ส่งออก 1000 ล้าน รอวันโต ! ในการปลูกบัวให้เป็นธุรกิจขณะนี้ได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากบัว ที่จนถึงวันนี้ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ยกตัวอย่างในประเทศจีน เขาเอา มาทำเป็นยาสมุนไพร และยังมีความต้องการ บัวอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยเราในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางก็เป็นพื้นที่ซึ่งเหมาะสมกับการปลูก บัว
จริงๆ แล้ว บัวเป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย อีกทั้งในปัจจุบัน ตลาดบัวสวยงามในต่างประเทศเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ทั้งในยุโรป อเมริกา บัวบางสายพันธุ์ถูกนำไปตกแต่งในสถานที่สำคัญ เช่น โรงแรมหรือตามภัตตาคาร บางพันธุ์ มีราคาสูงถึงระดับหมื่น-หลักแสนเลยก็มีเช่น บัวยักษ์ออสเตรเลีย เอทราน (Nymphaea gigantean atrams) ดอกเมื่อบานอยู่ได้ 7 วัน และเปลี่ยนสีในแต่ละวัน ราคากว่า 10,000 บาท รวมถึงบัวหายากและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอย่างประเภทสายพันธุ์บัว จงกลนี ซึ่งพบได้ที่ เดียวในประเทศไทย ดอกบานแล้วไม่หุบ
ขณะที่ตลาดเอเชีย เช่น เกาหลี จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น สนใจในด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปของบัวที่ก็มีมูลค่าทางการตลาดสูงเช่นเดียวกัน” ผศ.ภูรินทร์ กล่าว
ขณะที่รายได้ของเกษตรกร “ผศ. ภูรินทร์” กล่าวว่า “คือถ้าเรามองเรื่องรายได้ แน่นอน เมื่อความต้องการของตลาดมีมากกว่าผลผลิต รายได้ของบัวนั้นเป็นสิ่งที่หลายคนนึกไม่ถึง และเกษตรกรที่มีพื้นที่ทางการเกษตรไม่มากก็สามารถลงทุนทำได้เช่นเดียวกัน โดยทาง มทร.มีข้อมูลรวมถึงผลการวิจัยในด้านต่างๆ ที่พร้อมให้การสนับสนุน
รายได้ของเกษตรกรต่อ 1 ไร่ เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 50,000-60,000 เดือนหากหักต้นทุนแล้วก็จะเฉลี่ยเดือนละประมาณ 25,000 บาทต่อไร่ บัวเก็บได้ปีละหลายครั้ง ถ้ามองจากรายได้ในส่วนนี้สูงกว่าการทำนาอีก ฉะนั้นการทำนาบัวจึงกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเป็นอีกรายได้เสริมสำคัญนอกเหนือจากการปลูกพืชหลักหรือทำนาของชาวนาชาว สวนบ้านเรา แต่ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ดี และทางมทร.ที่ได้รณรงค์เรื่องการอนุรักษ์บัว มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีพิพิธภัณฑ์ “บัว” ที่มีการบูรณาการมาใช้กับการเรียน การสอน ในหลายคณะวิชาของมหาวิทยาลัย อันเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นหนึ่งในแนวคิดทื่จะส่งเสริมให้เกษตรกรไทยดีรายได้ที่ยั่งยืนตามแนว ทางเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย” ผศ.ภูรินทร์ กล่าว
นี่เป็นเพียง ส่วนหนึ่งของ “บัว” ที่กำลังจะกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในอนาคต และเป็นขุมทองแห่งใหม่ของเกษตรกรแห่งอนาคต ที่กำลังมองหา “สิ่งที่จะมาเสริมรายได้หลัก”
“บัว” ที่เป็นเหมือนเส้นผมบังภูเขา หรือขุมทองก้อนใหญ่ภายในบ้าน ที่วันนี้หลายคนยังไม่เชื่อว่า วงจรธุรกิจบัวส่งออก และธุรกิจบัวในประเทศหากรวมเม็ดเงินเข้าด้วยกันแล้ว ผศ.ภูรินทร์ กระซิบสิ่งที่น่าสนใจปิดท้ายเอาไว้ว่า วงจรธุรกิจของบัวทั้งหมดในวันนี้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปและส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มีมูลค่าหลานพันล้านบาทเลยทีเดียว แต่หากภาครัฐเล็งเห็นและลงมาส่งเสริมสนับสนุนในด้านต่างๆ บางทีนอกจากดอกบัวที่ถวายพระ ผลบุญนั้น อาจสะท้อนกลับมาเป็นเม็ดเงินมหาศาลจากการส่งออก “บัว” นับหมื่นล้านเลยก็เป็นได้ และประเทศไทยนี่เอง ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกบัวเพราะเป็นพืชพื้นเมืองที่คนไทยรู้จักกันมาช้านาน
นี่เองคือ “เรือที่ล่มอยู่ในหนองที่บัวไทยคือทองที่จะไม่ลอยไปไหนจริงๆ”