ปัจจุบันแม้ว่า ประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้สกุลหวายรายใหญ่ของโลก แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการส่งออก กล้วยไม้คือการเก็บรักษาคุณภาพหลังการตัดดอกให้สด และอยู่ได้นานและมีอายุการใช้งานนานที่สุด โดยทั่วไป การเก็บรักษากล้วยไม้จะเก็บรักษาในสภาพดัดแปลงบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์ เรียก Modified Atmosphere Packaging (MAP) ซึ่งเป็นการบรรจุกล้วยไม้ภายใต้บรรยากาศที่มีอัตราส่วนของก๊าซชนิดต่างๆ แตกต่างไปจากบรรยากาศปกติ โดยการเติมก๊าซที่เหมาะสมเข้าไป ที่นิยมคือ เพิ่มก๊าซไนโตรเจนให้สูง ปริมาณก๊าซออกซิเจนต่ำกว่าบรรยากาศปกติ ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการหายใจของดอกกล้วยไม้ลดลง กระบวนการเมแทบอลิซึมภายในดอกกล้วยไม้เกิดช้าลง ลดการสังเคราะห์และการทำงานของเอทิลีน และใช้อุณหภูมิที่ต่ำเพื่อช่วยลดความเสียหาย ป้องกันรักษากล้วยไม้ให้มีคุณภาพดี
เมื่อเร็วๆนี้ มีนักศึกษา กลุ่มหนึ่งได้ศึกษาและทดลองใช้ก๊าซอาร์กอนเพื่อยืดอายุเก็บรักษาดกกล้วยไม้ ซึ่งจากผลการทดลองก็เป็นที่น่าสนใจ สำหรับวงการ ส่งออกกล้วยไม้ที่ต้องพัฒนาให้เติบโตต่อไปในอนาคต
ซึ่งเจ้าของผลการทดลองดังกล่าวประกอบด้วย นายวัชรกรณ์ ร่วมพันธ์ นางสาวชานิณี แตงขำ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มี อาจารย์ วรินธร ยิ้มย่อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
เจ้าของผลงานเล่าว่า พวกตนได้ ทดลองเก็บรักษากล้วยไม้ภายใต้สภาพดัดแปลงบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ถุงพลาสติกชนิด PPร่ วมกับการเติมก๊าซอาร์กอนที่ 20,40 และ 6 0วินาที เปรียบเทียบกับการเก็บรักษาโดยใช้ถุงพลาสติกชนิด PP ที่ไม่ได้เติมก๊าซอาร์กอน จากนั้นนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ13องสาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 90-95 เปอร์เซ็นต์ แล้วพบว่า การเก็บรักษาทั้งสองวิธี(แบบเติมก๊าซอาร์กอนและไม่เติม)สามารถเก็บรักษาได้ที่ 20 วัน แต่มีผลการทดลองที่น่าสนใจคือ การเติมก๊าซอาร์กอนในภาชนะบรรจุเป็นเวลา 40 และ 60 วินาที สามารถลดอายุการปักแจกันของดอกกล้วยไม้หลังจากการเก็บรักษาเป็นเวลา20 วัน
การเติมก๊าซอาร์กอนในภาชนะบรรจุเป็นเวลา60วินาทีสามารถชะลอการเสื่อมสภาพของดอกกล้วยไม้ได้นานที่สุด และการเติมก๊าซอาร์กอนในภาชนะบรรจุเป็นเวลา20วินาที ในบรรจุภัณฑ์สภาพดัดแปลงบรรยากาศกล้วยไม้เปลี่ยนสีช้าที่สุด
จากผลการทดลองดังกล่าว ผู้ทดลองได้อธิบายว่า ที่ผลออกมาอย่างนี้เพราะก๊าซอาร์กอนมีผลต่อการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ กล่าวคือ การเติมก๊าซอาร์กอนเป็นเวลา20และ40วินาทีจะลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ส่วนการเติมก๊าซอาร์กอนที่เวลา 60 วินาที จะเพิ่มการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์
นอกจากนั้นยังพบว่า ก๊าซอาร์กอนยังมีผลต่อการผลิตเอทิลีน ซึ่งชุดบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้เติมก๊าซอาร์กอน จะมีอัตราการผลิตเอทิลีน สูงกว่าชุดที่เติมก๊าซอาร์กอนตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา สำหรับก๊าซ เอทิลีนนั้น ตามธรรมชาติพืชจะมีการปลดปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมา เมื่อเขาสู่ระยะสุกแก่ ถ้าเป็นผลไม้ก็สุก ดอกกล้วยไม้ก็มีการปล่อยเอทิลีนเช่นกัน ยิ่งอัตราปล่อยเอทิลีนมากเท่าไรก็ทำให้การบานของดอกเร็วขึ้นเท่านั้น จากผลการทดลองแล้วพบว่า การเติมก๊าซอาร์กอนในภาชนะบรรจุเป็นเวลา60วินาที สามารถชะลอการเสื่อมสภาพของดอกกล้วยมาสกุลหวายได้นานที่สุด
นอกจากนั้น การเติมก๊าซอาร์กอนในภาชนะบรรจุเป็นเวลา20 วินาที ดอกกล้วยไม้มีการเปลี่ยนสีช้าที่สุด
นับว่าเป็นการค้นพบที่เป็นประโยชน์เลยทีเดียวสำหรับแนวทางการพัฒนาคุณภาพการส่งออกกล้วยไม้ของประเทศไทยเพื่อจะก้าวไปเป็นอันดับหนึ่งของโลก และสำหรับผู้ใดที่สนใจ อยากทราบหรือปรึกษารายละเอียดสามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 081-851-3382