงานในการนำประเพณีผีตาโขนมาเป็นแรงบันดาลใจ ในการออกแบบเครื่องแต่งกายยุคปัจจุบัน โดยนำมาประยุกต์กับชุดปาร์ตี้เดรส ลำลองกึ่งปาร์ตี้ สำหรับสตรีวัยทำงาน อายุระหว่าง 21 – 30 ปี ทั้งหมด 6 ชุด ชุดที่ 1 จะอาศัยเทคนิคการปักและระบายไหมญี่ปุ่นสลับสี เสื้อคล้องคอ กางเกงเอวสูงขาบาน ชุดที่ 2 ใช้เทคนิคการจับจีบระบาย และปักเลื่อมเป็นแนวตั้ง เสื้อลักษณะเป็นคอเหลี่ยม ชุดที่ 3 ใช้เทคนิคตัดต่อ โดยสลับเนื้อผ้ากระโปรงเอวสูงทรงเอวยาวถึงข้อเท้า เสื้อเกาะอกมีการเปิดบริเวณระหว่างอก ชุดที่ 4 เทคนิคการตัดต่อผ้า และการปักเลื่อม เสื้อปล่อยหลวมรัดบริเวณเอวกระโปรงเอวสูงทรงตรงผ่ากลาง ชุดที่ 5 เทคนิคการตัดต่อผ้า ตกแต่งด้วยการปักเลื่อม เสื้อคล้องคอเปิดไหล่ทั้งสองข้าง กางเกงเอวสูงเข้ารูปขายาวถึงข้อเท้าชุดที่ 6 เทคนิคการพิมพ์ลายของเสื้อ ลักษณะเหมือนกับชุดว่ายน้ำแบบเกาะอกชิ้นเดียวชุดติดกันตัวนอก ลักษณะชุดติดกันทรงตรงผ้ากลางหลังถึงสะโพกใหญ่ทำจากผ้าไหม
3 ไอเดีย ของว่าที่ดีไซเนอร์ของไทยในอนาคต อนุรักษ์ความเป็นไทยประยุกต์ใส่เทคนิคการออกแบบที่ได้ศึกษามาตลอด 4 ปี ลงไปในแต่ละชุดนำความเป็นไทย เอกลักษณ์